Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19216
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ | - |
dc.contributor.author | สุดาวรรณ ผาสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-04-25T08:23:33Z | - |
dc.date.available | 2012-04-25T08:23:33Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19216 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลัง บุคลิกลักษณะ ทัศนคติและแรงบันดาลใจของอาสาสมัครสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนที่ดำเนินโครงการชุบตัวคืนถิ่นเพื่อชีวิตใหม่ให้กับครอบครัวเร่ร่อน รวมทั้งกลยุทธ์การสื่อสารและวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่อาสาสมัครใช้ในการสื่อสารกับครอบครัวเร่ร่อน และปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิผลของการสื่อสารระดับบุคคลระหว่างอาสาสมัครกับครอบครัวเร่ร่อนในการเข้าถึงและการสร้างความสัมพันธ์ที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและยุติพฤติกรรมการเร่ร่อน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครอิสรชน จำนวน 4 คนและครอบครัวเร่ร่อน จำนวน 7 ครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ภูมิหลัง บุคลิกลักษณะ และแรงบันดาลใจของอาสาสมัครทั้ง 4 คน มีความแตกต่างกัน แต่มีทัศนคติ เป้าหมาย และรูปแบบในการดำเนินงานตามโครงการชุบตัวคืนถิ่นเพื่อชีวิตใหม่ให้กับครอบครัวเร่ร่อนที่คล้ายคลึงกัน โดยอาสาสมัครมีฐานะเป็นสื่อบุคคล มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการใช้กระบวนการสื่อสารเพื่อแก้และลดปัญหาการเร่ร่อนของครอบครัวเร่ร่อน. โดยกระบวนการสื่อสารมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมตัวของอาสาสมัครในการทำความเข้าใจปรัชญาแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการทำงาน (2) ขั้นปฏิบัติการ ในการรุกเข้าพื้นที่ การเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์และประเมินครอบครัวเร่ร่อนซึ่งเป็นผู้รับสาร โดยเริ่มจากการทักทาย การแนะนำตัว การสนทนาในเรื่องทั่วไป ปัญหา การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันโรค และการโน้มน้าวใจ (3) ขั้นติดตามและประเมินผล กลยุทธ์และวิธีการที่อาสาสมัครใช้ในการเข้าถึงและการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวเร่ร่อน มี 2 ลักษณะ ได้แก่ กลยุทธ์ตัวแปรและกลยุทธ์รวม โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์มี 2 ตัวแปร ได้แก่ (1) ตัวแปรด้านบุคคล (2) ตัวแปรด้านสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ส่วนกลยุทธ์หลักที่ใช้ในกระบวนการสื่อสารมี 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านบุคคล (2) กลยุทธ์ด้านภาษา (3) กลยุทธ์ด้านการโน้มน้าวใจ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่างอาสาสมัครกับครอบครัวเร่ร่อน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) ปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านกลยุทธ์ วิธีการและกิจกรรม (2) ปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านสังคมและบริบทแวดล้อม และด้านองค์กร | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this analysis is to study background, personality, attitude and inspiration of the voluntary activity creation that giving a new life to homeless families includes the communication strategies and relationship building approach that the volunteers use to communicate with homeless families and the elements that support or hinder productivity of individualistic communication between volunteers and homeless families in the approach and relationship building that changed the attitude and termination of wandering aimlessly by using the analysis procedure in the aspect of quality by studying from documentations, participative observation and non- participative observation and in-depth interview with target group that consists of 4 volunteers and 7 homeless families. The result from the analysis found that the background, personality and inspiration of the 4 volunteers are different but have the similar attitude, goal and format of the way they run the project which indicate the need of assistance and support in carrying out the task from all sides. The volunteers are in the personal media with important roles and duties in applying communication process in order to solve and reduce the straying of homeless families. The communication process has three steps which are (1) Preparation, namely preparing the volunteers to understand the philosophy and objective of the task. (2) Put into practice, invading the area, reach out and build relationship by analysis and assess the homeless families starting with small talk, introduction, general conversation, problems, education on hygiene and disease prevention and persuasion. (3) Follow up and assess the result. There are 2 types of tactics and methods used by volunteers to reach out and build relationship with homeless families which are variable tactic and joint tactic. There are 2 variables that influence the choice of strategies which are (1) Individual variable (2) Situation and environment variable. As for the key strategies use in communication are (1) Individual strategies (2) Language strategies (3) Persuasive strategies. In addition, there also found that factors that involve in productivity of communication between volunteers and homeless families can be categorize into 2 different forms which are (1) Support factor such as individuals, methods , processes and activities (2) Obstacle factor such as individuals, society and surrounding context and organization. | en |
dc.format.extent | 3234399 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.781 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างบุคคล | en |
dc.subject | อาสาสมัครในงานบริการสังคม | en |
dc.title | การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของอาสาสมัครสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนในโครงการชุบตัวคืนถิ่นเพื่อชีวิตใหม่ให้กับครอบครัวเร่ร่อน | en |
dc.title.alternative | Communication for relationship of the voluntary activity creation association's project for giving a new life to homeless families | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ubolwan.P@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.781 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sudawan_p.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.