Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19606
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.advisorโสรีช์ โพธิแก้ว-
dc.contributor.authorประวิต เอราวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-05-15T03:12:15Z-
dc.date.available2012-05-15T03:12:15Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746364499-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19606-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้การวิจัยแบบสนทนากลุ่มในการศึกษาสภาพการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจและความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในตัวครู และเพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขในการเสริมสร้างพลังอำนาจครู โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือ (1) คัดเลือกกรณีศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีการพัฒนาบุคลากรอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ ระดับภาคและระดับจังหวัด (2) ศึกษาบริบทของโรงเรียนและชุมชนโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูและผู้นำชุมชน การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารของโรงเรียน (3) จัดสนทนากลุ่มครูจำนวน 4 กลุ่มรวม 23 คน (4) ยืนยันผลสรุปที่ได้กับผู้ให้ข้อมูลในองค์กรและนอกองค์กรโดยการสัมภาษณ์ จัดกลุ่มสนทนาติดตาม ตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการ และด้านผู้วิจัย (5) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบอุปนัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป The Ethnograph มาช่วยในการวิเคราะห์ และ (6) นำเสนอข้อมูลในรูปการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนมี 3 ประการ คือ (1) ลักษณะการบริหารงานของผู้บริหารเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่ช่วยให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและระบบการดำเนินการต่างๆ ภายในโรงเรียน การเสริมสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการบริหาร การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนางานร่วมกันของครู รวมไปถึงการปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (2) ระบบการสนับสนุนจากภายนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงการทำงานของโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการและการแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาเพื่อยกระดับของสถานภาพของโรงเรียน โดยในกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาในโรงเรียนคำนึงถึงปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครู คือ อิสรภาพในการทำงาน การมอบหมายอำนาจหน้าที่ การมีส่วนร่วม บรรยากาศในการทำงาน การสร้างทีมงาน ข้อมูลย้อนกลับ การยกย่องยอมรับ ขวัญกำลังใจและรางวัล โอกาสในการเรียนรู้ การให้เกียรติและไว้วางใจ และการยอมรับความผิดพลาดร่วมกัน ซึ่งสิ่งจูงใจในการเสริมสร้างพลังอำนาจครูก็คือ รางวัลและการชมเชย การฝึกอบรมและการพัฒนาสถานภาพของครู ความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการทำงาน และเงินเดือน สวัสดิการ ซึ่งการให้สิ่งจูงใจเหล่านี้แก่ครูต้องยึดหลักสำคัญคือ ต้องให้เกียรติ ให้ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นอย่างเปิดเผย และให้การมีส่วนร่วมทุกระดับen
dc.description.abstractalternativeTwo purposes of this research were to employ the focus group research for studying the state of the empowerment and dynamic change in the teachers, and to study factors and conditions for teacher empowerment. The research procedure consisted of six steps. There were (1) selecting a large primary school in north eastern of Thailand as the case study, (2) studying the context of the case, (3) conducting 4 focus group sessions with 28 teachers, (4) confirming of the result (5) analyzing data through “The Ethnograph” and (6) writing the analysis result. The major findings were as follows: There were three organizational conditions that initiated change in the school. Firstly, the principal administration style led to the change of the organization’s structure and system, the key elements were encouraging participatory administration and teacher learning, and developing the working climate and environment. Secondly, the external support system led to the emphasize process and problem solving in job improvement, support resource and training, create the cooperation with community. Finally, the relationship between school and community led to the enhance organization’s status. The enhancing factors for teacher empowerment were as follows: autonomy, authority, participatory, climate, team building, feedback, recognition, reward and morale, opportunities for learning, respect and trust, and permission to fail. The motivators for teacher empowerment were as follows: reward and recognition, training and development, teacher status, professional performance, physical environment, salary and waelfare. The importance principles for teacher motivation were mutual respectation, giving information, and participation.en
dc.format.extent808701 bytes-
dc.format.extent792156 bytes-
dc.format.extent1160454 bytes-
dc.format.extent910655 bytes-
dc.format.extent914815 bytes-
dc.format.extent1258634 bytes-
dc.format.extent808458 bytes-
dc.format.extent867229 bytes-
dc.format.extent976083 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการมอบอำนาจหน้าที่ให้พนักงานen
dc.subjectครูen
dc.titleการเสริมสร้างพลังอำนาจครู : การวิจัยแบบสนทนากลุ่มen
dc.title.alternativeTeacher empowerment : a focus group researchen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuwatana.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorPsoree@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prawit_Er_front.pdf789.75 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch1.pdf773.59 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch3.pdf889.31 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch4.pdf893.37 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch5.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch6.pdf789.51 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_ch7.pdf846.9 kBAdobe PDFView/Open
Prawit_Er_back.pdf953.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.