Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1914
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วราภรณ์ ชัยวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | จิรัญญา พานิชย์, 2511- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-17T10:09:24Z | - |
dc.date.available | 2006-08-17T10:09:24Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741761686 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1914 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husseri ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอายุ 9-12 ปี ที่เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 13 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi (1978 Cited in Streubert and Carpenter, 2003) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถสรุปประเด็นได้ทั้งหมด 7 ประเด็น ได้แก่ 1) มันเจ็บนะ : เป็นการเจ็บปวดที่เกิดจากอาการของโรคและจากหัตถการการรักษาที่ได้รับ 2) ไม่สบาย ไม่หายสักที : เป็นความรู้สึกไม่สุขสบายจากอาการแสดงและจากผลข้างเคียงของการรักษาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ 3) เบื่อ : ความรู้สึกไม่พึงพอใจกับสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำหรือได้รับซ้ำแล้วซ้ำอีกจากการเจ็บป่วยและการรักษา 4) ต้องเจอกับสิ่งที่ทำให้กลัว : การเข้าโรงพยาบาลทำให้เด็กต้องเจอกับสิ่งที่ทำให้กลัว ได้แก่ กลัวเข็ม กลัวผีและกลัวตาย 5) อายที่หัวโล้น : เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงอันเป็นผลที่เกิดจากผลข้างเคียงของการรักษา 6) ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ : การเจ็บป่วยและผลข้างเคียงของการรักษาทำให้เด็กไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ อย่างไรก็ตามในประสบการณ์การเจ็บป่วยที่เด็กรับรู้นั้นยังมีประสบการณ์ที่เด็กรู้สึกว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่ได้รับ 7) ได้รับการเอาใจ : การเจ็บป่วยทำให้เด็กได้รับการเอาใจจากครอบครัวและเพื่อนมากขึ้น จากผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจการรับรู้ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวดีขึ้น และนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการพยาบาลแบบองค์รวมที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to explore illness experience of school age patients living with leukemia. A qualitative research methodology guided by Husserl Phenomenology was applied in this study. Participants were 13 school age patients with leukemia, aged range 9-12 years, who received treatment from King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected by in-depth interview. The interviews were tape-recorded and transcribed verbatim. The Colaizzi's method (1978 cited in Streubert and Carpenter, 2003) was applied for data analysis. Findings revealed that illness experience of school age patients with leukemia consisted of 7 themes including 1) It's hurt : Children experienced pain from both illness symptoms and treatments procedures.; 2) Never ending sickness : The feeling of uncomfort from symptoms and side effects of treatment that occurred over and over again.; 3) Being bored : The experience of unsatisaction with what they repeatedly came across from their their illness and treatment.; 4) Encountering fear : Hospitalization made children encounter with frightening things, i.e. needle, ghost, and death.; 5) Ashamed of baldness : The feeling about their changing body image resulted from side effects of treatment.; 6) Unable to do what I want : Illness and side effects of treatment made children unable to do what they wanted.; However good experience also came up that was 7) Gaining more attention : Illness made children gain more attention from families and friends. This study provided better understanding about the perception of illness experience of school age patients with leukemia. Findings can be used for developing holistic nursing interventions that can effectively meet needs of school age patients with leukemia. | en |
dc.format.extent | 1795802 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก | en |
dc.subject | ความเจ็บป่วย | en |
dc.title | ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว | en |
dc.title.alternative | Illness experience of school age patients with leukemia | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Waraporn.Ch@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jiranya.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.