Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19669
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทิตา คงศักดิ์ | - |
dc.contributor.advisor | กิตติ ต.รุ่งเรือง | - |
dc.contributor.author | ลีล่า เลาหวิรภาพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-19T05:14:31Z | - |
dc.date.available | 2012-05-19T05:14:31Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19669 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การศึกษา ณ จุดเวลาเดียว นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำลายอวัยวะปริทันต์ในกลุ่มผู้สูงอายุชาวไทย โดยเปรียบเทียบความรุนแรงของการทำลายอวัยวะปริทันต์ และจำนวนตำแหน่งที่เป็นโรค ปริทันต์อักเสบ ในแต่ละบริเวณของช่องปากระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ เคยสูบบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ และเปรียบเทียบภายในกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะการสูบบุหรี่แบบเดียวกัน โดยนำข้อมูลจากโครงการวิจัยการหาปัจจัยเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เก็บรวบรวมในกลุ่มพนักงานผู้สูงอายุของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2545 มาทำการวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 891 คน ช่วงอายุ 52 ถึง 73 ปี ได้รับการประเมินว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบ คือ มีความลึกร่องลึกปริทันต์ > 4 มิลลิเมตร อย่างน้อย 4 ตำแหน่ง หรือมีการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ≥ 5 มิลลิเมตร อย่างน้อย 4 ตำแหน่งในช่องปาก แบ่งกลุ่มตัวอย่างตามสถานะการสูบบุหรี่ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สูบบุหรี่ 134 คน กลุ่มที่เคยสูบบุหรี่ 350 คน และกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ 407 คน โดยแต่ละกลุ่มมีคราบจุลินทรีย์ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติ Kruskal Wallis และเปรียบเทียบเชิงซ้อนโดยใช้สถิติ Conover-Inman วิเคราะห์ความแตกต่างภายในแต่ละกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติ Friedman ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการทำลายอวัยวะปริทันต์คล้ายคลึงกัน โดยกลุ่มที่สูบบุหรี่จะมีระดับความรุนแรงของการทำลายอวัยวะปริทันต์ และจำนวนตำแหน่งที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบในทุกบริเวณสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่เคยสูบและไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านเพดานของฟันหลังบน เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความลึกร่องลึกปริทันต์ ค่าเฉลี่ยร้อยละของตำแหน่งที่มีความลึกร่องลึกปริทันต์ ≥ 4 มิลลิเมตร และค่าเฉลี่ยร้อยละของตำแหน่งที่มีการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ≥ 5 มิลลิเมตร สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณอื่นในช่องปาก ส่วนค่าเฉลี่ยการสูญเสียการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ พบว่ามีความแตกต่างสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่บริเวณด้านลิ้นของฟันหน้าล่าง ซึ่งทางคลินิกมีลักษณะเหงือกร่น ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า กลุ่มที่สูบบุหรี่มีรูปแบบการทำลายอวัยวะปริทันต์คล้ายกับกลุ่มที่เคยสูบและไม่สูบบุหรี่ โดยมีความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านเพดานของฟันบน จึงมีความเป็นไปได้ว่านอกจากผลทั่วกายของการสูบบุหรี่ที่ส่งเสริมผลของคราบจุลินทรีย์แล้ว การสูบบุหรี่อาจจะมีผลเฉพาะที่ช่วยเสริมให้มีการทำลายของอวัยวะปริทันต์ที่บริเวณนี้รุนแรงกว่าบริเวณอื่นๆ ในช่องปาก | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this cross-sectional study was to determine the patterns of periodontal destruction in Thai adults. This study is part of a longitudinal study that has been conducted to identify causes of death among the elderly workers of Electricity Generating Authority of Thailand since 1985. Severity of periodontal destruction and extent of periodontal diseased sites were compared between current, former and never smokers as well as within the same smoking status group. Eight hundred ninety one subjects ranging in age from 52-73 years with at least 4 sites with probing depth > 4 mm or clinical attachment level ≥ 5 mm. Subjects were subset according to smoking status into 134 current smokers, 350 former smokers and 407 never smokers. All subjects had same level in oral hygiene cares indicated by plaque control record. The significant difference between groups was tested by Kruskral-Wallis test and post hoc multiple comparisons using the Conover-Inman test (p<0.05), within group was tested by Friedman test (p<0.05). This study revealed that each smoking status group has similar periodontal destruction pattern. Current smokers had significantly more severe periodontal destruction and more diseased sites than former and never smokers. Especially, palatal sites of upper posterior teeth exhibited the major differences between current and never smokers in mean probing depth, mean percent of sites with probing depth ≥ 4 mm and mean percent of sites with clinical attachment level ≥ 5 mm. Moreover, palatal sites of upper posterior teeth in current smokers showed the highest periodontal destruction and significantly higher than other sextants. The greatest mean clinical attachment level was found at lingual sites of lower anterior teeth which clinically present as recession. In conclusion, cigarette smoking caused harmful effect to periodontal destruction particularly at palatal sites of upper posterior teeth. This data suggested that there might be a local effect of cigarette smoking in addition to a systemic effect and plaque accumulation. | en |
dc.format.extent | 1592072 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2091 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรคปริทันต์อักเสบ | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ไทย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย | en |
dc.subject | การสูบบุหรี่ | en |
dc.title | ผลของการสูบบุหรี่ต่อรูปแบบการทำลายอวัยวะปริทันต์ในชาวไทยกลุ่มหนึ่ง | en |
dc.title.alternative | The effect of cigarette smoking on periodontal destruction patterns among Thai adults | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ปริทันตศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ktorrung1@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.2091 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Leela_la.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.