Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorพัทรีญา แก้วแพง, 2523--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T06:53:19Z-
dc.date.available2006-08-19T06:53:19Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741768478-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1982-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive correlation research design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยได้แก่ อายุ เพศ ประวัติของอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยและครอบครัว ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ชนิดของโรคมะเร็ง ระยะของโรคมะเร็ง การรักษาที่ได้รับ ความเจ็บปวด พฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ และความเชื่อเกี่ยวกับการนอนหลับของผู้ป่วยมะเร็งกับอาการนอนไม่หลับ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งทุกประเภทที่มารับการตรวจที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชวิถี และศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ จำนวน 170 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินความซึมเศร้า แบบประเมินความเจ็บปวด แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านสุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินความเชื่อเกี่ยวกับการนอนหลับ และแบบประเมินอาการนอนไม่หลับ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินความซึมเศร้า แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87, .88, .79, .86 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิตอีต้า และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับระยะเริ่มของการมีอาการนอนไม่หลับ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.77 2. ประวัติของอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยและครอบครัว ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความเจ็บปวด และความเชื่อเกี่ยวกับการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวก กับอาการนอนไม่หลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.173, .348, .576, .252 และ .246 ตามลำดับ) 3. ความซึมเศร้า ความเชื่อเกี่ยวกับการนอนหลับ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การฉายแสงร่วมกับเคมีบำบัด การใส่แร่ โรคมะเร็งระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โรคมะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 3 ของโรคมะเร็ง และโรคมะเร็งตับ สามารถร่วมกันพยากรณ์อาการนอนไม่หลับของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งได้ร้อยละ 49.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationships among age, sex, patient's and familial history of insomnia, anxiety, depression, type of cancer, stage of cancer, treatment of cancer, pain, sleep hygiene behaviors, and beliefs about sleep and insomnia of cancer patients at Rajvithi Hospital and Mahavachiralongkorn Institute. Study sample consisted of 170 cancer patients selected by systemic random sampling. The instrument for this study was a seven part questionnaire that included a demographic data form, an anxiety questionnaire, a depression questionnaire, a pain scale, a sleep hygiene behavior questionnaire, a belief about sleep questionnaire and an Insomnia Severity Index. Content validity for an anxiety questionnaire, a depression questionnaire, a sleep hygiene behavior questionnaire, a belief about sleep questionnaire and an Insomnia Severity Index were reviewed by a panel of experts. Internal consistency questionnaire and an Insomnia Severity Index were reviewed by a panel of experts. Internal consistency reliability determined by Cronbach's alpha were .87, .88, .79, .86 and .86, respectively. Peason product moment correlation, Eta correlation, and Stepwise multiple regression were used for statistical analysis. Results were as follows: 1.The mean of insomnia score of cancer patients was at the "subthreshold insomnia" (mean = 11.31, S.D = 5.77) 2. Significant positive correlations were detected between patient's and familial history of insomnia (r=.172), anxiety (r=.348), depression (r=.573), pain (r=.252), and beliefs about sleep (r=.246) and insomnia of cancer patients (p=.05) 3. Insomnia was predicted by nine variables; Depression, beliefs about sleep, lymph node cancer, radiation and chemical therapy, Sodium lodide I 131 Therapeutic, female genital cancer, esophageal cancer, stage 3 of cancer, and liver cancer, predicting 49.10% of total variance.en
dc.format.extent1076399 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมะเร็ง--ผู้ป่วยen
dc.subjectการนอนไม่หลับen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่en
dc.title.alternativeRelationships between selected factors and insomnia in adult cancer patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattarieya.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.