Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1983
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนกพร จิตปัญญา | - |
dc.contributor.advisor | สุรชัย เคารพธรรม | - |
dc.contributor.author | พรนิภา เอื้อเบญจพล, 2508- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-19T07:00:35Z | - |
dc.date.available | 2006-08-19T07:00:35Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745313491 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1983 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกต่อการฟื้นสภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ไม่ได้รู้สึกตัว โดยการเปรียบเทียบการฟื้นสภาพระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ไม่รู้สึกตัวที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยกึ่งหนัก ศัลยกรรมประสาท หอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 40 ราย จับคู่ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ไม่รู้สึกตัวให้มีความคล้ายคลึงในเรื่องอายุ ตำแหน่งการบาดเจ็บสมอง การได้รับการผ่าตัด/การไม่ได้รับการผ่าตัด และค่าคะแนน Glasgow Coma Scale แล้วจับสลากเพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จนได้กลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึก ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แนวคิด ของ Sosnowski & Ustik (1994) ประกอบด้วยการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกด้านการสัมผัส การรับรส การรับกลิ่น การได้ยิน และการมองเห็น และประเมินการฟื้นสภาพด้วยแบบประเมิน SMART (The Sensory Modality Assessment and Rehabilitation Technique) ของ Gill-Thwaites และ Munday (1999) ซึ่งได้ผ่านการตรวจ ความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ .92 และ .94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ไม่รู้สึกตัว กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นประสาทความรู้สึกมีคะแนนการฟื้นสภาพดีกกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การนำโปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลจะช่วยส่งเสริมการฟื้นสภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ไม่รู้สึกตัว ทำให้พยาบาลสามารถแสดงบทบาทอิสระของวิชาชีพ เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและเพิ่มคุณภาพการพยาบาล | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this quasi-experimental study was to test the effects of using the sensory stimulation program on recovery in unconscious patients with traumatic brain injury. The sample consisted of 40 unconscious patients with traumatic brain injury admitted to the Neurosurgery intensive care unit, an intermediate care unit, and emergency care unit at King Chulalongkorn Memorial Hospital. A matched-pair technique was used to assign patients to experimental and control groups of 20 patients each. The two groups were similar in age, location of lesion, type of operation and Glasgow Coma Scale score. The experimental group received a sensory stimulation program, while the control group received routine nursing care. The sensory stimulation program was developed based on Sosnowski & Ustik (1994)'s theory. The sensory stimulation program employed in the experimental setting included the following sensory modalities: tactile, gustatory, olfactory, auditory, and visual. Recovery was assessed by using the SensoryModality Assessment and Rehabilitation Technique (SMART). The instrument was test for content validity by 5 specialists were percentage, means, standard deviation and t-test. Major findings were as follows: The recovery of the unconscious patients with traumatic brain injury receiving the sensory stimulation program was significantly higher (p<.05) than those who received routine nursing care. The sensory stimulation program is beneficial to enhance positive coma recovery. This, in turn, could enhance good relationships with patients; and families as well as improve the quality of life in patients and the quality of nursing care. | en |
dc.format.extent | 1618176 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศีรษะบาดเจ็บ--ผู้ป่วย | en |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | en |
dc.subject | การกระตุ้นประสาทสัมผัส | en |
dc.title | ผลของการใช้โปรแกรมการกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกต่อการฟื้นสภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่ไม่รู้สึก | en |
dc.title.alternative | Effects of using the sensory stimulation program on recovery in unconscious patients with traumatic brain injury | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PornnipaUr.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.