Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18787
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดุษฎี ทายตะคุ | - |
dc.contributor.author | วุฒิชัย ศรีประเสริฐกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-27T13:37:31Z | - |
dc.date.available | 2012-03-27T13:37:31Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18787 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่มีต่อชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ที่ถูกกัดเซาะเครื่องมือที่ใช้คือ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสังคม วิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนเครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้มาสรุปผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่มีต่อชุมชน ผลจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่สรุปได้ดังนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ป่าชายเลนได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และภายหลังจากการมีเขื่อนสลายกำลังคลื่นได้มีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.6% สิ่งปลูกสร้างลดลงในทุกๆ ปี มากที่สุดในช่วงปี 2539 ถึง 2545 และพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ถูกกัดเซาะเสียหายทั้งหมด 989 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 60.2% ของพื้นที่ชุมชนในปี พ.ศ. 2517 ส่วนผลสรุปของการศึกษาผลกระทบวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ในส่วนด้านการประกอบอาชีพผู้ที่ยังอาศัยอยู่ในชุมชนบางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงอาชีพ แต่ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานออกไปจากชุมชนส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพ ด้านการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยโดยส่วนใหญ่ย้ายที่อยู่อาศัย 3-4 ครั้งต่อหนึ่งครัวเรือน มากที่สุดคือ 11 ครั้ง ด้านกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผู้อยู่อาศัยในชุมชนส่วนใหญ่ต้องเช่าที่ดินอยู่อาศัย ด้านการบริการสาธารณะที่ได้รับผลกระทบ คือ โรงเรียน สถานีอนามัย และระบบไฟฟ้า ด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและกิจกรรมประเพณีท้องถิ่นไม่ได้รับผลกระทบและในเรื่องของความคงอยู่ของชุมชนในอนาคต ทุกครัวเรือนไม่มีแนวคิดที่จะย้ายออกจากชุมชน เพราะไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและไม่มีเงินทุนที่จะย้ายถิ่นฐาน ยกเว้นมีเหตุจำเป็น เช่น การสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินเนื่องจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study are to examine the impact of coastal erosion on community changes in Ban Khunsamutchin Community, Samutprakan Province. The study of spatial change includes land uses, building uses and eroded areas by using the Geographic Information Systems (GIS). The social and economic changes of the community were studied by using questionnaires and Indepth interviews. Results from the study of spatial changes are as follows, the mangrove area has been transformed to aquaculture, later the mangrove area has been increased 10 rai or 0.6% from a dam break wave. Meanwhile the numbers of buildings were decreased every year during 2539 to 2545. The coastal areas were damaged by erosion 989 rai or 60.2% of the total areas. The impact on social and economic changes of the community in terms of occupation is seen that, the majority of people who moved out had changed their careers. For residential change, it is found that one household move 3-4 times within the community and there is one household that moved 11 times at most. In terms of land ownership, most of the residents in the community rented the land. The public services that had been affected were the school, health care and electrical system. However the local traditions and activities were not affected. In the community all households do not intend move away from community in the future unless it is necessary for them, such as their loss of housing and land due to coastal erosion | - |
dc.format.extent | 45972343 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2136 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การกร่อนของดิน -- ไทย -- บ้านขุนสมุทรจีน (สมุทรปราการ) | - |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- บ้านขุนสมุทรจีน (สมุทรปราการ) | - |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ -- ไทย -- บ้านขุนสมุทรจีน (สมุทรปราการ) | - |
dc.title | ผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ | en |
dc.title.alternative | The impact of coastal erosion on community changes : a case study of Ban Khunsamutchin community, Samut Prakan Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาคและเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Dusadee.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.2136 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wutthichai_sr.pdf | 44.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.