Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18802
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนันทา สุวรรโณดม | - |
dc.contributor.author | นิตยา ชูตินันทน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | บางปะอิน(พระนครศรีอยุธยา) | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-27T14:08:45Z | - |
dc.date.available | 2012-03-27T14:08:45Z | - |
dc.date.issued | 2522 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18802 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของประชากรและความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยกับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของสตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ในเขตท้องที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ได้มีแนวการศึกษาวิจัยโดยอาศัยพฤติกรรมทางด้านการปฏิบัติต่อตนเองและต่อบุตรของสตรี ผู้ซึ่งตกเป็นตัวอย่างภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยในขั้นตอนและแบบอย่างต่างๆ อันเป็นปฏิบัติการทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบันที่สตรีผู้เป็นมารดาควรจะได้ถือปฏิบัติเป็นพื้นฐานโดยทั่วไปเพื่อประโยชน์ในการรักษาสุขภาพทั้งของตนเองและของบุตร คือการปฏิบัติตนขั้นแรกเมื่อเกิดมีอาการเจ็บป่วยโดยใช้บริการทางการแพทย์ การปฏิบัติและรักษาสุขภาพอนามัยก่อนการตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์และหลังการคลอดบุตร การบริบาลทารก การปฏิบัติในการบำรุงรักษาสุขภาพและอนามัยของบุตรโดยการให้บุตรได้รับภูมิคุ้มกันโรค ระยะเวลาที่ให้บุตรหย่านมมารดา ตลอดจนการปฏิบัติ ความรู้ และทัศนคติที่สตรีผู้นั้นได้ปฏิบัติหรือมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนครอบครัว ซึ่งได้พิจารณาว่าการปฏิบัติตนทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขดังกล่าวข้างต้นนี้น่าจะมีความสัมพันธ์กับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันที่แตกต่างกัน สมมติฐานหลักที่ตั้งสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ “สตรีที่สมรสแล้วและมีการปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องน่าจะเป็นสตรีซึ่งมีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันน้อยกว่าสตรีที่ไม่มีการปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยหรือมีการปฏิบัติแต่ยังไม่ถูกต้อง” ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีในสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ ๑๕-๔๙ ปีที่สมรสแล้ว และมีบุตรคนสุดท้ายอายุไม่กิน ๗ ปี และสตรีผู้นั้นยังอยู่กินกับสามีในเวลาที่สำรวจ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาโดยวิธีการสัมภาษณ์สตรีที่ตกเป็นตัวอย่างจำนวน ๔๕๐ คน ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีการคัดเลือกกระทำโดยใช้วิธีเลือกสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากนั้นทำการสัมภาษณ์สตรีที่ตกเป็นตัวอย่างในทุกครัวเรือนที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติตนทางการแพทย์ในขั้นแรกที่มีการเจ็บป่วยของสตรีที่สมรสแล้ว มีความสัมพันธ์กับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของสตรีผู้นั้น กล่าวคือสตรีที่เลือกใช้การปฏิบัติทางการแพทย์แผนปัจจุบันในขั้นแรกเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเอง จะเป็นสตรีที่อยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันน้อยกว่าสตรีที่เลือกปฏิบัติอย่างอื่น นอกจากนี้ยังพบว่ามีความแตกต่างกันในจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันระหว่างสตรีสองกลุ่ม คือสตรีกลุ่มที่เลือกปฏิบัติตนทางการแพทย์แผนปัจจุบันในขณะที่ตั้งครรภ์ ขณะคลอดบุตร และหลังการคลอดบุตร จะเป็นกลุ่มที่มีบุตรน้อยกว่ากลุ่มสตรีที่เลือกใช้วิธีปฏิบัติรักษาอย่างอื่น จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยในระยะภายหลังการคลอดบุตรและจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของสตรีผู้ปฏิบัติ ยังพบว่าสตรีหลังคลอดที่เลือกใช้ยาแผนปัจจุบันจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เพื่อบำรุงร่างกายและไม่ได้อดอาหารแสลงจะมีจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันน้อยกว่าสตรีผู้ซึ่งใช้ยาแผนโบราณ ยาดองเหล้า และอดอาหารแสลง แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าสตรีกลุ่มที่ไปรับการตรวจและไม่ได้ไปรับการตรวจภายหลังคลอดบุตร ๖ อาทิตย์นั้น ไม่มีความแตกต่างกันในจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จากข้อมูลในการศึกษาถึงชนิดของนมที่ใช้ในการเลี้ยงบุตร พบว่าสตรีกลุ่มที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจำนวน ๑ หรือ ๒ คนจะใช้นมมารดาสลับนมผงมากกว่าสตรีกลุ่มที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่นปัจจุบันจำนวนตั้งแต่ ๓-๑๓ คน ส่วนสตรีที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจำนวนตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปนี้จะใช้นมมารดาหรือใช้ทั้งนมมารดาสลับนมข้นหวานมากกว่า ในเรื่องการหย่านมมารดาและจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของสตรีปรากฎว่า สตรีตัวอย่างที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจำนวน ๑-๒ คน จะให้บุตรหย่านมเร็วกว่าสตรีกลุ่มที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติทางด้านการวางแผนครอบครัวกับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของผู้ปฏิบัตินั้น พบว่าสตรีกลุ่มที่มีบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจำนวนมากจะปฏิบัติการวางแผนครอบครัวมากกว่า เพราะสาเหตุที่มีครอบครัวขนาดใหญ่และไม่ต้องการบุตรเพิ่มขึ้นอีกแล้ว สรุปผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ก็คือ การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยของสตรีในเขตอำเภอบางปะอิน ในวิธีการต่างๆมีความสัมพันธ์กับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของผู้ปฏิบัติและไม่ปฏิบัตินั้น | - |
