Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19504
Title: การเปลี่ยนแปลงสารที่เป็นแกนกลั่นตัวตามชั้นบรรยากาศในเขตเมือง
Other Titles: Variation of condensation nuclei within atmospheric profile in urban area
Authors: จิราภรณ์ ทิพคุณ
Advisors: สุรัตน์ บัวเลิศ
ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Surat.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ฝน
ฝุ่น
การควบแน่น
กรุงเทพฯ -- ภูมิอากาศ
สงขลา -- ภูมิอากาศ
เชียงใหม่ -- ภูมิอากาศ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเปลี่ยนแปลงของสารไอออนิก 7 ชนิด ได้แก่ คลอไรด์ ไนเตรท ซัลเฟต โซเดียม แอมโมเนียม โพแทสเซียม และแคลเซียมในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร และฝุ่นละอองรวม ที่ชั้นความสูงต่างๆ ได้แก่ ชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นบน บริเวณเขตเมืองอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เขตเมืองกรุงเทพมหานคร และเขตเมืองของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บตัวอย่างทุก 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วันต่อเนื่อง สำหรับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร และ ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วันต่อเนื่อง สำหรับฝุ่นละอองรวม ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเข้มข้นของสารไอออนิกในฝุ่นละอองรวม มีค่าสูงกว่า เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารไอออนิกในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ศึกษาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ชั้นล่าง พบสารไอออนิกที่มีศักยภาพเป็นแกนกลั่นตัว คือ คลอไรด์ โซเดียม แคลเซียม ไนเตรท และแอมโมเนียม ในฝุ่นละอองรวม มีปริมาณสูง และได้มารวมอยู่ในฝุ่นจนมีขนาดเหมาะสม ดังนั้น คลอไรด์ โซเดียม แคลเซียม ไนเตรท และแอมโมเนียม ที่ตรวจพบที่ชั้นล่าง จะมีศักยภาพเป็นแกนกลั่นตัวสูง ส่วนพื้นที่ศึกษา กรุงเทพมหานคร และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ชั้นกลาง พบว่า คลอไรด์ โซเดียม แคลเซียม ไนเตรท และแอมโมเนียม ในฝุ่นละอองรวม มีศักยภาพเป็นแกนกลั่นตัวสูง เนื่องจากมีปริมาณและขนาดที่เหมาะสม และยังพบสารไอออนิกในฝุ่นละอองรวมมีศักยภาพเป็นแกนกลั่นตัวสูงกว่า สารไอออนิกในฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร
Other Abstract: To study the variation of seven ionic compositions of PM₁₀ and TSP which are Cl⁻, NO₃⁻, SO4²⁻, Na⁺, NH₄⁺, K⁺, and Ca²⁺ within atmospheric profile of urban area at Hatyai, Bangkok and Chiangmai. The PM10 samples were collected continuously for three days at three heights, i.e. below, middle and upper levels. PM₁₀ and TSP were examined every 3 and 6 hours, respectively. The result showed that ionic species concentration of TSP was higher that PM10, especially in urban areas of Hatyai where the condensation nuclei (Cl⁻, Na⁺, Ca²⁺, NO₃⁻ and NH₄⁺) were found in high amounts and had reversed variation with height. Then, Cl⁻, Na⁺ and Ca²⁺ ions in the lower level should be the potential condensation nuclei . There are the differences in Bangkok and Chiangmai study sites: the ionic compounds at middle level are highest along with the quantity of Cl⁻, Na⁺, Ca²⁺ NO₃⁻ and NH4⁺, suggesting that this height level at Bangkok and Chiangmai is the potential condensation nuclei. As a result of having suitable size and proper quantity, the ion Cl⁻, Na⁺,Ca²⁺, NO₃⁻ and NH₄⁺ ion in TSP at the lower higher is the potential condensation nuclei
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19504
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.531
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.531
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiraporn_th.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.