Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19436
Title: การประเมินสมดุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในวัฎจักรชีวิตของอาคาร กรณีศึกษา อาคารห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Carbon dioxide balance assessment in life-cycle of building case study : Encycopedia Library Information, Nakhonratchasima Province
Authors: วราภรณ์ บุตรจันทร์
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorasun.b@chula.ac.th
Subjects: คาร์บอนไดออกไซด์
อาคาร -- อายุการใช้งาน
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- แง่สิ่งแวดล้อม
Carbon dioxide
Buildings -- Service life
Construction industry -- Environmental aspects
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบอาคาร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบหลักของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล การศึกษาเริ่มต้นจากการศึกษาวัฏจักรชีวิตของอาคาร เริ่มตั้งแต่การผลิตวัสดุ การขนส่ง การก่อสร้าง การใช้งานและการรื้อถอนอาคาร โดยใช้แนวความคิดในการสมดุลคาร์บอน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการก่อสร้างอาคาร โดยเริ่มดำเนินการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น จนรื้อถอนอาคารของอาคารกรณีศึกษา คืออาคารห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ เปรียบเทียบอาคารทั่วไป จากการดำเนินการศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแนวทางการสมดุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้และพื้นที่สีเขียว จากการศึกษาอาคารพื้นที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่ากัน พบว่าในช่วงการใช้งานอาคาร อาคารที่ก่อสร้างด้วยวัสดุทั่วไปต้องใช้พลังงานเท่ากับ 264.16-499.64 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี หรือเท่ากับ 64,613.61-12,2211.98 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่ออาคารต่อปี ห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ ใช้เพียง 49.85 กิโลวัตต์ ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี หรือเท่ากับ 12,192.38 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่ออาคารต่อปี การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงการก่อสร้างอาคารทั่วไปปลดปล่อย 67.64-105.83 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบปลดปล่อย 28.10 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในช่วงการใช้งานอาคารพบว่า อาคารทั่วไปปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 145.55-275.30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อปี ในขณะที่ ห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 27.47 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อปี จากข้อมูลความสารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ศึกษา พื้นที่สีเขียวสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 0.60-6.51 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อปี สรุปพื้นที่สีเขียวในการสมดุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยของความสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากข้อมูลที่ศึกษา ในช่วงการใช้งานอาคาร อาคารทั่วไป 1 ตารางเมตรต้องใช้พื้นที่สีเขียว เท่ากับ 55.13-104.28 ตารางเมตร ในขณะที่ห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ 1 ตารางเมตรต้องใช้พื้นที่สีเขียวเพียง 10.40 ตารางเมตร สำหรับการในช่วงการก่อสร้างอาคาร อาคารทั่วไปต้องใช้พื้นที่สีเขียว 25.62-40.09 ตารางเมตร ต่อ 1 ตารางเมตรของการก่อสร้าง และห้องสมุดสารนิเทศสารานุกรมไทยต้นแบบ 1 ตารางเมตร ต้องใช้พื้นที่สีเขียวเพียง 10.65 ตารางเมตร การสร้างความสมดุลนี้ส่งผลต่อแต่ละอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ที่ต้องการพื้นที่สีเขียวเพื่อให้สมดุลคาร์บอน ส่งผลต่อบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นความความต้องการของตัวเองในการสมดุลคาร์บอนด้วยพื้นที่สีเขียว สำหรับค่าใช้จ่ายต่อตารางเมตรของป่าไม้ในแต่ละปี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
Other Abstract: Climate change is a major concern for building design and construction industry today. Carbon dioxide is a large portion of greenhouse gas since every activity process relates to fossil fuel energy source. The study started with life cycle processes as material manufacture and its transportation, construction period, and using stage. The carbon balance idea in building industry has been developed to find out how and economic ways to apply. The conventional buildings were evaluated from cradle to grave, then, the new design of Encyclopedia library was conducted. Meanwhile, the carbon dioxide reduction alternatives were explored. Therefore, tree and green area were introduced as carbon sink. The same building area is a fixed variable. Building material of conventional building requires 264.16-499.64 kWh/sq.m./year or 64,613.61-12,2211.98 kWh/year as total comsumption. Encyclopedia library requires only requires 49.85 kWh/sq.m./year or 12,192.38 kWh/year as total comsumption. The carbon dioxide emissions during construction of conventional building is 67.64-105.83 kg. of carbon dioxide per sq.m. and the library is 28.10 kg. of carbon dioxide per sq.m. Conventional building has 145.55-275.30 kg. of carbon dioxide per sq.m. per year during using stage while the Encyclopedia library has only 27.47 kg. of carbon dioxide per sq.m. per year. From literatures, green area could absorb carbon dioxide from 0.6-6.51 kg./sq.m./yr. Finally, based on average carbon dioxide sink data, conventional building requires 55.13-104.28 sq.m. of green area for each square meter of usable area while Encyclopedia library building requires only 10.40 sq.m. during using stage. For construction process, conventional building needs 25.62-40.09 sq.m. of green area per each square meter of construction. The Encyclopedia library requires only 10.65 sq.m. of green area per each square meter of construction. Along with this approach, each building material industry required its own green area to make carbon balance. The construction company is also similar. It needs its own carbon sink green area as capital cost for each square meter of building construction annually, global warming is occurring currently.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19436
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2148
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2148
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_bo.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.