Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19109
Title: | การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบชนิดเลือกตอบ ที่เรียงสถานการณ์และข้อคำถามแตกต่างกัน ในวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง |
Other Titles: | Comparison of the quality of mathayom suksa two mathematics multiple choice tests with different situation and item arrangements |
Authors: | สุทัศน์ ลักษณะวิลาศ |
Advisors: | พวงแก้ว ปุณยกนก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Puangkaew.P@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความยากอำนาจจำแนกความเที่ยงความตรงของแบบสอบชนิดเลือกตอบ ที่เรียงสถานการณ์และข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์ต่างกัน 4 ชุด คือ 1. เรียงสถานการณ์จากง่ายไปหายากและเรียงข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์จากง่ายไปหายาก 2. เรียงสถานการณ์จากง่ายไปหายากแต่เรียงข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์แบบสุ่ม 3. เรียงสถานการณ์แบบสุ่มและเรียงข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์จากง่ายไปหายาก 4. เรียงสถานการณ์แบบสุ่มแต่เรียงข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์แบบสุ่มและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบทั้ง 4 ชุด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม.2) ของโรงเรียนบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน เป็นชาย 214 คน หญิง 186 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยการสุ่มอย่างมีระบบ แล้วได้ทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียน 1 โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า ทั้ง 4 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ( ม.2 ) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 4 ชุด ซึ่งเรียงสถานการณ์และข้อคำถามแตกต่างกันดังกล่าวข้างต้น วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าความยากและอำนาจจำแนกด้วยการแบ่งกลุ่มสูงกลุ่มต่ำใช้เทคนิค 33 % และเปลี่ยนค่าความยากเป็นค่าความยากมาตรฐาน ( ) หาค่าความเที่ยงโดยวิธี คูเดอร์วิชาร์ดสัน 20 หาค่าความตรงร่วมสมัยโดยหาสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างคะแนนจากแบบสอบแต่ละชุดกับคะแนนผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ในภาคเรียนที่1 เปรียบเทียบค่าความยากมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนกและคะแนนเฉลี่ยของแบบสอบทั้ง 4 ชุด โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เปรียบเทียบค่าความเที่ยง และความตรงของแบบสอบโดยวิธีทดสอบไคสสแควร์ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. แบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียงสถานการณ์ และข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์ต่างกันทั้ง 4 ชุด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในด้านความยาก อำนาจจำแนกความเที่ยง และความตรง 2. คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการสอบแบบสอบทั้ง 4 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ3. แบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียงสถานการณ์และข้อคำถามในแต่ละสถานการณ์ต่างกัน 4 ชุด มีค่าความยากมาตรฐานเท่ากับ 12.95 12.97 13.08 และ 12.94 ตามลำดับ ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยเท่า .35 .36 .33 และ .35 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 .83 .78 และ .80 ตามลำดับ และค่าความตรงเท่ากับ .72 .79 .70 และ .71 ตามลำดับ ซึ่งจัดว่าเป็นเป็นสอบที่มีคุณสูงพอสมควร |
Other Abstract: | The purposes of this study were to compare the difficulty the discrimination power the reliability the validity of four multiple choice tests with different situation and item arrangements 1. The situations and test items of those situations were arranged according to their difficulty levels from easy situations and easy test items to difficult situations and difficult test items 2. The situations were arranged according to their difficulty levels from easy situations to difficult situations but the test items were arranged randomly 3. The situations were arranged randomly but the test item were arranged according to their difficulty easy items to difficult items. 4. The situations and the test items were both arranged randomly and to compare the average scores of those four tests. The samples consisted of 400 mathayom suksa two students 214 boys and 186 girls. They were assigned to four groups by systematic random sampling. The mathematics achievement scores of the first semester of these four groups of students were not significant differences. The instruments used were mathayom suksa two mathematics multiple choice tests constructed by the researcher. The difficulty level and the discrimination power of the tests were analyzed by using the upper and lower 33 % groups and the difficulty was transferred to the standard difficulty. The reliadility was estimated by Kuder - Richardson formula 20 and the concurrent validity was estimated by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The tests difficulty levels and the discrimination power of those were compared by the one way analysis of variance technique. The reliability coefficients and the validity coefficients were compared by Chi-Square Test. The results of this research were as follows 1. The differences of the difficulty levels the discrimination power the reliability and the validity of four mathematics multiple choice tests with different situation and item arrangements were not statistically significant. 2. The differences of the students average scores on these four tests were not statistically significant either. 3. The standard difficulties of these four tests were 12.95 12.97 13.08 and 12.94 respectively the discrimination power were .35 .36 .33 and .35 respectively the reliability were .82 .83 .78 and .80 respectively and the validity were .72 .79 .70 and respectively . |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19109 |
ISBN: | 9745626198 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutat_Lu_front.pdf | 455.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sutat_Lu_ch1.pdf | 548.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sutat_Lu_ch2.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sutat_Lu_ch3.pdf | 569.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sutat_Lu_ch4.pdf | 447.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sutat_Lu_ch5.pdf | 422.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sutat_Lu_back.pdf | 530.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.