Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19917
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุรี ปรมัตถ์วินัย-
dc.contributor.advisorมาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์-
dc.contributor.authorพรไพลิน ชลปราณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-05-28T07:46:57Z-
dc.date.available2012-05-28T07:46:57Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19917-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการศึกษาการใช้เยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสจากสุนัขต่างตัวชนิดสดและชนิดเก็บถนอมทดแทนผนังกระเพาะปัสสาวะบางส่วนในสุนัขทดลองเพศผู้ 8 ตัวและเพศเมีย 7 ตัว โดยแบ่งสุนัขเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ประกอบด้วยสุนัข 3 ตัวเป็นเพศผู้ 2 ตัวและเพศเมีย 1 ตัว เป็นกลุ่มที่ได้รับการตัดผนังกระเพาะปัสสาวะบริเวณปลายกระพุ้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตรออกแล้วเย็บกลับคืนที่เดิมก่อนคลุมด้วยเยื่อแขวนกระเพาะอาหาร กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยสุนัข 6 ตัวเป็นสุนัขเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 3 ตัว เป็นกลุ่มที่ได้รับการทดแทนผนังกระเพาะปัสสาวะที่ตัดออกด้วยเยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสชนิดสดที่มีขนาดเดียวกัน และกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยสุนัข 6 ตัวเป็นสุนัขเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 3 ตัว เป็นกลุ่มที่ได้รับการทดแทนด้วยเยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสที่แช่ใน 0.1% peracetic acid เป็นเวลา 10 นาทีแล้วเก็บถนอมในน้ำเกลือที่อุณหภูมิ 4-8 o ซ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสที่เตรียมได้จากสุนัขตัวให้แต่ละตัวจะถูกแบ่งเป็นชนิดสดและชนิดเก็บถนอมเพื่อนำไปใช้กับสุนัขกลุ่ม 2 และ 3 ที่เป็นเพศเดียวกัน ประเมินผลจากลักษณะทางมหัพภาคและจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะ ในบริเวณที่ทดแทนที่ 2, 6 และ 10 สัปดาห์ ในสุนัขกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 1, 2 และ 2 ตัวตามลำดับ พบเยื่อบุ ชั้นใต้เยื่อบุ ชั้นกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของผนังกระเพาะปัสสาวะเจริญเต็มบริเวณที่ทดแทนด้วยเยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสทั้งชนิดสดและชนิดเก็บถนอมภายใน 6 สัปดาห์ การวิเคราะห์อาการแทรกซ้อนจากการตรวจเนื้อเยื่อ ค่าทางโลหิตวิทยา ค่าเคมีในเลือด และการตรวจน้ำปัสสาวะหลังศัลยกรรมที่ 1, 2, 6 และ 10 สัปดาห์ พบกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังในสุนัขทุกตัวที่ได้รับเนื้อเยื่อทดแทนและการสร้างกระดูกในผนังกระเพาะปัสสาวะที่เจริญในส่วนทดแทนของสุนัขเพศผู้ 2 ตัวในกลุ่มที่ 2 ที่ได้รับเนื้อเยื่อชนิดสดและชนิดเก็บถนอมจากตัวให้เดียวกัน และสุนัขเพศผู้ 1 ตัวในกลุ่มที่ 3 โดยไม่พบการสร้างกระดูกดังกล่าวในสุนัขเพศเมีย จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าเยื่อ ทูนิกาวาจัยนาลิสสามารถทำหน้าที่เป็นโครงให้มีการเจริญของผนังกระเพาะปัสสาวะได้ อย่างไรก็ตามการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะปัสสาวะ และการสร้างกระดูกในผนังกระเพาะปัสสาวะ ในส่วนทดแทนเป็นอาการแทรกซ้อนที่สำคัญen
dc.description.abstractalternativeThe use of fresh and preserved tunica vaginalis allografts for partial substitution of urinary bladder wall were studied in 15 experimental mongrel dogs. The dogs were divided into group 1, 2 and 3 that had 3 (2 males and 1 female), 6 (3 males and 3 females) and 6 (3 males and 3 females) dogs, respectively. In group 1 (control group), the urinary bladder wall of each dog was excised approximately 3 centimeters in diameter at the apex and sutured back into its place before being covered with the omentum. The excised bladder wall of group 2 was substituted with the same size and shape of fresh tunica vaginalis while the excised wall of group 3 was substituted with the tunica vaginalis preserved in normal saline at 4-8 oC for 2 weeks after 10 minutes submerged in 0.1% peracetic acid. Tunica vaginalis harvested from each donor was divided into fresh and preserved grafts for being transplanted in dogs of the same gender in group 2 and 3. The substituted sites were assessed macroscopically and histopathologically at 2, 6 and 10 weeks after the operations in 1, 2 and 2 dogs of group 1, 2 and 3, respectively. The examination revealed transitional epithelial, submucosa, muscular and serosal layers regenerating within the substituted area by 6 weeks. Complications were evaluated from the macroscopic and histopathological examinations, hematology, blood chemistry, and urinalysis profiles at 1, 2, 6 and 10 weeks after surgery. Chronic cystitis was found in all dogs receiving allografts. Bone metaplasia in the substituted bladder wall was observed in 2 males of group 2 receiving grafts from the same donor and 1 male of group 3. There was no bone metaplasia seen in any female dog. In conclusion, tunica vaginalis could serve as a template for urinary bladder wall regeneration. However, chronic cystitis and bone metaplasia in the substituted wall were the important complications.en
dc.format.extent2009740 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1316-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระเพาะปัสสาวะ -- ศัลยกรรมen
dc.subjectสุนัขen
dc.titleการใช้เยื่อทูนิกาวาจัยนาลิสเอกพันธุ์ชนิดสดและชนิดเก็บถนอมเพื่อทดแทนกระเพาะปัสสาวะบางส่วนในสุนัขen
dc.title.alternativeThe use of fresh and preserved tunica vaginalis allografts for partial substitution of urinary bladder in dogsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorMarissak.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1316-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpailin_Ch.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.