Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20086
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Development of a cause and effect model of ninth grade students' self-esteem
Authors: หนึ่งฤทัย มะลาไวย์
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.B@Chula.ac.th
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุและผล ของการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 555 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) ตัวแปรแฝงที่ใช้ในการวิจัยคือ การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน, ตัวแปร้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น, ตัวแปรด้านภาพลักษณ์, ตัวแปรด้านบุคลิกภาพ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะซึมเศร้า ตัวแปรแฝงทั้ง 6 ตัว วัดจากตัวแปรสังเกตได้รวม 19 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ โมเดลที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าสถิติ χ² = 69.57, df = 70, p-value = 0.492, RMSEA = 0.00 และ GFI = 0.99 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อตัวแปรการเห็นคุณค่าในตนเองคือ ตัวแปรปัจจัยด้านภาพลักษณ์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะซึมเศร้าได้รับอิทธิพลทางตรงจากการเห็นคุณ ค่าในตนเองและอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรปัจจัยด้านภาพลักษณ์โดยส่งผ่านการเห็น คุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเห็นคุณค่าในตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 63, 21 และ78 ตามลำดับ โมเดลที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยค่าสถิติ χ² = 78.74, df = 71, p-value = 0.247, RMSEA = 0.014และ GFI = 0.99 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อตัวแปรการเห็นคุณค่าในตน เองคือตัวแปรปัจจัยด้านบุคลิกภาพและภาวะซึมเศร้า ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการเห็นคุณค่าในตนเอง และอิทธิพลทางอ้อมจากภาวะซึมเศร้าโดยส่งผ่านการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ โดยที่ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเห็นคุณค่าในตนเองและผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 94 และ12 ตามลำดับ
Other Abstract: The main purposes of this research were to develop and examine the goodness of fit of two cause and effect models of student’ self-esteem with empirical data. The sample was 555 students from schools under Bangkok educational service area offices. There were consisted of 6 latent variables; student self-esteem, relationship with ether, body image, personality, achievement and depression. All latent variables were measured by 19 observed variables. The research data were collected by questionnaires and analyzed descriptive statistics, Pearson correlation through SPSS program and structural equation model through LISREL program. The research findings were as follows; The causal model 1 was valid and fitted the empirical data with χ² = 69.57, df = 70, p-value = 0.492, RMSEA = 0.00 and GFI = 0.99. Self-esteem had been affected directly by body image factor and self-esteem directly affected achievement and depression. Body image factor had an indirect effect on achievement and depression through self-esteem. The variables in the model accounted for 63%, 21% and 78% of variance in self-esteem, achievement and depression, respectively. The causal model 2 was valid and fitted the empirical data with χ² = 78.74, df = 71, p-value = 0.247, RMSEA = 0.014and GFI = 0.99. Self-esteem had been affected directly by personality factor, depression and self-esteem directly affected achievement and depression. Depression had an indirect effect on achievement through self-esteem. The variables in model accounted for 94% and 12% of variance in self-esteem and achievement, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20086
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuengruetai_ma.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.