Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18856
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ | - |
dc.contributor.author | ขนิษฐา มะปะโท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-28T15:24:30Z | - |
dc.date.available | 2012-03-28T15:24:30Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18856 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการ จัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนคร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารงานทางการศึกษา ด้านครู ด้านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน และด้านเด็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร 132 คน และครู 286 คน รวมจำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการบริหารงานทางการศึกษา ผู้บริหารดำเนินการแก้ไขปัญหาของระดับอนุบาลและมีการประสานงานกับระดับ อนุบาลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเดียวกัน มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโดยมีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดทำหลักสูตร มีอาคารเรียนสำหรับอนุบาลและกำหนดให้มีการใช้สื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก สำหรับครูมีการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และคู่มือการใช้หลักสูตร และนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ ภายในห้องจัดมุมบล็อค มีพื้นที่สำหรับเด็กเรียนรู้นอกห้องเรียน 2) ด้านครู ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับ พัฒนาการตามวัยและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน เทศบาลนครพิจารณารับครูด้วยตนเอง มีการจัดให้ครูเข้ารับการอบรมกับโรงเรียนอื่นในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ผู้บริหารให้ครูยึดหลักการประเมินครบทุกด้าน และประเมินด้วยการสังเกตและบันทึกรายละเอียด มีการกำหนดให้มีรายการอาหารกลางวันและของว่างสำหรับเด็ก โดยให้เด็กได้รับสารอาหารครบตามหลักอาหาร 5 หมู่ และจัดให้มีเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับครูใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการจัดประสบการร์การเรียนรู้ ครูมีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองและเข้ารับการอบรมกับโรงเรียน อื่นในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเมินผลพัฒนาการโดยการตรวจผลงาน เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของเด็ก มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกข้อมูลทุก 3 เดือน ครูให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติกิจกรรมและรับประทานอาหาร 3) ด้านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ผู้บริหารให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมส่งเสริมให้เด็กยึดถือและปฏิบัติตาม ธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและคำสอนเบื้องต้นของศาสนา โรงเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น จัดให้เด็กเรียนรู้นอกสถานที่โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน สำหรับครูมีการพูดคุยกับผู้ปกครองในช่วงเช้าเย็น ผู้ปกครองร่วมช่วยเหลือในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น มีการขอความร่วมมือชุมชน และพาเด็กออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ 4) ด้านเด็ก ผู้บริหารคาดหวังให้เด็กเจริญเติบโตสมวัย ร่างกายแข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตใจที่ดีงาม สุขภาพจิตดี มีความสุข ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำร่วมกัน และผู้บริหารหาโอกาสเข้าไปพูดคุยกับเด็ก สำหรับครูคาดหวังให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วสมดุล ร่าเริงแจ่มใส ครูมีการทักทายเด็กและผู้ปกครองในช่วงเช้าและเย็น และดูแลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเด็ก ปัญหาจากการวิจัยพบว่า งบประมาณไม่เพียงพอ หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มีอยู่เดิมไม่ถูกนำมาใช้จริง เครื่องเล่นสนามขาดแคลน ครูไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก ผู้ปกครองมีภารกิจทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนได้ | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study state and problems of education operation in pre-primary level of the municipal schools under Local Administrative Organization. The study covered 4 areas: the education administration, teaching staff, the relationship between a school, families, a community and student. The research findings were based on questionnaire, interviewing, observation and surveying forms collected from 132 administrators and 286 teachers. The results of the research: 1) The education administration: Administrators coordinated and solved the problems of pre-primary schools in the same municipal. The school early childhood curriculum was made by teachers after school curriculum planning meeting. Building and instructional materials used by pre-primary schools were appropriate for children. The early childhood education curriculum and hand book was studied and performed by teachers. The classroom had a block center and outdoor learning spaces 2) Teaching staff: the administrators encouraged teachers to educate and mentally develop on the needs of individual children The municipals select and trained teachers with the schools under local administrative organization. Principal of assessment was carried out based on observation and recordings. Lunch and snack menu had a total of 5 nutrition food groups specific for children and first aid kits provided by school. Teachers developed children’s movement through the creation of rhythm activities. Teachers gain additional knowledge through self study. Teachers assessed children by recording and tracking documents on their development, weight and height in every 3 months. The children were taught personal hygiene and washed their hands after activities. 3) The relationship between a school, families and a community: the parents encouraged their children to follow local culture and the schools involved in community activities. Teachers arranged local learning place for children. The teachers held meet-the-parents sessions in the morning and afternoon. The level of parent participation in school activities were discussed 4) Student: the administrators expected the children to be happy; healthy both mentally and physically, have good social skills and ethics. Administrators advocated the teachers to provide children learn by themselves, so administrators join with children when they had the chance, Teachers expect the children to be able to move their body well and balance with a cheerful disposition. Teachers were meeting the parent in the morning and afternoon, and care children’s routine. The following areas of concerns were found during the study: the budget allocated was lower than the school actual expenses, no implementation of early childhood school curriculum, insufficient playing equipments in playgrounds and instructional materials, Teachers were not enough and low parents participation rate in school activities. | en |
dc.format.extent | 3057630 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.219 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การบริหารการศึกษา | en |
dc.subject | โรงเรียนเทศบาล | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นอนุบาล | en |
dc.title | สภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนครสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | en |
dc.title.alternative | State and problems of education operation in pre-primary level of the municipal schools under local administrative organization | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาปฐมวัย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Cheerapan.B@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.219 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanita_ma.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.