Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19402
Title: การศึกษาผลกระทบจากต้นไม้และเนินดินเพื่อสร้างภูมิอากาศที่เหมาะสมในสิ่งแวดล้อมรอบอาคารที่พักอาศัย
Other Titles: A study of environmental effects of using vegetation and mound to create microclimate around residential building
Authors: ทองเอก หอศิริธรรม
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorasun.b@chula.ac.th
Subjects: ต้นไม้ -- แง่สิ่งแวดล้อม
เนินดิน -- แง่สิ่งแวดล้อม
ที่อยู่อาศัย
การสร้างบ้าน -- แง่สิ่งแวดล้อม
การปรับอากาศ
Trees -- Environmental aspects
Mounds -- Environmental aspects
Dwellings
House construction -- Environmental aspects
Air conditioning
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันอิทธิพลจากสภาวะโลกร้อนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตามความต้องการของมนุษย์ โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการปรับอากาศแก่อาคารบ้านเรือน ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดในการแก้ปัญหาจากต้นเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้จึงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อันประกอบไปด้วยเนินดินและต้นไม้ที่มีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นการลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกโดยตรงและยังสามารถดูดซับความร้อนและแสงจากดวงอาทิตย์ ซึ่งช่วยในการลดอุณหภูมิแก่พื้นผิวโลก วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงเน้นเพื่อศึกษาถึงประโยชน์ ประสิทธิภาพและความสำคัญของต้นไม้และเนินดินในสิ่งแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรต่างๆ เช่น อุณหภูมิอากาศและพื้นผิวต่างๆ เพื้อใช้ในการสร้างภูมิอากาศเฉพาะแก่ที่พักอาศัยให้เกิดสภาวะน่าสบาย และนำเสนอออกมาเป็นต้นแบบการนำไปประยุกต์ใช้ตามสัดส่วนที่เหมาะสม การศึกษาวิจัยเป็นการทดลองปรับสภาพแวดล้อม โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการ DNA Resort เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ขนาดไม่เกิน 60 ตารางวา ในการทดลองปรับสภาพแวดล้อมด้วยต้นไม้และเนินดินแก่บ้านอาศัยจำนวน 2 หลังที่มีการออกแบบเหมือนกันด้านรูปทรงและวัสดุ โดยหลังที่ 1 มีการปรับสภาพแวดล้อม และหลังที่ 2 ไม่มีการปรับสภาพแวดล้อมใดๆ เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิสูงสุดต่ำสุดที่ต่างกันและนำมาวิเคราะห์ผลของตัวแปรสำคัญ ที่มีอิทธพลต่อการสร้างภูมิอากาศเฉพาะให้บ้านพักอาศัยอยู่ในสภาวะน่าสบาย โดยผลการวิจัยจะเกิดนวัตกรรมของบ้านและสภาพแวดล้อมยุคใหม่ ที่สามารถใช้ทุนธรมชาติ ได้แก่ อุณหภูมิดินลึก 50 ซม. ที่ค่อนข้างคงที่ในทุกฤดูกาลที่ 24-25 องศาเซลเซียส และต้นไม้หลายขนาดรวมถึงพืชคลุมดิน ที่เลือกสรรพประเภทและจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ที่สามารถลดอุณหภูมิอากาศโดยรอบเฉลี่ยได้ถึง 3 องศาเซลเซียส อิทธิพลดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานภายในบ้านได้มากกว่าบ้านพักอาศัยแบบปกติถึง 1.5 เท่า
Other Abstract: The climate change has been an impact factor to the world today. Carbon dioxide is a large amount of greenhouse gas caused the climate change. Residential building and its surrounding are a major impact to carbon dioxide emission. Residential building in Thailand mostly requires air condition system to provide a better comfort condition inside. It produces both energy and rejects heat to the environment. Tree and landscape around residents would be one alternative to reduce climate change impact factor since it has a large area in urban and rural in each country. The 140 square meters surrounding of single house was evaluated as comparison method with temperature measurement. The study started with 3 levels of plants as ground cover, shrub, and tree. Plants provide evaporation using heat to convert water to vapor. It also provides shading device to the ground as well as building wall and roof. It is found that the house with plants and ground cover has less ambient temperature as 3 degree C lower. Even in winter, ambient temperature also has constant with very less swing. The 50 cm. dept ground temperature has constant temperature year round as 24-25 degree C. With appropriate plants and landscape, house can reduce energy consumption from air condition system as much as 1.5 times compared to typical house with less plant.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19402
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2110
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thongake_ho.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.