Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.authorปาลิตา เหลืองรุ่งอุดม, 2511--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-18T12:48:00Z-
dc.date.available2006-08-18T12:48:00Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741762305-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1934-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมนต่อการฟื้นหายและความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรักษา คือ ผู้ป่วยเด็กอายุ 1-3 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 38 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง 19 คนแรกจัดเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนกลุ่มตัวอย่าง 19 คนหลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประเมินการฟื้นหายโดยใช้แบบสังเกตการฟื้นหาย 2 ด้าน คือ การพ้นภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ และการที่ระบบทางเดินอาหารกลับมาทำหน้าที่เป็นปกติ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น และประเมินความกลัวของผู้ป่วยเด็กในขณะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ของ วิภาดา แสงนิมิตชัยกุล (2546) ผลการวิจัยพบว่า 1. การฟื้นหายด้านการพ้นภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ ของผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การฟื้นหายด้านการที่ระบบทางเดินอาหารกลับมาทำหน้าที่เป็นปกติ ในวันที่ 1 และ 2 ของผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ป่วยเด็กกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน มีความกลัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativePurposes of this quasi-experimental research was to study effects of nursing care using the Neumam systems model on recovery and fear of intravenous infusion of hospitalized children with acute diarrhea. Subjects were composed of 38 hospitalized children assigned to a control group and an experimental group based on sequence of hospitalization. The first 19 hospitalized children were assigned to the control group and the last 19 hospitalized children were in the experimental group. The experimental group received nursing care using the Neumam systems model. The control group received routine nursing care. Recovery from dehydration and the recovery of gastrointestinal tract function developed by the researcher. Children's fear during intravenous infusion situation was collected by the Fear of intravenous infusion Behavior Scale developed by Sangnimitchaikul (2003). Findings were as follows: 1. Recovery from dehydration of the children receiving nursing care using the Neumam systems model was significantly better than that of children receiving routine nursing care, at the level of .05 2. Recovery of gastrointestinal tract function both on the first and second day of admission of children receiving nursing care using the Neumam systems model was significantly better than that of children receiving routine nursing care, at the level of .05 3. Fear of intravenous infusion of children receiving nursing care using the Neumam systems model was significantly less than that of children receiving nursing care, at the level of .05.en
dc.format.extent4216398 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectท้องร่วงในเด็กen
dc.subjectความกลัวen
dc.subjectการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำen
dc.titleผลของการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน ต่อการฟื้นหาย และความกลัวการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลen
dc.title.alternativeEffects of nursing care using the Neuman systems model on recovery and fear of intraveneous infusion of hospitalized children with acute diarrheaen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWaraporn.Ch@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Palita.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.