Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19126
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฟอง เกิดแก้ว | - |
dc.contributor.author | สุธรรม เดชดี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-17T08:01:44Z | - |
dc.date.available | 2012-04-17T08:01:44Z | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745621935 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19126 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูพลศึกษาและนักศึกษา เกี่ยวกับปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ โดยส่งแบบสอบถามไปยังสถาบันการศึกษาพยาบาลในกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 สถาบัน เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้บริหารจำนวน 28 ชุด สำหรับครูพลศึกษา จำนวน 35 ชุด สำหรับนักศึกษา จำนวน 140 ชุด รวมจำนวนแบบสอบถามทั้งหมด 203 ชุด และได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารกับครูพลศึกษา โดยใช้ค่าที (t-test) แล้วนำเสนอในรูปตารางความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สถาบันการศึกษาพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ไม่มีครูพลศึกษาประจำสถาบัน ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาเป็นครูพิเศษ 2. ผู้บริหารมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดและดำเนินการโปรแกรมพลศึกษา ในสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก คือ นักศึกษาขาดสนามในการฝึกซ้อม ความไม่เหมาะสมของขนาดและบริเวณสนามของสถาบัน สนามที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษามีไม่เพียงพอ ความไม่เหมาะสมของทำเลที่ตั้งของสนามและห้องเรียนกิจกรรมพลศึกษา นักศึกษาไม่มีเวลาในการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน ความไม่สะดวกเกี่ยวกับการใช้สถานที่ในการแยกเก็บตัวนักศึกษาเพื่อใช้ในการฝึกซ้อม ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมเพื่อนันทนาการ 3. ครูพลศึกษามีความคิดเห็นว่า เกี่ยวกับปัญหาการจัดและการดำเนินการโปรแกรมพลศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่มีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ นักศึกษาขาดสนามในการฝึกซ้อม สนามที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาไม่เพียงพอ นักศึกษาไม่มีเวลาฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน ไม่สามารถรวมทีมนักกีฬาได้ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องมีภาระหน้าที่ในด้านการเรียน ขาดงบประมาณในการจัดการแข่งขันกีฬาภายนอกสถาบัน และกิจกรรมเพื่อนันทนาการ ความไม่สะดวกในการใช้สถานที่เพื่อแยกเก็บตัวนักกีฬา ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมเพื่อนันทนาการ โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนันทนาการของนักศึกษามีน้อย และสถาบันไม่ให้การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อนันทนาการเท่าที่ควร 4. นักศึกษามีความคิดเห็นว่า เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่มีปัญหาอยู่ในระดับมากคือ สนามและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน การสอน และใช้ในการฝึกซ้อมยังไม่เพียงพอ และไม่ได้มาตรฐาน ทำเลที่ตั้งของสนามไม่เหมาะสม และไม่สะดวกในการที่จะใช้สนามเพื่อการฝึกซ้อม ไม่ได้รับความสะดวกในการเบิกใช้และส่งคืนอุปกรณ์ และอัตราส่วนของครูพลศึกษากับนักศึกษาไม่สมดุลย์ จากการทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารและครูพลศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดและการดำเนินการโปรแกรมพลศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .10 ทุกรายการปัญหา | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the opinions of administrators, physical education teachers, and students concerning problems of organizing and conducting physical education programs in schools of nursing, Bangkok Metropolis. The device used for collecting the data was constructed by means of 203 questionnaires which were sent to fourteen schools of nursing, Bangkok Metropolis, twenty-eight questionnaires for administrators, thirty-five for physical education teachers and one-hundred and forty for students. All of the questionnaires were answered and sent back. The data were analyzed into percentage, means, standard deviations and the t-test, then interpreted by tables and essays. The analysis of the data indicated that: 1. Most of the school of nursing, Bangkok Metropolis didn’t have full-time physical education teachers. They were all part-time teachers. 2. The administrator thought that major problems of organizing and conducting physical education program in schools of nursing were the lack of fields, unsuitable size environment and site of fields, and the lack of facility for physical education activities. They didn’t have enough budget for recreational activities. 3. The physical education teachers thought that the major problems of organizing and conducting physical education programs in school of nursing were the lack of fields. They didn’t have enough fields for learning and teaching physical education. Students didn’t have enough time to practice for competition; the schools didn’t have enough athletes to form school teams because most of the students had to study hard. They didn’t have enough budget for organizing the competition outside the schools and organizing the recreational activities. They couldn’t use facilities conveniently for keeping athletes while preparing them for competitions. The lacked commodities for organizing recreational activities. The students had little opportunity to participate in recreational activities and schools didn’t offer enough promotion to recreational activities. 4. The students thought that the major problems of the physical education teaching program in the schools of nursing were the insufficient of fields and equipment for teaching, learning and practicing. The equipments couldn’t reach the standard of quality. The sites of fields were not suitable and convenient. They didn’t get enough convenience in borrowing and returning equipment. The ratio between the teachers and students didn’t balanced. There was no significant difference at the .01 level between the opinions of administrators and physical education teachers concerning the problems of organizing and conducting physical education program. | - |
dc.format.extent | 549066 bytes | - |
dc.format.extent | 497990 bytes | - |
dc.format.extent | 619046 bytes | - |
dc.format.extent | 380635 bytes | - |
dc.format.extent | 1454295 bytes | - |
dc.format.extent | 792661 bytes | - |
dc.format.extent | 1338226 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.title | ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูพลศึกษา และนักศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัด และการดำเนินการโปรแกรมพลศึกษา ในสถาบันการศึกษาพยาบาล ในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Opinions of administrators, physical education teachers, and students concerning problems of organizaing and conducting physical education programs in schoold of nursing, Bangkok metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พลศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suthum_De_front.pdf | 536.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suthum_De_ch1.pdf | 486.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suthum_De_ch2.pdf | 604.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suthum_De_ch3.pdf | 371.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suthum_De_ch4.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suthum_De_ch5.pdf | 774.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suthum_De_back.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.