Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1943
Title: | ตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารการพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ |
Other Titles: | Indicators of nursing administration quality in intensive care units, regional hospital and medical centers |
Authors: | ชลธิรา กองจริต, 2518- |
Advisors: | บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Boonjai.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต--การควบคุมคุณภาพ การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต--การควบคุมคุณภาพ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารการพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์โดยใช้วิธีเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้นของการวิจัย โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 10 ท่าน ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ ขั้นที่ 2 สร้างเครื่องมือโดยใช้แบบสอบถามตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารการพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 ขั้นที่ 3 รวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่มีประสบการณ์ทำงานในหอผู้ป่วยวิกฤต 5 ปีขึ้นไป จำนวน 678 คน แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์คิดเป็น 96% วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธร์กอนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ คัดเลือกตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารการพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ จากเกณฑ์ดังนี้ 1) องค์ประกอบตัวชี้วัดมีค่าไอเกนมากกว่า 1.0 2) องค์ประกอบตัวชี้วัดมีตัวชี้วัดย่อยไม่น้อยกว่า 3 ตัวแปรขึ้นไป 3) ตัวชี้วัดมีน้ำหนักองค์ประกอบอย่างน้อย 0.40 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ตัวชี้วัดคุณภาพการบริหารพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ 67.67% โดยมีตัวชี้วัด ดังนี้ 1. การนิเทศ ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 11 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 16.68% 2. การบริหารพัสดุและพื้นที่ ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 11 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 12.09% 3. ทีมสหสาขาและการศึกษาต่อเนื่อง ประกอบด้วยตัวชี้ชัดย่อย 7 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 9.51% 4. การจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 7 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 8.79% 5. การจัดระบบงาน ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 4 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 8.67% 6. การควบคุมการติดเชื้อ ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 6 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 6.58% 7. การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 4 ตัวชี้วัด อธิบายความแปรปรวนได้ 5.328% |
Other Abstract: | To explore the indicators of nursing administration quality in intensive care units, Regional Hospital and Medical Centers. Three main steps were conducted. The first step was to conduct the research framework concept by using literature reviewed and interviewed through structured interview with 10 nurse professional who has experienced more than 5 years in ICUs in Regional Hospital and Medical Centers. The second step was to develop the questionnaire and judged to be acceptable by the panell of experts. cronbach's alpha coefficient was 0.97. The third step was to collected data. The sample consisted of 678 professional nurses. Response rate for the study was 96%. the data were analyzed by using principal component extraction with an orthogonal rotation and varimax method. Items were selected base on the following criterias a) factor with an eigan value > 1.0. b) Which include at least 3 items. c) item with factor loading at least 0.4. Research findings were as follows: The indicators of nursing administration quality in intensive care units, Regional Hospital and Medical Centers consisted of seven factors, accound for 67.67% of explained variance. The seven factors were as follows 1. Supervision consisted of 11 items, accounted for 16.68% 2. Material and area design consisted of 11 items, accounted for 12.09% 3. Multidisciplinary and continuous education consisted of 7 items, accounted for 9.51% 4. Transportation consisted of 7 items, accounted for 8.79%. 5. Work system consisted of 4 items, accounted for 8.67% 6. Infection control consisted of 6 items, accounted for 6.58% 7. Human resource development consisted of 4 items, accounted for 5.32%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1943 |
ISBN: | 9741760477 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chonthira.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.