dc.description.abstractalternative | The main purpose of this study was to investigate the relationship between health practice and the number of living children of eligible women in Amphoe Bang Pa-in, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya. The aim was to study health practices of mothers and children, particularly the primary health practices with respect to illness, health practice during pregnancies, at delivery and in the postpartum period, practices of, and attitudes toward child rearing, immunizations, and weaning age of the last baby. How the knowledge of, attitude toward and practice of family planning. Those would have relationship with the number of living children of mothers. The major hypothesis was that married women with better health practices would have lower number of living children. The case study was used to study women, 15 to 49 years old, still living with her husbands, whose youngest children were not more than 7 years old, Data collection was done by interviewing. The sample consisted of 450 mothers who lived in Amphoe Bang Pa-in, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya. Multi-Stage Sampling was used to select, and every mother with the above qualifications in the selected households was interview. The statistical tabulations were made by using the computer package program, SPSS, (statistical Package for Social Sciences) installed at the Data Processing Center of Thailand, National Statistical Office. It was found the there was a relationship between the health practices of mothers when they were ill and the number of living children they had. Mothers who sought modern primary health care when they were ill were more likely to have fewer living children. In addition, there was a difference in the number of living children was also found between mothers who chose modern prenatal and postnatal practices and those who chose traditional ones. Those who selected modern practices were more likely to have fewer living children. Data on health practices during the postpartum rest period were analyzed to investigate the relationship between these and number of living children. It was found that postpartum mothers who used modern medications and ate foods that villagers believed to be taboo had fewer living children than those who used traditional medicines and observed the traditional taboos. There was no difference, however, between the number of living children of women who had a 6-week check-up at the health center and those who did not. Investigating the king of milk used in infant feeding, it was found that mothers who had 1 or 2 living children tended to use breast milk in combination with humanized powered milk while mothers with 3 to 13 living children tended to use breast milk in combination with sweetened condensed milk. Also, mothers with 1 to 2 living children weaned their babies earlier than mothers who had more than 5 living children. It was found that the practice of family planning was related to the number of living children in the family. Mother who had more living children were using family planning practices more than those who had fewer living children, probably because their larger number of children made them more interested in preventing addition births. The conclusion of this study was that health practices of eligible women in Amphoe Bang pa-in has relationship with the number of her living children. | - |
dc.format.extent | 485677 bytes | - |
dc.format.extent | 445955 bytes | - |
dc.format.extent | 716934 bytes | - |
dc.format.extent | 413147 bytes | - |
dc.format.extent | 1795891 bytes | - |
dc.format.extent | 520791 bytes | - |
dc.format.extent | 706853 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วิจัยทางประชากร | en |
dc.subject | มารดาและทารก | en |
dc.subject | สุขภาพและอนามัย | en |
dc.subject | สตรี | en |
dc.title | ลักษณะทางประชากรและความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติทางด้านสุขภาพอนามัยกับจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันของสตรีในเขตอำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | en |
dc.title.alternative | Population characteristics and relationship between health practice and living children of women in Amphoe Bang Pa-in, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nitaya_Ch_front.pdf | 474.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ch_ch1.pdf | 435.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ch_ch2.pdf | 700.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ch_ch3.pdf | 403.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ch_ch4.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ch_ch5.pdf | 508.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nitaya_Ch_back.pdf | 690.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.