Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19387
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ชาติประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | ธณพล รังสาดทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-01T15:15:47Z | - |
dc.date.available | 2012-05-01T15:15:47Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19387 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2553 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาถึงกระบวนการผลิตข่าวออนไลน์ของเว็บท่าภายในประเทศ และพฤติกรรมการใช้งานเว็บท่าของผู้ใช้งาน รวมไปถึงความพึงพอใจข่าวที่ถูกคัดเลือกจากเว็บท่า และศึกษาถึงการรับรู้ถึงลิขสิทธิ์ในเนื้อหาข่าวออนไลน์ของเว็บมาสเตอร์และผู้ใช้งานเว็บท่าภายในประเทศ ภายหลังก่อตั้งชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 วิธี คือ สัมภาษณ์เชิงลึกเว็บมาสเตอร์ และการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่าเว็บท่านำเสนอข่าวเพื่อประโยชน์ในด้านธุรกิจ และมีการแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการนำเสนอโฆษณาในหน้าข่าว ซึ่งผิดกับหลักการใช้เนื้อหาที่เป็นธรรม (Fair use) ข่าวที่นำเสนอบนเว็บท่าไม่แตกต่างกับข่าวที่นำเสนอบนเว็บข่าวออนไลน์ ภายหลังการก่อตั้งชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ส่งผลให้เว็บท่าภายในประเทศเปลี่ยนรูปแบบการผลิตข่าว เป็นการนำข่าวจากหลายๆ แหล่งมาเรียบเรียงใหม่ ส่งผลทำให้คุณภาพข่าวลดลงและก่อให้เกิดการใส่ความคิดเห็นส่วนบุคคลลงไปในเนื้อหาข่าวออนไลน์ การใช้งานเว็บท่าพบว่าผู้ใช้งานไม่ได้ใช้งานเว็บท่าในการติดตามข่าวออนไลน์เพียงแหล่งเดียวในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่มีการใช้แหล่งข่าวจากเว็บข่าวออนไลน์ประกอบด้วย แม้การเรียบเรียงข่าวของเว็บท่าส่งผลทำให้คุณภาพข่าวลดลง แต่ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บท่า เพราะผู้อ่านให้ความสำคัญกับความรวดเร็วในการนำเสนอข่าวมากกว่า ในเรื่องการละเมิดจริยธรรมผู้ใช้งานมองว่า การผลิตซ้ำเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะยังไม่มีบทลงโทษตามกฎหมาย แตกต่างจากการแสดงความคิดเห็นหยาบคายที่มีบทลงโทษตามกฎหมาย การรวมกลุ่มจัดเป็นชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์เพื่อแสดงให้เห็นว่า การผลิตข่าวซ้ำข่าวแบบเดิมส่งผลกระทบต่อเจ้าของเนื้อหา และการรวมกลุ่มสามารถสร้างอำนาจต่อรองกับเว็บท่า เพื่อขอความร่วมมือในการสร้างจริยธรรมการนำเสนอข่าวออนไลน์ แต่ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ไม่สามารถเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตข่าวตามที่ต้องการได้ เพราะข่าวออนไลน์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ | en |
dc.description.abstractalternative | To examine the news production process, the audience's use and satisfaction of news on Thailand web portals. It also examines the copyright concerns of both the web masters and the audience after the establishment of the Society for Online News Providers. Research methods are in-depth interviews of webmasters and survey of 400 internet users. Research has found that the setting up of the online news sections on the web portals is mainly for business purposes. They use online news to sell advertisement space with violate the principle of fair use of content from primary sources. Online news presented on the web portals is not different from those presented on online news sites. After the establishment of the Society for Online News Providers, he process of making news on web portals has changed to rewriting the news obtained from various sources. Such practice affects the news quality and gives room for webmasters to put their opinion into the news reporting. Most internet users do not use rely solely on Web portals as their news sources but they also expose to online news from news websites as well. Poorer quality of the news on web portals is not a major concern among users because they focus more on the speed of news delivery. They see that reproduction is not wrong because the punishment of the law is different from the case of rude comments which is protected by legal sanctions. The establishment of Society for Online News Providers shows that the news presentation of the web portals affects the content owners so they have to collaborate in order to increase bargaining power with web portals and to set guidelines regarding ethics of presenting online news. However, the Society for Online News Providers has not brought about the changes in news production because online news is not protected under the copyright law. | en |
dc.format.extent | 3574902 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.387 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เว็บพอร์ทัล -- ไทย | - |
dc.subject | การสื่อข่าวและการเขียนข่าว | - |
dc.subject | ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต | - |
dc.subject | อินเตอร์เน็ต -- แง่ศีลธรรมจรรยา | - |
dc.subject | ลิขสิทธิ์ | - |
dc.subject | Web portals -- Thailand | - |
dc.subject | Reporters and reporting | - |
dc.subject | Internet users | - |
dc.subject | Internet -- Moral and ethical aspects | - |
dc.subject | Copyright | - |
dc.title | บทบาทด้านการข่าวของเว็บท่ายอดนิยม | en |
dc.title.alternative | The role of online news from Thailand's popular web portals | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วารสารสนเทศ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Duangkamol.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.387 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanaphon_ra.pdf | 3.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.