Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1950
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.authorเบญจรัตน์ ชีวพูนผล, 2516--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T03:31:34Z-
dc.date.available2006-08-19T03:31:34Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745313114-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1950-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการพยากรณ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความกลัวต่อปฏิกิริยาตอบสนองจากบุคคลสำคัญ การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม กับภาพลักษณ์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัด โดยใช้กรอบแนวคิดของ Price (1990) และ Newell (2000) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดเต้านมออกที่อยู่ในระยะหลังผ่าตัดไม่เกิน 1 เดือน จำนวน 130 ราย สุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง จากโรงพยาบาลตติยภูมิ 8 แห่ง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามความกลัวต่อปฏิกิริยาตอบสนองจากบุคคลสำคัญ แบบสอบถามการเผชิญความเครียด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาพลักษณ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91, .72, .88 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW version 10 โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Eta และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความกลัวต่อปฏิกิริยาตอบสนองจากบุคคลสำคัญ การเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์และการเผชิญความเครียดด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดในระดับสูง ปานกลาง และต่ำตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .561, .464 และ .145 ตามลำดับ) 2. ความกลัวต่อปฏิกิริยาตอบสนองจากบุคคลสำคัญและการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดได้ร้อยละ 36 (R[square] = .36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z[subscript ภาพลักษณ์] = .439Z[subscript ความกลัวต่อปฏิกิริยาตอบสนองจากบุคคลสำคัญ] + .253Z[subscript การเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์]en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were study the relationships and predictors between personal factors, fear of reactions of significant persons, coping strategies, social support, and body image of post-mastectomy patients. Price's (1990) and Newell's (2000) framework guided this study. The sample consisted of 130 post-mastectomy breast cancer patients selected by purposive sampling from the surgical wards of eight tertiary care hospitals. The instruments were a Demographic questionnaire, Fear of Reactions of Significant Persons Scale (FRSPS), Jalowiec Coping Scale (Jalowiec, 1988), Social Support Questionnaire (SSQ) and Body Image Scale (BIS). All instruments were tested for content validity and reliability. Cronbach's alpha coefficients for the scales were: FRSPS (.91), Jalowiec (.72), SSQ (.88), and BIS (.89). The data were analyzed using SPSS for Windows version 10 for mean, standard deviation, Eta's correlation, Pearson's product moment correlation, and stepwise regression. Major findings were as follows:1. Fear of reactions of significant persons, palliative coping, emotional coping were ralated significantly to body image of post mastectomy patients at high (r = .561), medium (r = .464) and low lewels (r = .145), respectively (p = .05). 2. Fear of reactions of significant persons and emotion focused coping could predict the body image of post mastectomy patients at p = .05. The predictive power was 36 percent of the variance (R[square] = .36). The study equation was as follow: Z[subscript body image] = 0439Z[subscript fear of reactions of significant persons] + .253Z[subscript emotion focused coping].en
dc.format.extent1314597 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเต้านม--มะเร็ง--ศัลยกรรมen
dc.subjectภาพลักษณ์ร่างกายen
dc.subjectความกลัวen
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)en
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความกลัวต่อปฏิกิริยาตอบสนองจากบุคคลสำคัญ การเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และภาพลักษณ์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดen
dc.title.alternativeRelationships between personal factors, fear of reactions of significant persons, coping strategies, social support, and body image of post mastectomy patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bancharat.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.