Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชมพูนุช โสภาจารีย์-
dc.contributor.authorมายูร เรืองสุข, 2513--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T07:53:42Z-
dc.date.available2006-08-19T07:53:42Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741762488-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1993-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย ความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด การสนับสนุนทางสังคม การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดและภาวะเครียดทางอารมณ์และร่างกาย กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด และศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพของการเปลี่ยนผ่านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่คลอดก่อนกำหนด ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย แบบสอบถามความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด และแบบสอบถามคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงระหว่าง .70 ถึง .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อยู่ในระดับสูง ([Mean] = 71.10, S.D. = 9.87) 2. การสนับสนุนทางสังคม การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ทักษะในการดูแลทารกก่อนกำหนด ความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .624, .590, .505, .217, p < .05 ตามลำดับ) ภาระในการดูแลบุตรเชิงงจิตวิสัย ภาวะเครียดทางอารมณ์และร่างกาย มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.483 และ -.239, p < .05ตามลำดับ) 3. กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด และภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 57.8 (R[superscript 2] = .578, F = 25.79, P < .05) โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพ = .339 (การสนับสนุนทางสังคม) + .264 (การวางแผนเกี่ยวกับการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด) - .258 (ภาระในการดูแลบุตรเชิงจิตวิสัย) + .119 (ทักษะในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด) - .056 (ความรู้ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด) - .056 (ภาวะเครียดทางอารมณ์และร่างกาย)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes ot this research were to examine quality of health transition, to examine the relationships between subjective burden, knowledge of premature infant care, skill of premature infant care, social support, premature infant care planning and emotional and physical stress, and to determine the predictors of quality of health transition in premature delivery mothers. The subjects of this study were 120 premature delivery mothers who were selected through simple random sampling method. Data were collected by using demographic questionnaire, Subjective burden, Knowledge of premature infant care, Skill of premature infant care, Social support, Emotional and physical stress and Quality of health transition questionnaire. The instruments were content validated and tested for reliability. The Cronbach's alpha were between .70 and .89. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation and multiple regression analysis. The major results of thisstudy were as follow : 1. The mean score of quality of health transition in premature delivery mothers was high. ([Mean] = 71.10, S.D. = 9.87) 2. Social support, premature infant care planning, skill of premature infant care, knowledge of premature infant care related to quality of health transition in premature delivery mothers were positively significantly (r = .624, .590, .505 and .271, p < .05 at respectively) However, subjective burden and emotional and physical stress were negatively significantly associated with quality of health transition in premature delivery mothers. (r = -.483 and -.239, p < .05 at respectively). 3. Social support, premature infant care planning and subjective burden were found to contribute significantly to the prediction of quality of health transition in premature delivery mothers. Together, these predictors accounted for 57.8 percent of the variance (R[superscript 2] = .578, F = 25.79, P < .05). The equation derived from regression analysis showed as follows: Z[subscript Quality of health transition] = .339 (social support) + .264 (Premature infang care planning) - .238 (subjective burden) + .119 (skill of premature infant care) + .056 (knowledge of premature infant care) - .056 (emotional and physical stress).en
dc.format.extent5143068 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทารกคลอดก่อนกำหนดen
dc.subjectมารดาและทารกen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพของมารดาที่คลอดก่อนกำหนดen
dc.title.alternativeSelected factors related to quality of health transition in premature delivery mothersen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChompunut.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayoon.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.