Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1963
Title: ผลของการจัดการรูปแบบการให้ข้อมูลแก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต่อความวิตกกังวลของครอบครัวและความพึงพอใจในการจัดการรูปแบบ ของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต
Other Titles: Effects of a comprehensive informational management model for family members of stroke patients on family members' anxiety and nurses' satisfaction with the management model in intensive care unit
Authors: สุวพีร์ จันทรเจษฎา, 2515-
Advisors: สุวิณี วิวิฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความวิตกกังวล
โรงพยาบาล--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
พยาบาล
หลอดเลือดสมอง--โรค
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาการจัดการรูปแบบการให้ข้อมูลแก่สมาชิก ในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมองในหอผู้ป่วยวิกฤต ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลที่มีต่อความวิตกกังวล ของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในหอผู้ป่วยวิกฤต และศึกษาผลของการจัดการรูปแบบการให้ข้อมูล ที่มีต่อความพึงพอใจในการจัดการรูปแบบของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกครอบครัวผู้ป่วยที่มารับบริการในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลพญาไท 1 จำนวน 30 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลพญาไท 1 จำนวน 15 คน กลุ่มสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยวิธีจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลมี 5 ชุดคือ โครงการการจัดรูปแบบการให้ข้อมูล แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการปฏิบัติให้ข้อมูล คู่มือการปฏิบัติงาน และวีดีทัศน์เรื่อง คำแนะนำสำหรับญาติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการให้ข้อมูลมี 3 ชุดคือ แบบกำกับการทดลอง แบบประเมินความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความถึงพอใจในการจัดรูปแบบของพยาบาล แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .87, .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยอันดับที่ ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ทดลอบความแตกต่างด้วยสถิติ Wilcoxon Matched - Pairs Signed-Rank Test และ Mann-Whitney U-Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ได้รูปแบบการให้ข้อมูลแก่สมาชิกนาครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหอผู้ป่วยวิกฤต ประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงาน วีดีทัศน์เรื่อง "คำแนะนำสำหรับญาติผู้ป่วย" และแบบกำกับการปฏิบัติงาน 2. ความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หลังการใช้รูปแบบการให้ข้อมูล ต่ำกว่าก่อนการใช้รูปแบบการให้ข้อมูล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการใช้รูปแบบการให้ข้อมูล กับกลุ่มที่ได้รับการบริการปกติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดุบ .05 4. ความพึงพอใจในการจัดการรูปแบบของพยาบาล หลังการจัดการรูปแบบการให้ข้อมูล แก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนการจัดการรูปแบบการให้ข้อมูล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To create the comprehensive information management model, and to study the effects of a comprehensive information management model for family members of stroke patients on family members' anxiety and nurses' satisfaction with the management model in intensive care unit. The research subjects consisted of 30 family members and 15 professional nurses working in intensive care unit, Phya Thai 1 Hospital. The family members were randomly assigned to ether experimental group or control group by matched pair technique. Research instruments were training project of comprehensive information model, training program, guidelines for giving information, handbook of nursing practice, observation form of nursing practice, and video media. Research data were obtained by questionnaires of family members' anxiety and nurses' satisfaction. The instruments were tested for content validity by 7 experts. The Cronbach's alpha coefficient for questionnaires were .87, and .94 respectively. Statistical methods used in data analysis were median, quartile deviation, Wilcoxon matched-pairs signed-rank test and Mann-Whitney U-Test. The research findings were as follows 1. Comprehensive information management model for family members of stroke patients was created which concluded of : guideline for giving information, handbook of nursing practice, video media, and observation form. 2. The family members' anxiety in the experimental group was significantly lower than the control group at p =.01. 3. The family members' anxiety in both groups were not significantly different. 4. The overall nurses' satisfaction after the implementation of the comprehensive information management model for family members of stroke patients was significantly higher than before at p =.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1963
ISBN: 9745319406
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwapee.pdf6.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.