Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20060
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.authorตรีษา ศาสตระรุจิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-06T08:32:38Z-
dc.date.available2012-06-06T08:32:38Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20060-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการศึกษาทางคลินิกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จทางคลินิกและภาพรังสีที่ระยะเวลา 6 เดือนของวิธีปิดทับเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ และวิธีรักษาเนื้อเยื่อในที่มีชีวิตด้วยยาปฏิชีวนะผสม 3 ชนิดในฟันกรามน้ำนมล่าง โดยคัดเลือกฟันกรามน้ำนมล่างที่มีรอยผุลึกใกล้เนื้อเยื่อในที่ไม่มีอาการ หรืออาการแสดงถึงการอักเสบของเนื้อเยื่อในชนิดผันกลับไม่ได้ จำนวน 68 ซี่ ของผู้ป่วยเด็กอายุ 3-8 ปี อายุเฉลี่ย 5.69 ± 1.20 ปี แบ่งฟันออกเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มควบคุมคือ ฟันที่รักษาด้วยวิธีปิดทับเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยแคลเซียมไฮดรอไซด์ (34 ซี่) กลุ่มทดลองคือ ฟันที่รักษาด้วยวิธีรักษาเนื้อเยื่อในที่มีชีวิตด้วยยาปฏิชีวนะผสม 3 ชนิด (34 ซี่) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการบูรณะด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิมในครั้งเดียวกับการรักษาเนื้อเยื่อใน โดยการศึกษานี้มีทันตแพทย์คนเดียวเป็นผู้ให้การรักษา และทันตแพทย์อีกคนประเมินความสำเร็จทางคลินิกและภาพรังสีของทั้งสองวิธีที่ระยะ 6 เดือน ซึ่งมีระดับความแม่นยำในการตรวจวัด (percent agreement) ทางคลินิกเท่ากับ 100% และทางภาพรังสีเท่ากับ 93.75% และทดสอบความแตกต่างของความสำเร็จทั้งทางคลินิกและภาพรังสีของทั้งสองวิธี โดยใช้การทดสอบด้วยไคสแควร์ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการรักษาที่ระยะ 6 เดือน พบว่าความสำเร็จทางคลินิกของทั้งสองวิธีอยู่ที่ 100% และความสำเร็จทางภาพรังสีของวิธีปิดทับเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์อยู่ที่ 82.35% ในขณะที่วิธีรักษาเนื้อเยื่อในที่มีชีวิตด้วยยาปฏิชีวนะผสม 3 ชนิดอยู่ที่ 76.47% ความล้มเหลวทางภาพรังสีที่พบมากที่สุดคือ พบเงาดำบริเวณรอยแยกรากฟัน โดยพบ 14.70% ในกลุ่มวิธีปิดทับเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ และ 17.65% ในกลุ่มวิธีรักษาเนื้อเยื่อในที่มีชีวิตด้วยยาปฏิชีวนะผสม 3 ชนิด โดยความสำเร็จทางคลินิกและภาพรังสีที่ระยะเวลา 6 เดือน ของวิธีปิดทับเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (82.35%) ไม่มีความแตกต่างกับวิธีรักษาเนื้อเยื่อในที่มีชีวิตด้วยยาปฏิชีวนะผสม 3 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (76.47%) (p = 0.76)en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this clinical study was to compare clinical and radiographic success of calcium hydroxide indirect pulp treatment versus three mix antibiotics vital pulp therapy in lower primary molars over a 6- month period. Sixty eight deep carious lower primary molars without preoperative signs and symptoms of irreversible pulpitis in children, aged 3 to 8 with the average age of 5.69 ± 1.20 years old, were studied. The teeth were randomly divided into two groups, indirect pulp treatment with calcium hydroxide was used as a control group (34 teeth) and three mix antibiotics as an experimental group (34 teeth). Both groups were restored with stainless steel crowns at the same visit with the pulp treatment. All of treatments were done by one dentist. The 6-month clinical and radiographic evaluations were done by another dentist with the percent agreement of 100% clinically and 93.75% radiographically. The Chi-square test with 95% confidence level was used to analyze the differences between the percent success in both groups. At 6 months, the clinical success of both treatments were 100%. But the radiographic success of calcium hydroxide indirect pulp treatment was 82.35% while three mix antibiotics vital pulp therapy yielded 76.47% success. Interradicular lesions were the most frequent findings of treatment failure, as shown in 14.70% of calcium hydroxide and 17.65% of three mix antibiotics treated teeth. There was no statistically significant difference between 6-month clinical and radiographic success of calcium hydroxide indirect pulp treatment (82.35%) and three mix antibiotic vital pulp therapy (76.47%) (p=0.76)en
dc.format.extent1448618 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/ 10.14457/CU.the.2008.708-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectฟันผุในเด็กen
dc.subjectเนื้อเยื่อฟันen
dc.subjectฟันกรามen
dc.subjectแคลเซียมไฮดรอกไซด์en
dc.subjectปฏิชีวนะen
dc.titleความสำเร็จของการปิดทับเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เปรียบเทียบกับการรักษาเนื้อเยื่อในที่มีชีวิตด้วยยาปฏิชีวนะผสม 3 ชนิดในฟันกรามน้ำนมen
dc.title.alternativeSuccess of calcium hydroxide indirect pulp treatment versus three mix antibiotics vital pulp therapy in primary molarsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChutima.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.708-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Treesa_sa.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.