Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย-
dc.contributor.authorทรงพล เพิ่มทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-27T07:55:48Z-
dc.date.available2012-04-27T07:55:48Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19257-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ประยุกต์ซอฟท์แวร์แล็บวิว เพื่อพัฒนาโปรแกรมควบคุมการทดสอบอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้าแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1) แบบควบคุมภาระ 2) แบบลด [delta]K และ 3) แบบควบคุม [delta]K การทำงานของโปรแกรมใช้ข้อแนะนำในมาตรฐาน ASTM E647 โครงสร้างของโปรแกรมประกอบด้วยโมดูลรับค่าสภาวะทดสอบ โมดูลวิเคราะห์ผล โมดูลแสดงผล โมดูลบันทึกผล โมดูลสร้างสัญญาณควบคุม และโมดูลปรับแก้สัญญาณควบคุม โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นถูกนำไปประยุกต์กับการทดสอบหาอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้าของอะลูมิเนียมผสม 7075-T651 โดยใช้ชิ้นงานทดสอบแบบ CT ขนาดกว้าง 2 นิ้ว หนา 1 นิ้ว ในสภาพแวดล้อมอากาศ การทดสอบทั้งหมดใช้ภาระรูปไซน์ ความถี่ 10 เฮิร์ทซ์ สำหรับการทดสอบแบบควบคุมภาระ และแบบลด [delta]K ใช้อัตราส่วนภาระเท่ากับ 0.1, 0.3, 0.5 และ 0.7 สำหรับการทดสอบแบบควบคุม [delta]K ทดสอบที่อัตราส่วนภาระเท่ากับ 0.1 และควบคุม [delta]K ที่ 4, 7 และ 10 MPa[square root]m ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์พบว่า สำหรับการทดสอบแบบควบคุมภาระ โปรแกรมสามารถควบคุมความผิดพลาดของภาระเฉลี่ยและแอมพลิจูดภาระได้ในขอบเขต +- 2 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับการทดสอบแบบลด [delta]K กับแบบควบคุม [delta]K สามารถควบคุมความผิดพลาดได้ในขอบเขต +- 10 เปอร์เซ็นต์ การควบคุมภาระจะแม่นยำขึ้น เมื่อคอมพลายแอนซ์ของชิ้นงานมีค่าน้อยกว่า 3.5 x 10[superscript -8] มม./ตัน และ [delta]K มีค่ามากกว่า 2.5 MPa[square root]m ผลการทดสอบข้างต้นแสดงให้เห็นว่า อัตราการเติบโตของรอยร้าวล้าของอลูมิเนียมผสม 7075–T651 ขึ้นอยู่กับ [delta]K และอัตราส่วนภาระ นอกจากนี้ การทดสอบที่อัตราส่วนภาระ 0.1 ได้ผลสอดคล้องกับผลการทดสอบที่ได้จากเครื่องทดสอบอื่นที่มีโปรแกรมสำเร็จรูป Gluon ควบคุมจึงสรุปได้ว่าโปรแกรมสามารถควบคุมการทดสอบหาอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้าได้อย่างน่าเชื่อถือen
dc.description.abstractalternativeThis thesis developed a program for fatigue crack growth rate using LabVIEW software. The program can perform 1) load-controlled test, 2) [delta]K -decreasing test and [delta]K -constant test. The program was designed follow the ASTM E647 standard. The program consists of user interface, test type, conversion, sampling&save, analysis, waveform generation and load compensation modules. The developed program is used in fatigue crack growth rate test of aluminum alloy 7075-T6. The specimen is compact tension type, having a width of 2 in. and a thickness of 1 in. Tests were conducted in an air environment, under sine waveform of a frequency 10 Hz. For [delta]K -increasing and [delta]K -decreasing tests, the tests were conducted under a load ratio of 0.1, 0.3, 0.5 and 0.7. For [delta]K -constant tests, the tests were conducted under a load ratio of 0.1 and [delta]K equals to 4, 7 and 10 MPa[square root]m, respectively. It can be concluded from the experimental results that the program can correctly control the mean load and load amplitude within a specified limit e.g. within 2% for [delta]K -increasing test, and within 10% for [delta]K -decreasing and constant tests. The accuracy of the controlled load was improved if the specimen’ s compliance is lower than 3.5x10[superscript -8] mm/ton and [delta]K higher than 2.5 MPa[square root]m. These results revealed that fatigue crack growth rate of Al 7075-T6 depends on [delta]K and load ratio but independent of test type. Comparison of crack growth rate data obtained from the developed program with that obtained from commercial software at load ratio of 0.1 reveled that both experiments give a similar result. Thus, the program can perform the test wellen
dc.format.extent3792736 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1440-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัสดุ -- ความล้าen
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมทดสอบสำหรับหาอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้าen
dc.title.alternativeDevelopment software for fatigue crack growth rate testen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmejks@eng.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1440-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songpon_pe.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.