Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19712
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิรงรอง รามสูต-
dc.contributor.authorสุภาวดี สุขสมัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-20T01:37:51Z-
dc.date.available2012-05-20T01:37:51Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19712-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกศึกษาคือนิตยสารแนวสุขภาพของบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้แก่ นิตยสารชีวจิต นิตยสาร Health & Cuisine และนิตยสาร Shape โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอเรื่องโยคะ ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ การเปิดรับ นำไปใช้ และความพึงพอใจที่ผู้อ่านได้รับ และการสร้างกระแสบริโภคโยคะในฐานะสัญญะทางวัฒนธรรม ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอเรื่องโยคะในนิตยสารแนวสุขภาพในเครืออมรินทร์ คือ นโยบายการบริหารองค์กร จุดขายของนิตยสาร บุคลากรในกองบรรณาธิการ และกระแสนิยมโยคะในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อนิตยสารแต่ละฉบับแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า จากการแบ่งลักษณะการนำเสนอตามแนวคิดหลักที่ปรากฏออกเป็น 5 กลุ่ม ลักษณะการนำเสนอที่ปรากฏจำนวนครั้งมากที่สุดคือการนำเสนอข้อมูลทั่วไปและกระแสความนิยมโยคะในสังคม ส่วนรูปแบบการนำเสนอที่ปรากฏจำนวนครั้งมากที่สุด ได้แก่ บทความปกิณกะประเภทเกร็ดความรู้และบทความสัมภาษณ์ดาราและผู้มีชื่อเสียงในสังคมชั้นสูง ในส่วนของการเปิดรับ นำไปใช้ และความพึงพอใจที่ได้รับของผู้อ่าน พบว่า ผู้อ่านที่มีความคาดหวังแตกต่างกัน ถึงแม้จะเปิดรับสื่อประเภทเดียวกัน แต่วิธีการนำไปใช้และความพึงพอใจที่ได้รับจะแตกต่างกัน ผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโยคะและใช้โยคะเพื่อการคลายเครียด หลังจากอ่านนิตยสารแนวสุขภาพแล้วเกิดความพึงพอใจ แต่สำหรับผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับด้านความสวยงาม ภายหลังจากอ่านนิตยสารแล้วไม่ได้รับความพึงพอใจ สำหรับการสร้างกระแสบริโภคโยคะในฐานะสัญญะทางวัฒนธรรมพบว่า นิตยสารที่เลือกศึกษาใส่รหัสว่าโยคะเป็นการออกกำลังกายของชนชั้นสูง และสร้างความหมายโดยนัยว่าโยคะเป็นการออกกำลังกายสำหรับคนรุ่นใหม่ สร้างอัตลักษณ์คนรุ่นใหม่ไม่ตกกระแส การสร้างคุณค่าให้โยคะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิต และโยคะทำให้สวยและรูปร่างดี ซึ่งวิธีการดังกล่าวทำให้ผู้รับสารเลือกบริโภคโยคะด้วยคุณค่าทางสัญญะมากกว่าการบริโภคด้วยคุณค่าที่แท้จริงen
dc.description.abstractalternativeThis research uses quantitative and qualitative methods. Three health magazines, namely Cheewajit, Health & Cuisine and Shape, published and distributed by Amarin Printing and Publishing Public Co., Ltd., were selected as case studies. The main purpose of the study is to analyze factors, that affect the way “Yoga” is presented in the magazines, its pattern and style of presentation, reader’s perception, usage and satisfaction. The research finds that factors that influence the way yoga is presented in the studied health magazines in Amarin Group are as follows, corporate’s policy, selling points, editor’s team and current yoga’s trend in society. However, the mentioned factors influence the three magazines at varying levels. The research also finds that the most frequently used presentation of yoga is in the form of general information and its social trend. For pattern and style of the presentation, anecdotes, star and elite interviews are presented the most. In regard to perception, usage and satisfactions, the research finds that readers have different expectations, even for the same type of magazine. Meanwhile, the usage and satisfactions are different. The readers who have cognitive needs and escape needs are satisfied by yoga from the magazines. On the contrary, the readers who have affective needs are unsatisfied by yoga from the magazines. For setting a trend of yoga as a cultural sign, the studied magazines encode yoga as a form of exercise among elite group and young generation. Yoga gives an identity for the young to keep up with the trend, paying attention to yoga as something essential for life. Yoga is also depicted as enhancing beauty and body. Consequently, readers choose yoga because of its sign value rather than its use value.en
dc.format.extent5389805 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1294-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโยคะ (กายบริหาร) -- วารสารen
dc.subjectสุขภาพ -- วารสารen
dc.titleนิตยสารแนวสุขภาพของบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กับการนำเสนอเรื่อง "โยคะ"en
dc.title.alternativeThe presentation of Yoga in health magazine of Amarin Printing and Publishing Public Co.,Ltd.en
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPirongrong.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1294-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supawadee_s.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.