Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา โฆวิไลกูล-
dc.contributor.advisorวัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์-
dc.contributor.authorศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-25T07:43:08Z-
dc.date.available2012-04-25T07:43:08Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19205-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและรูปแบบความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ องค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคเอกชน/องค์กรอิสระไม่แสวงกำไร เพื่อพัฒนากลยุทธ์ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า งบประมาณสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยของภาครัฐค่อนข้างจำกัดและกระจัดกระจาย ขาดความเชื่อมโยงในการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ หน่วยงานด้านการวิจัยต่างๆ มีลักษณะต่างคนต่างทำตามพันธกิจของหน่วยงาน ระบบราชการไม่เอื้อต่อการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการความร่วมมือวิจัยและการทำงานวิจัยของบุคลากรระหว่างเครือข่าย การพิจารณาผลงานความร่วมมือวิจัย เกณฑ์การประเมินผลงานวิจัยของอาจารย์ไม่เอื้อต่อการพัฒนาความร่วมมือวิจัย บุคลากรวิจัยขาดทักษะการบริหารจัดการความร่วมมือวิจัยและการเข้าถึงแหล่งทุนวิจัย การประสานงานกับเครือข่ายการวิจัยและเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานยังไม่เป็นระบบ ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีค่อนข้างน้อย ไม่เข้มแข็ง ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการแบบเครือข่าย (Networking) และการจัดกลุ่มวิจัย (Consortium) ของคณะ/หน่วยงานที่มีสาขาเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานวิชาการและวิจัยควบคู่กัน ประเภทความร่วมมือด้านการวิจัยสรุปได้ 5 รูปแบบ คือ ความร่วมมือวิจัยเชิงนโยบาย ความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนานักวิจัย ความร่วมมือวิจัยแบบกลุ่มเรื่อง ความร่วมมือวิจัยเชิงพื้นที่และความร่วมมือแบบประชาพิจัย ด้านประเภทการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยระดับองค์กรพบว่า ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานแบบหุ้นส่วนวิจัย (Research Partnership) มีความร่วมมือวิจัยกับองค์กรภาครัฐมากที่สุดส่วนภาคเอกชนมีค่อนข้างน้อย และส่วนใหญ่ได้รับการอุดหนุนงบประมาณวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก กลยุทธ์ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ได้แก่ 5 กลยุทธ์ระดับนโยบาย 12 กลยุทธ์ระดับแนวทาง และ 33 กลยุทธ์ระดับกิจกรรม โดยกลยุทธ์ระดับนโยบาย มีดังนี้ กลยุทธ์พัฒนานโยบายส่งเสริมความร่วมมือวิจัยทางสังคมศาสตร์ กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเพื่อความร่วมมือวิจัย กลยุทธ์พัฒนาระบบการบริหารจัดการความร่วมมือวิจัย กลยุทธ์พัฒนาระบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อความร่วมมือวิจัย และกลยุทธ์ส่งเสริมความร่วมมือในการเผยแพร่และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์en
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the problem and Social Science research collaboration model of public universities and other institutes, government offices, NGOs and other non-profit organizations. It also aims to develop the cooperative strategy on social science research among public universities. The research findings found that research budget to support the public research is limited and dispersed; lack of linkage among the policy making/national research strategy. It also found that research agent has its own mission. The budget disbursement system did not facilitate the joint research project and the research team among research network. The evaluation of instructor’s performance and cooperative research did not advocate the development of collaborative research. Moreover, it was found that the researchers were lack of the management skill to handle the cooperative research and to access the source of fund, including the cooperation among the research network and unsystematic linkage of basic information. The collaboration on social science research among public universities is very limited, not strong. Mostly it is carried on in the form of networking and consortium of the related disciplines aims to conduct the academic and research work parallel. The collaboration research can be summarized into 5 models: Higher education development policy, Research staff Development, Research cluster, Area-based research, and People research and development. On the type of collaboration research project, it was found that most cooperation is research partnership which is cooperation among public sectors. The cooperation with private sector is very little. Most of research is funded by external source of funds. Collaboration strategic on social science research among public universities consists of 5 strategies on the policy level, 12 strategies on the approach level and 33 strategies for the action level. The policy strategies are the strategy to support the social science research cooperation, strategy to promote and develop the research personnel to do collaboration research, strategy to develop the administrative system of collaboration research, strategy to develop the resource allocation of collaboration research and the strategy to disseminate and to the research findings of collaboration research.en
dc.format.extent3955882 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.409-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมศาสตร์ -- วิจัยen
dc.subjectความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาen
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์ความร่วมมือด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐen
dc.title.alternativeThe development of collaborative strategies for social sciences research in Thai public higher education institutionsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSukanya.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorWathana.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.409-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sornnate_ar.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.