Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19407
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.authorทิพยาภรณ์ รัตนลาโภ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-02T15:12:05Z-
dc.date.available2012-05-02T15:12:05Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19407-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอนและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน, ครูพี่เลี้ยง จำนวน 210 คน, อาจารย์นิเทศ จำนวน 70 คนและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน ได้แก่ความตรงตามเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในและความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน ผลการวิจัยพบว่า ได้แบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน 2 ฉบับ มีมาตรฐานในการประเมิน 17 มาตรฐาน ดังนี้ แบบประเมินฉบับที่ 1 ประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง มี 8 มาตรฐาน คือ 1) สถานศึกษามีการจัดการองค์การ โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา 2) สถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา 3) สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน 4) สถานศึกษาส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ครูตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 5) สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตรตามความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น 6) สถานศึกษาจัดกิจกรรม และการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 7) สถานศึกษามีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ 8) สถานศึกษามีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ แบบประเมินฉบับที่ 2 ประเมินโดยอาจารย์นิเทศและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มี 9 มาตรฐาน คือ 1) ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรมและเป็นแบบอย่างที่ดี 2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ 3) ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีคุณธรรม และจริยธรรม 4) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5) ครูมีความสามารถในการแสวงหาความรู้คิดวิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 6) ครูมีคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ 7) สถานศึกษามีการจัดองค์การ โครงสร้าง และการบริหารงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ความพร้อมในการเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู 8) ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 9) ครูมีความสามารถในการเป็นครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน พบว่า 1. แบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอนทุกฉบับมีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยการพิจารณาจากการตัดสินความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ และมีความตรงเชิงโครงสร้างที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2. ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency Reliability) แบบประเมินฉบับที่ 1 ค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับมีค่า 0.88 จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มครูพี่เลี้ยงมีค่าความเที่ยงสูงสุด มีค่า 0.91 และกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษามีค่าความเที่ยง 0.75 แบบประเมินฉบับที่ 2 ค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับมีค่า 0.95 จำแนกตามกลุ่มอาจารย์นิเทศก์มีค่าความเที่ยงสูงสุด มีค่า 0.68 และกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีค่าความเที่ยง 0.95 3. ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (Inter-Rater Reliability) แบบประเมินทั้ง 2 ฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.999-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop the evaluation standard forms for the professional development schools and to investigate the qualities of evaluation tools in terms of validity and reliability. The sample consists were the professional development schools and answer were 70 administrators, 210 classroom co-operating teachers, 70 supervisors and 420 the forth and the fifth student teachers. The inventory was constructed, tried-out, the used to collect data for quality confirmation by content validity, construct validity, internal consistency reliability and inter-rater reliability. The results of this research showed that the evaluation standard forms for the professional development schools consisted of 2 subtest with 17 standards. Subtest 1 evaluator by administrators and classroom co-operating teachers with 8 standards ; 1) school has system organization, structure and administration for education goal 2) school promote relationship and collaborate with community to develop education 3) school environment can support learning and safety students 4) school always support and development teacher 5) schools activity have agree with curriculum student and communitys demand 6) school use learning activity based on student centered concept 7) school has a suitable curriculum with student and community has instructional media to help learning and 8) school has building and sufficient facility. Subtest 2 evaluator by supervisors and student teachers with 9 standards ; 1) administrator has moral and can be a good model 2) administrator has a leader and can administration 3) teacher has moral and teachers ideology 4) teacher can efficiency teach and teaching activity base on student centered concept 5) teacher has seek for knowledge, critical thinking and can create knowledge for develop learning 6) teacher has knowledge and graduate to confirm to their undertake work 7) school has system organization, structure and administration to be a professional development school 8) administrator can administration professional development school and 9) teacher can be classroom co-operating teacher. The qualities of the evaluation forms for the professional development schools were report as follow ; 1. According to the expert judgement , the evaluation form for the professional development schools was considered to have content validity. The Construct validity was proved by confirmatory factor analysis. 2. The internal consistency reliability coefficients were analized by subtest, each subtest was analized to find the reliability coefficient of each sample group. Subtest 1 the total reliability was 0.88, maximum reliability from administrator group was 0.91 and classroom co-operating teacher group was 0.75. Subtest 2 the total reliability was 0.95, maximum reliability from supervisor group was 0.65 and student teacher group was 0.95. 3. The inter-rater reliabilities of each subtest were 0.999en
dc.format.extent2232122 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการฝึกสอน-
dc.subjectโรงเรียน -- มาตรฐาน-
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินมาตรฐานสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอนen
dc.title.alternativeDevelopment of evaluation standard forms for educational institutions for professional teaching practicesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tippayaporn_ra.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.