Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19380
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอังสนา บุณโยภาส-
dc.contributor.authorสุพิชฌาย์ เมืองศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-01T14:51:44Z-
dc.date.available2012-05-01T14:51:44Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19380-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทุกปีจะมี นักท่องเที่ยวนับล้านคนมาเที่ยวเชียงใหม่และถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆจากมุมมองที่สวยงามเพื่อเป็นที่ ระลึก ดังนั้นมุมมองจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ในปัจจุบันมุมมองสำคัญนี้กำลังประสบ ปัญหาด้านคุณภาพเชิงทัศน์อย่างมาก อันมีสาเหตุจากความต้องการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว มากเกินความจำเป็น และมีการจัดวาง สิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งประกอบบริเวณใกล้มุมมองเหล่านี้ใน สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งและปริมาณที่เหมาะสม การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการค้นหา แนวทางการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์บริเวณมุมมองสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในเขตเมือง เชียงใหม่ ภายใต้แนวคิดที่ยอมให้การพัฒนาเกิดควบคู่กับการอนุรักษ์คุณค่าของสถานที่นั้นๆได้ การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ (1) กำหนดพื้นที่ศึกษาซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ที่ถูกแนะนำจากสื่อสาธารณะต่างๆมากที่สุด 3 แห่ง ซึ่งได้แก่ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จากนั้นกำหนดจุดมุมมองสำคัญของสถานที่ เหล่านี้ จากการรวบรวมมุมมองที่ปรากฏในภาพถ่ายตามสื่อสาธารณะต่างๆ (2) ทำการประเมินเชิงทัศน์แต่ละ มุมมองสำคัญ โดยสร้างกระบวนการในการประเมินเชิงทัศน์ที่ผสมผสานกับการวิเคราะห์ด้วย Viewshade ใน ระบบภูมิสารสนเทศ แล้วทำการประเมินผลกระทบเชิงทัศน์จากการวิเคราะห์ระดับความขัดแย้งระหว่าง องค์ประกอบที่สร้างผลกระทบกับองค์ประกอบหลักในภูมิทัศน์ แล้วทำการวิเคราะห์ระดับการถูกปิดบังของแต่ ละองค์ประกอบที่สร้างผลกระทบ เพื่อให้ทราบสาเหตุและระดับความรุนแรงของผลกระทบ (3) กำหนด แนวทางในการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ด้วยการสร้างภาพจำลอง 4 แนวทางเลือกในการปรับปรุง แล้วสร้าง สมุดภาพแบบสอบถาม เพื่อนำไปสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้u3629 .ง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและ ต่างชาติ คนในท้องถิ่นและคนในพื้นที่ศึกษา (4) นำผลการสำรวจความคิดเห็น ที่มีต่อภาพจำลองแนวทางเลือก มาสรุปเป็นแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์บริเวณมุมมองสำคัญที่ยอมรับได้มากที่สุด ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบที่สร้างผลกระทบในพื้นที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ อาคารที่มี รูปลักษณ์ทั่วไป อาคารที่มีรูปลักษณ์เฉพาะ ร้านค้า สิ่งประกอบบริเวณด้านหน้าองค์ประกอบหลัก สิ่งอำนวย ความสะดวก รถยนต์ และองค์ประกอบอื่นๆ โดยวิธีการลดผลกระทบในแนวทางเลือกที่เสนอประกอบด้วย การ เอาออก การย้ายตำแหน่ง การออกแบบใหม่ และการปิดบัง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบที่สร้างผลกระทบต้องการ วิธีการในการลดผลกระทบที่แตกต่างกันไป และคนแต่ละกลุ่มก็มีความคิดเห็นต่อวิธีการต่างๆแตกต่างกันไป ตามวัฒนธรรม บทบาทของบุคคลต่อสถานที่ และความผูกพันกับพื้นที่ ซึ่งกระบวนการที่ได้จากการศึกษานี้จะ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำไปประยุกต์ หาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ในมุมมองสำคัญของ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งอื่นๆต่อไปได้en
dc.format.extent11013881 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์บริเวณมุมมองสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในเขตเมืองเชียงใหม่en
dc.title.alternativeVisual quality improvement for key view points of historical tourist's attractions in Chiangmai cityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAngsana.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suphicha_mu.pdf10.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.