Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19795
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ อินทร์ถมยา-
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา-
dc.contributor.authorณัฐิกา เพ็งลี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-20T09:03:09Z-
dc.date.available2012-05-20T09:03:09Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19795-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractพัฒนารูปแบบสนามเด็กเล่นโดยใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกภายหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองที่เล่นในสนามเด็กเล่นภูมิปัญญาไทย กับกลุ่มควบคุมที่เล่นในสนามเด็กเล่นที่ติดตั้งเครื่องเล่นอเนกประสงค์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 21 คน การทดลองใช้เวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 5 วันๆ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไก 7 รายการ ได้แก่ (1) นั่งงอตัวไปข้างหน้า วัดความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลัง (2) ยืนทรงตัวขาเดียวบนท่อนไม้ วัดการทรงตัว (3) ลุก-นั่ง 30 วินาที วัดความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง (4) วิ่งเร็ว 20 เมตร วัดความเร็ว (5) วิ่งเก็บของ 3 จุด วัดความคล่องแคล่วว่องไว (6) ยืนกระโดดไกล วัดพลังกล้ามเนื้อขา และ (7) ขว้างลูกบอลไกล วัดพลังกล้ามเนื้อแขน ซึ่งเก็บข้อมูล 3 ช่วง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย เช่น ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาณ คือ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบสนามเด็กเล่นโดยใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัย มี 5 องค์ประกอบ (1) กิจกรรมการเคลื่อนไหวสำคัญ (2) การจัดการพื้นที่ (3) ภูมิปัญญาไทย (4) ความปลอดภัย และ (5) วิธีการเล่น ในการสนามเด็กเล่นภูมิปัญญาไทยตาม 5 องค์ประกอบนี้มีกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง 7 รายการ คือ (1) ลานเตรียมความพร้อม (2) คานทรงตัว (3) หลบหลีก (4) แท่นกระโดด (5) ปีนป่าย (6) ราวโหน และ (7) ตากระโดด โดยบริบทของสนามเด็กเล่นต้องให้ความสำคัญกับ (1) สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ วัสดุธรรมชาติและความประหยัดและพอเพียง (2) ความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชน และ (3) กิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะในการดูแลตนเองและส่วนรวมร่วมกันของเด็กปฐมวัย 2. ผลการทดลองพบว่าสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลอง จำนวน 2 รายการจาก 7 รายการ คือ (1) พลังกล้ามเนื้อขา และ (2) พลังกล้ามเนื้อแขน มีพัฒนาการดีกว่ากลุ่มควบคุมen
dc.description.abstractalternativeTo develop a playground model applying Thai Wisdom to enhance motor fitness of preschool children, and to compare the effects of a playground with the application of Thai Wisdom between a playground with the regular multi-play structures on preschool children's motor fitness components. The samplings were two groups of Kindergarten 3 that consisted of 21 children per group. The experiment was conducted five day a week and thirty minutes a day for eight week time period. The research instrument investigating motor fitness of preschool children consisted of seven items: (1) Sit and reach – to measure Flexibility; (2) Balance on one leg on the wooden block – to measure Balancing; (3) Sit-ups – to measure Abdominal Strength and Endurance; (4) 20 meter dash – to measure Speed; (5) Three things shuttle run – to measure Agility; (6) Standing long jump – to measure Leg Power and (7) Throw a ball for a distance – to measure Arm Power. The data were collected 3 times – pre experimentation, after four weeks, and after eight weeks. The analysis of data used Descriptive statistics such as mean and standard deviation and inferential statistics such as Independent t-test and One-way Analysis of Variance with Repeated Measures. Research finding were as follow: 1. The playground model applying Thai Wisdom to enhance motor fitness of preschool children composed of 5 factors. There were (1) Movement activity, (2) Designation of area, (3) Thai Wisdom, (4) Safety and (5) The appropriate use of the playground. In designing a playground according to this model, one ought to leave 7 items playground equipment/activity area. There were (1) Warm up area, (2) Balance beam, (3) Agility area, (4) Springing tabletop, (5) Slope and climbing net, (6) Monkey bar and (7) Hop Scotch. The playground context ought to emphasize in connectivity with nature and sufficiently managed, collaborate among stakeholder and support students’ public minds. 2. The finding revealed that the two out of seven motor fitness of preschool children which were Leg Power and Arm Power of experimental group were better developed than the control group.en
dc.format.extent10633196 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.209-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสนามเด็กเล่นen
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียนen
dc.subjectพัฒนาการของเด็กen
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน-
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต-
dc.subjectPlaygrounds-
dc.subjectPreschool children-
dc.subjectChild development-
dc.subjectLocal wisdom-
dc.titleการพัฒนารูปแบบสนามเด็กเล่นโดยใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัยen
dc.title.alternativeDevelopment of a playground model applying Thai wisdom to enhance motor fitness of preschool childrenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSomboon.I@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSiripaarn.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.209-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattika_pe.pdf10.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.