Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18773
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีณา เมฆวิชัย | - |
dc.contributor.advisor | ผุสตี ปริยานนท์ | - |
dc.contributor.author | จิรวัฒน์ ดำแก้ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | เชียงใหม่ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-26T23:47:42Z | - |
dc.date.available | 2012-03-26T23:47:42Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18773 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาการแพร่กระจายของนกยูงเขียว (Pavo muticus Linnaeus, 1766) ในพื้นที่ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ได้แบ่งการศึกษาการแพร่กระจายออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน) และฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม) พบว่าในช่วงฤดูแล้ง เป็นช่วงเวลาเดียวกับฤดูสืบพันธุ์ของนกยูงเขียว การแพร่กระจายในฤดูแล้งจะเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ โดยนกยูงเพศผู้จะออกมาจับจองอาณาเขตสำหรับสืบพันธุ์ พื้นที่ที่นกยูงเพศผู้เลือกสำหรับสร้างอาณาเขตครอบครองเป็นพื้นที่เนินดินโล่งๆ และที่ราบโล่งข้างชายป่า ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบพื้นที่งานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในพื้นที่ต้นน้ำทำการเกี้ยวพาราสีนกยูงเพศเมียโดยการรำแพนภายในอาณาเขตครอบครอง หลังจากได้รับการผสมพันธุ์นกยูงเพศเมียจะแยกตัวออกฝูงไปวางไข่และฟักแต่เพียงลำพังอยู่ด้านหลังงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในพื้นที่ต้นน้ำ ในเดือนมีนาคมลูกนกยูงจะฟักออกจากไข่ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนนกยูงเพศเมียจะพาลูกนกยูงออกมาหากินบริเวณพื้นที่แปลงเกษตรซึ่งมีแหล่งอาหารจำนวนมาก ขนาดของพื้นที่หากินของแม่นกยูงจะมีความสัมพันธ์กับช่วงอายุของลูกนกยูงและระยะห่างจากชายป่า โครงสร้างประชากรของนกยูงประกอบด้วย นกยูงเพศผู้ตัวเต็มวัย นกยูงเพศเมียตัวเต็มวัย นกยูงในระยะ subadult เพศผู้และเพศเมีย และลูกนกยูงในระยะ juvenile กลุ่มประชากรนกยูงมีการเปลี่ยนแปลง 3 ช่วง ดังนี้ ช่วงแรก การเปลี่ยนจากนกยูงในระยะ subadult ทั้งเพศผู้และเพศเมียช่วงมีช่วงเวลาในการเจริญเป็นตัวเต็มวัยไปเท่ากัน เพศผู้ต้องมีอายุ 3 ปี เพศเมียมีอายุ 2 ปี ช่วงที่สอง การวางไข่ของนกยูงเพศเมียในช่วงฤดูสืบพันธุ์ ในช่วงนี้จะให้ประชากรใหม่ที่เพิ่มขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้พบการเพิ่มขึ้นของลูกนกยูงเมื่อเปรียบเทียบกับนกยูงเพศผู้และเพศเมียในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่พบนกยูงเพศผู้และเพศเมียมากที่สุดมีค่า 62 % ช่วงที่สาม การเปลี่ยนจากนกยูงในระยะ juvenile เป็นนกยูงในระยะ subadult ลูกนกยูงในระยะ juvenile เมื่อมีอายุ 6 เดือน หรือ 24 สัปดาห์จะมีลักษณะเป็นนกยูงในระยะ subadult สามารถระบุเพศได้ ในการศึกษาครั้งนี้พบนกยูงเขียวทั้งหมด 119 ตัว จากการศึกษาในครั้งนี้ อัตราส่วนของนกยูงเพศผู้ต่อนกยูงเพศเมียต่อนกยูงระยะ subadult มีอัตราส่วนเท่ากับ 1:4:1 ขณะที่อัตราส่วนของนกยูงเพศผู้ต่อนกยูงเพศเมียต่อลูกนกยูงระยะ juvwnile ของช่วงนอกฤดูสืบพันธุ์มีค่าเท่ากับ 1:2:4 ดังนั้นในปีต่อไปจะมีนกยูงเพิ่มขึ้น 40% การศึกษารูปแบบของเสียงร้องของนกยูงเขียว ได้ศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบเสียงทั้งหมด 6 รูปแบบ เป็นเสียงที่นกยูงร้องที่ร้องทั้งในฤดูสืบพันธุ์และนอกฤดูสืบพันธุ์มี2 รูปแบบ และเสียงร้องที่ร้องในช่วงฤดูสืบพันธุ์มี 4 รูปแบบ เสียงร้องที่มีการร้องมากที่สุด คือ กระโต้งโฮง ซึ่งจะร้องถี่มากที่สุดในเดือนกุมภาพันธุ์ ในรอบวัน นกยูงเขียวจะร้องเป็น 2 ช่วง คือช่วงเวลาเช้าและช่วงเย็น ในช่วงเวลาเช้า นกยูงเขียวจะร้องถี่มากที่สุดในช่วงเวลา 20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น และในช่วงเย็นนกยูงเขียวจะร้องถี่มากที่สุดในช่วงเวลา 20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตก | en |
