Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorวิไลวรรณ เส็งดอนไพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-20T08:25:11Z-
dc.date.available2012-05-20T08:25:11Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19784-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนขนาดเล็กเขตพื้นที่ภาคกลางในปีการศึกษา 2549 จำนวน 526 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปรคือ ปัจจัยด้านองค์การและนโยบายการปฏิบัติงานของโรงเรียน ปัจจัยด้านผู้สอน ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน และการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีตัวแปรสังเกตได้ 20 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้รับอิทธิพลทางตรงในทิศทางที่เป็นบวกจากปัจจัยด้านองค์การและนโยบายการปฏิบัติงานของโรงเรียน (ORGPOL) สูงสุด และรองลงมาคือ ปัจจัยด้านผู้สอน (TEA) ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน (GROUP) และปัจจัยด้านหลักสูตร (CUR) และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยด้านองค์การและนโยบายการปฏิบัติงานของโรงเรียน (ORGPOL) ปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน (GROUP) และปัจจัยด้านผู้สอน (TEA) โดยส่งผ่านตัวแปรปัจจัยด้านหลักสูตร (CUR) 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 29.23 ที่องศาอิสระ 61 และมีค่าความน่าจะเป็น 1.00 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนมีค่าเท่ากับ .99 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ 81%en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to develop of the causal models of organizing learner-centered instruction and 2) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research samples consisted of 526 elementary teachers. Variables consisted of five latent variables: organization and policy factor, teacher’s factor, curriculum factor, group working factor and organizing learner-centered instruction; twenty observed variables. The research data were collected by questionnaires and analysed by employing descriptive statistics, Pearson correlation and LISREL analysis. The research findings were as follows: 1. The organizing learner-centered instruction received the maximum direct effects from organization and policy factor, the next was teacher factor, group working factor and curriculum factor and it received indirect effect from organization and policy factor, group working factor and teacher factor via curriculum factor. 2. The causal model was fitted with the empirical data indicated by the Chi-square = 29.23, df=61 and GFI=.99. The model accounted for 81% of variance in the organizing learner-centered instruction.en
dc.format.extent1705549 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1289-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางen
dc.subjectลิสเรลโมเดลen
dc.titleการพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญen
dc.title.alternativeThe development of a causal model of organizing learner-centered instructionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangkamol.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1289-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wilaiwan_s.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.