Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18992
Title: พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
Other Titles: The administrative behavior of administrators of Srinakarinwirot University
Authors: สุกัญญา ติยะสุวรรณ
Advisors: ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการบริหาร 7 อย่างคือ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดวางตัวบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงานและการจัดงบประมาณการเงินของผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2. เพื่อหาความแตกต่างระว่างพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารระดับสูงกับผู้บริหารระดับรอง วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง คือ รองอธิการบดี คณบดี และรองคณบดีของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้ง 8 วิทยาเขต จำนวน 43 คนและผู้บริหารระดับรอง ซึ่งได้แก่ หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าภาควิชาประจำวิทยาเขต จำนวน 167 คน รวมผู้บริหารทั้ง 2 ประเภท 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหาร 7 ประการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดวางตัวบุคคล การอำนวยการ การประสานงาน การรายงานและการจัดงบประมาณการเงินของผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แบบสอบถามนี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และผ่านการทดลองใช้มาครั้งหนึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางกึ่งบรรยาย ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมทางการบริหาร 1.1 เกี่ยวกับการวางแผน ผู้บริหารทั้ง 2 ระดับ ได้มีการแถลงนโยบายและวางโครงการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้าและจัดให้มีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ ระหว่างปฏิบัติตามโครงการ 1.2 เกี่ยวกับการจัดองค์การ ผู้บริหารทั้ง 2 ระดับได้จัดให้มีการประชุมเพื่ออธิบายถึงกำหนดหน้าที่การงานของแต่ละคน ผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีหน่วยงานย่อยมากเกินไปควรปรับปรุงแก้ไข หน่วยงานบางหน่วยมีหน้าที่ซ้ำซ้อนและทำงานขัดแย้งกัน 1.3 เกี่ยวกับการจัดวางตัวบุคคล ผู้บริหารทั้งสองระดับพิจารณาเพิ่มจำนวนบุคลากรตามการขยายตัวของหน่วยงานการจัดอาจารย์เข้าสอนใช้ระบบคุณวุฒิ การเสนอย้ายบุคลากรจะกระทำเมื่อบุคลากรนั้นประสงค์จะขอย้าย 1.4 เกี่ยวกับการอำนวยการ ผู้บริหารใช้วิธีการเรียกประชุมและตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเข้าร่วมวินิจฉัยสั่งการเรื่องสำคัญ ผู้บริหารทั้งสองระดับมีการวางแผนร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วจึงมอบหมายงาน และมีการติดตามผลเมื่อได้สั่งงานไปแล้ว 1.5 เกี่ยวกับการประสานงาน ผู้บริหารสูงสุดของวิทยาเขตเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับวิทยาเขตอื่นด้วยตนเอง ผู้บริหารทั้งสองระดับส่วนใหญ่เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการกับสถาบันอื่น เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารทั้งสองระดับส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยไม่ค่อยประสานงานกันทำให้งานล่าช้า 1.6 เกี่ยวกับการรายงาน ผู้บริหารทั้งสองระดับส่วนใหญ่ทำบันทึกเสนอตามลำดับขั้นเมื่อมีปัญหาจะต้องรายงานให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทราบ และมีหนังสือเวียนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเซ็นรับทราบเรื่องราวต่าง ๆ ผู้บริหารทั้งสองระดับอนุญาตให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าพบได้ทุกเวลา 1.7 เกี่ยวกับการจัดงบประมาณการเงิน ผู้บริหารทั้งสองระดับส่วนใหญ่ทำคำของบประมาณตามโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว และปรึกษาผู้ใต้บังคับบัญชามากที่สุด ผู้บริหารทั้งสองระดับส่วนใหญ่เข้าใจระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการเงินดีเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานในความรับผิดชอบ 2. ผู้บริหารระดับสูงและระดับรองมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับปานกลางและมาก ส่วนผู้บริหารระดับรองมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับน้อยและปานกลางค่อนข้างน้อย
Other Abstract: 1. To study seven administrative behaviors : planning, organizing, staffing, directing, coordinating, reporting, and budgeting. 2. To compare the administrative behaviors of the top administrators and these at lower levels. Procedures: The population consisted of 43 top administrators: vice-rectors, deans and vice-deans of 8 campuses of Srinakarinwirot University and 167 administrators at lower levels: heads of departments of every campus. The total of the population was 210 administrators. Questionnaires were used to collect data, concerning seven administrative behaviors: planning, organizing, staffing, directing, coordinating, reporting and budgeting of administrators of Srinakarinwirot University. These questionnaires were constructed by the researcher and improved by trial. The obtained data, analyzed by means of percentages, arithmetic means, standard deviations, and variances (t-distribution and F-test), are shown in tables and explanations. Findings: 1. Administrative behaviors: 1.1 Planning: The administrators of the two levels announced their policies and had plans for work in advance. They occasionally evaluated their programs. 1.2 Organizing: The administrators of the two levels held a meeting to explain job descriptions to their subordinates. Most of the administrators felt that the university has too many small sections so that lines of work are over-complicated and confused. This should be improved. 1.3 Staffing: The administrators of the two levels increased the number of personnel according to the increase of work. Teachers were assigned to work according to their qualifications. Transfer of personnel was done on the basis of the individual’s preference. 1.4 Directing: Special committees and meetings were held to help administrators in decision-making. Delegation of work was carried on after discussions with subordinates. The administrators always followed up these mutually agreed upon decisions. 1.5 Coordinating: Coordination with other campuses was done through chief administrators. The administrators promoted coordination with other organizations through activities such as meetings and academic seminars. However, coordination inside the organization was rather ineffective. 1.6 Reporting: Written reports to the upper levels and circulation of documents to their subordinates were methods of communication used by the administrators. Discussing face to face was allowed at all times. 1.7 Budgeting: The amount of budget requested was based on approved projects. The administrators consulted their subordinates about these projects. However, they only knew well the financial regulations pertaining to their particular responsibilities. 2. There was a statistically significant difference at the .01 level in participative behaviors of the top administrators and the lower level administrators. The top administrators had higher degree of participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18992
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya_Ti_front.pdf576.5 kBAdobe PDFView/Open
Sukanya_Ti_ch1.pdf608.45 kBAdobe PDFView/Open
Sukanya_Ti_ch2.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_Ti_ch3.pdf459.14 kBAdobe PDFView/Open
Sukanya_Ti_ch4.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_Ti_ch5.pdf808.1 kBAdobe PDFView/Open
Sukanya_Ti_back.pdf990.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.