Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสนานจิตร สุคนธทรัพย์-
dc.contributor.authorสุณีย์ จันทนานุวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-04-06T07:09:31Z-
dc.date.available2012-04-06T07:09:31Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745681867-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19028-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstract1. เพื่อศึกษากระบวนการวางแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลาง 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการวางแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลาง วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารและครู-อาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในส่วนกลาง กลุ่มตัวอย่างประชากรได้มากจากการสุ่มแบบง่าย โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของ raro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 599 คน เป็นผู้บริหารจำนวน 210 คนและครู-อาจารย์จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมี 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 กระบวนการวางแผนปฏิบัติการประจำปี ตอนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคของการวางแผนปฏิบัติการประจำปี ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 599 ฉบับ ได้รับคืนและใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 480 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 80.13 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ไม่เคยศึกษาหรือเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการวางแผน จากการศึกษากระบวนการวางแผนปฏิบัติการประจำปี พอสรุปได้ดังนี้ 1. ขั้นก่อนการวางแผน โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานวางแผน ให้ฝ่ายวิชาการหรือคณะกรรมการวางแผนรับผิดชอบ และเป็นผู้กำหนดปฏิทิน ปฏิบัติงานในการวางแผน มีงานสารสนเทศเป็นผู้จัดระบบข้อมูล และมีการให้ความรู้เรื่องการเขียนโครงการแก่บุคลากร ก่อนการวางแผนปฏิบัติการ 2. ขั้นการวางแผน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน นำมากำหนดปัญหา จัดลำดับความสำคัญ ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยวิเคราะห์ทางเลือกและเลือกวิธีที่ดีสุด และร่วมกันกำหนดนโยบาย โครงสร้างของแผนปฏิบัติการประจำปี ประกอบด้วย แผนงาน งาน และโครงการ กลุ่มครู-อาจารย์ เป็นผู้ร่างโครงการเสนอเพื่อพิจารณาคัดเลือกโดย พิจารณาความสำคัญจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการ แล้วจัดทำเอกสารแผนตามแบบฟอร์มที่กองแผนงานกำหนดไว้ และจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานต่อไป ก่อนนำแผนไปปฏิบัติ มีการเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร 3. ขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการเตรียมบุคลากรก่อนการปฏิบัติงาน โดยการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจ และมีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานตามโครงการด้วย ในขณะปฏิบัติงานเมื่อพบปัญหาและอุปสรรค ก็ได้รับการนิเทศให้คำแนะนำจากผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้บริหาร 4. ขั้นการประเมินผล โรงเรียนส่วนใหญ่มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดงานหรือโครงการ และมีการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บริหารทราบพร้อมข้อเสนอแนะ และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ มีการนำผลจากการรายงานไปใช้ปรับปรุงการดำเนินงานโครงการต่อเนื่องในปีต่อไป ปัญหาและอุปสรรคของการวางแผนปฏิบัติการ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนรวมเห็นว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมากในขั้นก่อนการวางแผนและขั้นการประเมินผล ส่วนขั้นการวางแผนและขั้นการนำแผนไปปฏิบัติ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง-
dc.description.abstractalternativeObjectives: 1. To study the planning process of the operation plan of secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education in central region. 2. To study the problem and obstacles of planning the operation plan of secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education in central region. Procedure: The population for this research were administrators and teachers in secondary schools. Simple random sampling technique was used to select the sample groups with Taro Yamane’s sample size Samples were consisted of 210 administrators and 389 teachers. Instrument used in this research was a questionnaire with 3 parts. Part I : background of the respondents; part II: planning process of operation plan; and part III: problems and obstacles of planning of operation plan. Data collection was carried out by the researcher. Five hundred and ninety-nine copies of questionnaire were distributed and four hundred and eighty copies or 80.13 percent were returned and used for analysis. Data were analysed by using percentage, arithmetic mean and standard deviation. Findings: Most of the respondents had experience neither in studying nor training about planning. 1. Pre-planning Every school had an annual operation plan but most of them had no planning unit. Academic staff or planning committee was responsible for planning an annual operation plan. There was an information unit responsible for information management. Personnel were trained in project formulation before formulation the operation plan. 2. Planning In most schools, current state, problems and needs of school and community were studied. Other activities carried out at this stage were problem ranking, setting objectives, analyzing causes of the problems, choosing the best alternative and policy formulation. The structure of an annual operation plan consisted of program, project and task. Projects were proposed by teachers to be considered in terms of needs and feasibility. Work schedule was set and the plan had to be approved by the administrator before implementation. 3. Implementation Before implementation, there was a training program for teachers to clarify annual operation plan. If any problems occurred during the implementation, the project director or administrators would supervise the responsible officials. 4. Evaluation Most of the secondary schools had a summative evaluation. Findings were reported to the administrators and the teachers concerned and were used for modifying the continuing projects in the following year. Problems and obstacles in planning an annual operation plan As for the problems and obstacles in planning an annual operation plan, the level of the problems was rated high by most of the respondents in pre-planning and evaluation stage and rated medium in planning and implementation stage.-
dc.format.extent590138 bytes-
dc.format.extent469177 bytes-
dc.format.extent1418695 bytes-
dc.format.extent321766 bytes-
dc.format.extent1783168 bytes-
dc.format.extent1214322 bytes-
dc.format.extent1129231 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวางแผนen
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- การบริหารen
dc.subjectการศึกษา -- ไทย -- การเงินen
dc.subjectเงินบำรุงการศึกษาen
dc.titleการศึกษากระบวนการวางแผนปฏิบัติการประจำปี ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในส่วนกลางen
dc.title.alternativeA study of the planning process of annual operation plan of secondary schools under the jurisdiction of the department of general education in central regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSnanchit.S@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_Ch_front.pdf576.31 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ch_ch1.pdf458.18 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ch_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ch_ch3.pdf314.22 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ch_ch4.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ch_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ch_back.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.