Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2001
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
Other Titles: Factors related to exercise behavior in coronary artery disease patients
Authors: ปานจิต นามพลกรัง, 2517-
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Oraphun.L@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย
การออกกำลังกาย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา ภาวะเจ็บป่วยร่วม และความสามารถในการทำกิจกรรมพฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มารับบริการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างต่อเนื่องในแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกโรคหัวใจ ของโรงพยาบาลตำรวจและสถาบัน โรคทรวงอก จำนวน 180 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบวัดความสามารถในการทำกิจกรรม แบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ แบบวัดการรับรู้อุปสรรค แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบวัดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ แบบวัดอิทธิพลระหว่างบุคคล แบบวัดอิทธิพลด้านสถานการณ์ และแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80, .92, .94, .91, .93, .92, .89, .82 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าอีต้า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับดี ([Mean] = 3.01, S.D. = 0.73) 2. พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ปฏิบัติ อิทธิพลระหว่างบุคคล การรับรู้ประโยชน์ อิทธิพลด้านสถานการณ์ ความสามารถในการทำกิจกรรม และอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(r = .791, .687, .493, .453, .404, .342,.250 และ .146 ตามลำดับ) 3. การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(r = -.395) 4. พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต การรับรู้ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลระหว่างบุคคลสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 69.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ พฤติกรรมการออกกำลังกาย = .604(พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต) +.224(การรรับรู้ความสามารถของตนเอง)+ .143(อิทธิพลระหว่างบุคคล)
Other Abstract: The purposes of this study were to examine the relationships between personal factors, functional capacity, prior related exercise behavior, perceived benefits, perceived barrier, perceived self-efficacy, activity-related affect, interpersonal influences, situational influences, and exercise behavior of coronary artery disease patients. The subjects were 180 coronary artery disease patients at Police Hospital and Chest Disease Institute, selected by simple random sampling. The instruments were consisting of ten parts: the Demographic Data Questionnaire, the Functional Capacity Questionnaire, the Prior Related Exercise Behavior Questionnaire, the Perceived Benefits Questionnaire, the Perceived Barrier Questionnaire, the Perceived Self-Efficacy Questionnaire, the Activity-Related Affect Questionnaire, the Interpersonal Influences Questionnaire, the Situational Influences Questionnaire, and the Exercise Behavior Questionnaire. These instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .80, .92, .94, .91, .93, .92, .89, .82, and .91, respectively. Eta, Pearson product-moment correlation, and Stepwise multiple regression were used for statistical analysis. The results were as follows: 1. Mean score of exercise behavior of coronary artery disease patients was at the good level. ([Mean] = 3.01, S.D. = 0.73) 2. There were positively statistical correlations between prior related exercise behavior, perceived self-efficacy, activity-related affect, interpersonal influences, perceived benefits, situational influences, functional capacity, age, and exercise behavior of coronary artery disease patients at the level of .05. (r = .791, .687, .493, .453, .404, .342, .250, and .146, respectively) 3. There was negatively statistical correlation between perceived barrier and exercise behavior of coronary artery disease patients at the level of .05. (r = -.395, respectively) 4. Prior related exercise behavior, perceived self-efficacy, and interpersonal influences were the variables that significantly predicted exercise behavior of coronary artery disease patients at the level of .05. The predictive power was 69.90 % of the variance. The equation derived from the standardized score was: Exercise behavior = .604 (prior related exercise behavior) + .224 (perceived self-efficacy) + .143 (interpersonal influences).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2001
ISBN: 9741759843
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panjitt.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.