dc.description.abstractalternative | Seasonal distribution of green peafowl (Pavo muticus Linnaeus, 1766) in Pha Miang Sub District, Doi Sa Ket District, Chiang Mai Province was studied during October 2007 to September 2008.The distribution in this study was separated into dry and wet season, Dry season was started from November to April and rainy season was began during May to October. In dry season was the same period of breeding season of green peafowl, male peafowl will establish their territory on the hill or open field near the forest. Almost all of their breeding territories are located in wildlife breeding center and boundary area. Male peafowl often display by fan their trains and shacking their ocelli in order to attractive female in their territory. After copulated, female lay and incubate their eggs alone in the forest behind wildlife breeding center. In March, eggs become hatching. When becoming rainy season, all female are leading her chicks to feed in agricultural area where foods are abundance. The distributions of feeding area of peahens are correlated with age of their chick and the distance from the forest. Population structure of green peafowl consists of male peafowl, female peafowl, subadult male and female and juvenile. From this studied in a whole year round, they contained 3 populations changing period; first period, subadult peafowl grow up and become to adult, 3 years for male and 2 years for female. Second period, green peafowl have their brooding lead to population increase accord to new born chick. In this study, it is found that the percentage of adult in December that got peak population which has a highest at 62%. Third period, when the chick that have 6 months old or 24 weeks old juveniles are grown up to be subadult, at this age sex can be distinguished. In this study, total populations of green peafowl are found 119 individuals. The ratio of male peafowl per female peafowl per subadult in breeding season is 1:4:1 and ratio of male peafowl per female peafowl per juvenile in non breeding season is 1:2:4. So in next year, the population of green peafowl will increase at 40%. The vocalizations of green peafowl were studied from November 2008 to May 2009 in Huai Hong Khrai Royal Development Study Centre. There are 6 different types of calling consist of 2 self alert calls and 4 breeding calls. The highest number of calling frequency in breeding season is “Kra Tong Hong” which was called in the morning 20 minute after sunrise and 20 minute after sunset | en |
dc.format.extent | 3932147 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.369 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | นกยูงเขียว | en |
dc.title | การแพร่กระจายตามฤดูกาลและโครงสร้างประชากรของนกยูงเขียว Pavo muticus Linnaeus, 1766 ที่ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ | en |
dc.title.alternative | Seasonal distribution and population structure of Green Peafowl Pavo muticus Linnaeus, 1766 in Pa Miang Subdistrict, Doi Saket District, Chiang mai Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สัตววิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Wina.M@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Putsatee.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.369 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jirawat_du.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.