Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18804
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพรรณ อุดมสิน-
dc.contributor.authorนิตยา เลิศวีรนนทรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-27T14:13:04Z-
dc.date.available2012-03-27T14:13:04Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745675504-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18804-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรมตามการรับรู้ของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยเทคนิค 2. เพื่อศึกษาเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรมที่เป็นปัญหา ตามการรับรู้ของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยเทคนิค 3. เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม ระหว่างการรับรู้ของครูคณิตศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกับครูคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยเทคนิค 4. เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรมในแต่ละหัวข้อ ระหว่างการรับรู้ของครูคณิตศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกับครูคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยเทคนิค ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม 1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 100 คน และวิทยาลัยเทคนิค จำนวน 99 คน รวมทั้งสิ้น 199 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม กับกลุ่มตัวอย่างประชากร แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนควอไตล์ ค่าทีและค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยเทคนิค มีการรับรู้ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) ว่าเป็นปัญหาระดับมากดังนี้คือ เนื้อหาไม่กระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้อยากเห็น ไม่มีแบบฝึกหัดที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนเก่งและนักเรียนอ่อนโดยเฉพาะ เนื้อหามีมากเกินไปไม่เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้ เนื้อหาบางตอนยากเกินความสามารถของผู้เรียน ตัวอย่างที่ประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมมีให้น้อยเกินไป รายละเอียดของเนื้อหาหยาบเกินไปอธิบายไม่ชัดเจน แบบฝึกหัดส่วนใหญ่ ยากเกินความสามารถของผู้เรียน แบบฝึกหัดประยุกต์ใช้ในช่างอุตสาหกรรมน้อยเกินไป แบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละตอนไม่เพียงพอ ตัวอย่างที่ให้ในบางเนื้อหาไม่ละเอียดและไม่มีคำอธิบายประกอบ เนื้อหาบางตอนเข้าใจยากสลับซับซ้อน เนื้อหาบางตอนไม่มีตัวอย่างและแบบฝึกหัด ตัวอย่างกับแบบฝึกหัดในบางเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน และลักษณะเนื้อหาซ้ำซ้อนกับที่เรียนมาแล้ว 2. ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยเทคนิคมีการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) ว่าเป็นปัญหาระดับปานกลาง 20 หัวข้อ และเป็นปัญหาในระดับน้อย 26 หัวข้อ 3. ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและครูคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยเทคนิค มีการรับรู้ปัญหาทั่วไปในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม 1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ในเรื่องเนื้อหามีมากเกินไปไม่เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้ เนื้อหาบางตอนยากเกินความสามารถของผู้เรียน เนื้อหาบางตอนเข้าใจยากสลับซับซ้อน รายละเอียดของเนื้อหาหยาบเกินไป อธิบายไม่ชัดเจน ตัวอย่างที่ให้ในบางเนื้อหาไม่ละเอียดและไม่มีคำอธิบายประกอบ แบบฝึกหัดส่วนใหญ่ยากเกินคสวามสามารถของผู้เรียน มีศัพท์ทางช่างอุตสาหกรรมสอดแทรกในตัวอย่างและแบบฝึกหัดมาก ทำให้ไม่เข้าใจโจทย์ปัญหา และครูคณิตศาสตร์ทั้ง 2 กลุ่ม มีการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาทั่วไปในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม 1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในเรื่อง ปัญหาไม่เรียงลำดับความยากง่าย และเนื้อหาไม่เหมาะสมกับระดับชั้นของนักเรียน 4. ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและครูคณิตศาสตร์ในวิทยาลัยเทคนิค มีการรับรู้ระดับของปัญหาในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม 1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 จำนวน 12 หัวข้อ และครูคณิตศาสตร์ทั้ง 2 กลุ่ม มีการรับรู้ระดับของปัญหาในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรม 1 และ 2 (สค 111 และ สค 121) แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จำนวน 10 หัวข้อ-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were : 1. To study general problems concerning industrial mathematics content as perceived by mathematics teachers in upper secondary schools and technical colleges. 2. To study industrial mathematics content that caused problems as perceived by mathematics teachers in upper secondary schools and technical colleges. 3. To compare level of seriousness of general problems concerning industrial mathematics content as perceived by mathematics teachers in upper secondary schools and those in technical colleges. 