Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์-
dc.contributor.advisorนภัสสวงศ์ โอสถศิลป์-
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สิมเสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-25T08:16:46Z-
dc.date.available2012-04-25T08:16:46Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19215-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราความผิดพลาดจากการได้รับสารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำ และความพึงพอใจของพยาบาลก่อนและหลังการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมา ในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 6 ปี ทุกคนที่ได้รับสารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมทุกคน ซึ่งมีจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เรื่องกระบวนการซิกซ์ ซิกมา แบบวัดทัศนคติของพยาบาลต่อการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมา แบบวัดความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมา คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำ แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำ แบบบันทึกความผิดพลาด แบบควบคุม เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และความเที่ยงค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบทดสอบความรู้ แบบสังเกตการณ์ปฏิบัติการพยาบาล แบบวัดทัศนคติ และแบบวัดความพึงพอใจของพยาบาล เท่ากับ 0.75, 0.75, 0.73 และ 0.77 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ 1. อัตราความผิดพลาดจากการได้รับสารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำหลังการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมา น้อยกว่าอัตราความผิดพลาดก่อนการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมา โดยมีระดับคุณภาพเพิ่มจาก 2.9 ซิกมา เป็น 3.4 ซิกมา 2. ความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมา สูงกว่าก่อนการใช้กระบวนการซิกซ์ ซิกมาในการให้สารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research were to compare the error rate of fluid and medication via intravenous in pediatric patients, and nurses’ satisfaction before and after the implementation of Six Sigma process. The children were at the age of one month to six years old. Research sample consisted of 9 professional nurses working in pediatric unit. Research instrument consisted of 7 parts; test of Six Sigma process, questionnaire of nurse attitude, questionnaire of nurse satisfaction, manual of nursing procedure, observation form, error record form, and control form. Those instruments were validated by 5 experts. The Cronbach’ s alpha coefficient of the test of Six Sigma process, the observation form, the questionnaire of nurse attitude and the questionnaire of nurse satisfaction were 0.75, 0.75, 0.73 and 0.77 respectively. Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test. Major results were as follows: 1. Error rate after using Six Sigma process was lower than before using Six Sigma process from 2.9 Sigma to 3.4 Sigma. 2. The overall nurses’ satisfaction after using Six Sigma process was statistical significantly higher than before using Six Sigma process at the 0.05 level.en
dc.format.extent1762552 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.743-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการใช้ยาen
dc.subjectพยาบาล -- ความพอใจในการทำงานen
dc.subjectซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)en
dc.titleผลของกระบวนการซิกซ์ ซิกมาในการให้สารน้ำและยาฉีดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยเด็กต่ออัตราความผิดพลาดและความพึงพอใจของพยาบาลen
dc.title.alternativeEffects of Six Sigma process of intravenous medication for pediatric patients towards error rate and nurses's satisfactionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPuangtip.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNapassavong.O@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.743-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudarat_s.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.