Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1882
Title: ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
Other Titles: Effects of using exercise and health education program on fatigue of acute myocardial infarction patients
Authors: ทัศนีย์ ภู่สำอางค์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย
การออกกำลังกาย
ความล้า
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อความเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ์ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกำหนดให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงในด้าน เพศ อายุ ตำแหน่งการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการออกกำลังกายที่ผู้วิจัยผสมผสานแนวทางการออกกำลังกายระยะที่ 1 หรือ ระยะผู้ป่วยในของ Wenger et al. (1992) และแนวทางการออกกำลังกายระยะที่ 2 หรือ ระยะผู้ป่วยนอกตามแนวทางการออกกำลังกายของชมรมแพทย์โรคหัวใจ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย (2542) และการให้ความรู้ด้านสุขภาพที่ผู้วิจัยได้แนวคิดมาจากการทบทวนวรรณกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเหนื่อยล้า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านและหาความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .87 ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันภายหลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายและการให้ความรู้ด้านสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of using exercise and health education program on fatigue of acute myocardial infarction patients. Samples were 40 patients admitted at Thammasat Hospital, and were selected into an experimental group and a control group with 20 patients in each group .The experimental group received an exercise and health education program, while the control group received routine nusing care. The exercise and health education program was developed and based on Wenger et al. (1992), Cardiac Rehabilitation Society of Thailand Guideline (1999) and a literature review. Instruments used were a demographic data form, and the Piper{7f2019}s Fatigue Scale. The intruments were test for content validity by 5 experts. The reliability of the Piper,s Fatigue Scale were 0.87. Statistical teachniques used in data analysis were mean, standard deviation and t-test statistic. Major findings were as follows: 1. The fatigue of acute myocardial infarction patients after receiving the exercise and health education program was significanttly higher than before receiving the program at the .05 level. 2. The fatigue of acute myocardial infarction patients after receiving the exercise and health education program was significanttly higher than those who receive a routine nursing care at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1882
ISBN: 9741738692
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thatsanee.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.