4. To compare level of seriousness of problems of industrial mathematics content in each item as perceived by mathematics teachers in upper secondary schools and those in technical colleges. The samples consisted of 100 teachers teaching Industrial mathematics 1 and 2 (Am 111 and Am 121) in upper secondary schools and 99 teachers in technical colleges, totally 199 teachers. A set of questionnaires was constructed by the researcher and sent to the samples. Then the collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, median, quartile value, t-test and chi-square. The finding were as follows : 1. The general problems concerning industrial mathematics content of Industrial Mathematics 1 and 2 (Am 111 and Am 121) as perceived by the teachers in upper secondary schools and technical colleges were at high level. The problems were the industrial mathematics content did not stimulate the student to acquire knowledge; no suitable exercises to serve quick learners and slow learners in particular ; too much content and inappropriate for the time allotted; some content was too complicated for the students; the examples applied in industrial trade were scarce; the details of the content were not elaborate and not clearly explained; most of the exercises were too difficult for the students; the exercised applied in industrial trade were scares; the exercises in accordance with each part of the content were not sufficient; the examples used to support some content were not elaborate and not clearly explained; some of the content was very complicated and hard to understand; some content lacked examples and exercises to support it; some exercises were not related to the given examples; and some content was repetitive to the content in the lower grade. 2. The teachers in upper secondary schools and technical colleges perceived that the content in Industrial Mathematics 1 and 2 (Am 111 and Am 121) caused problems at the moderate level for twenty items and caused problems at low level for twenty six items. 3. The perception of general problems of content in Industrial Mathematics 1 and 2 (Am 111 and Am 121) between mathematics teachers in upper secondary schools and those in technical colleges was different at the 0.01 level of significance in the following aspects : too much content and inappropriate for the time allotted; some content was too complicated for the students; some of the contents was very complicated and hard to understand; the detail of content were not elaborate and not clearly explained; the examples used to support some of the content were not clearly explained; most of the exercises were too difficult for the students; too many technical terms were used in the examples and exercises, and this caused the students not to understand the problems. In addition, the perceptions of general problems of content in Industrial Mathematics 1 and 2 (Am 111 and Am 121) between the two groups of teachers as previously mentioned was different at the 0.05 level of significance in the aspects that the content was not well-organized in terms of difficulty. And the content was not suitable for the students grade. 4. The perception of mathematics teachers in upper secondary schools and technical colleges concerning the problems caused by 12 items of the content in Industrial Mathematics 1 and 2 (Am 111 and Am 121) was different at the 0.01 level of significance while the perception of those two groups of teachers concerning the problems caused by 10 items of the content was different at the 0.05 level of significance.-
dc.format.extent431109 bytes-
dc.format.extent372265 bytes-
dc.format.extent990264 bytes-
dc.format.extent362570 bytes-
dc.format.extent631913 bytes-
dc.format.extent403871 bytes-
dc.format.extent1025018 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณิตศาสตร์ช่าง -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectหลักสูตรen
dc.subjectครูคณิตศาสตร์ -- ไทยen
dc.subjectการศึกษาทางอาชีพ -- ไทยen
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ช่างอุตสาหกรรมตามการรับรู้ของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยเทคนิคen
dc.title.alternativeProblems concerning industrial mathematics content as perceived by mathematics teachers in upper secondary schools and technical collegesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrompan.U@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya_Le_front.pdf421 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Le_ch1.pdf363.54 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Le_ch2.pdf967.05 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Le_ch3.pdf354.07 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Le_ch4.pdf617.1 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Le_ch5.pdf394.41 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Le_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.