Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ พงศทัต-
dc.contributor.authorอาจารีย์ เมฆศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-08T14:33:26Z-
dc.date.available2012-06-08T14:33:26Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20171-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาการใช้สื่อโฆษณาและการรับรู้สื่อโฆษณาประเภทคอนโดมิเนียมระดับบนและระดับปานกลางของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กรณีศึกษา บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท และ บมจ. เอเชี่ยน พร๊อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนต์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการใช้สื่อโฆษณาคอนโดมิเนียมสูงสุดในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ผลจากการศึกษาพบว่า 1.ความแตกต่างด้านระดับราคาของคอนโดมิเนียมระดับบน และระดับปานกลาง ไม่ได้แสดงถึงความแตกต่างของการใช้สื่อโฆษณาอาจมีเพียงบางสื่อในการเลือกใช้เฉพาะกลุ่มระดับราคาที่จะเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุดในเวลาอันรวดเร็ว 2.ความแตกต่างด้านอายุ รายได้ ของผู้ซื้ออยู่อาศัยคอนโดมิเนียมระดับบน และระดับปานกลาง ไม่ได้แสดงถึงความแตกต่างด้านการรับรู้สื่อโฆษณา ดังนี้ การใช้สื่อโฆษณาคอนโดมิเนียมระดับบนและระดับปานกลางของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เป็นการใช้สื่อแบบผสมผสานกัน เพื่อต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรับข่าวสารได้หลายช่องทาง เพราะกลุ่มเป้าหมาย ในระดับเดียวกัน มีความหลากหลายลักษณะในรูปแบบการดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่ม การที่จะได้รับข่าวสารนั้นผู้ประกอบการต้องสร้างการตอกย้ำ เพื่อให้มีการรับรู้ได้หลายครั้ง และหลายช่องทาง ในการเข้าถึงลูกค้าที่คาดหวังที่จะมาซื้อคอนโดมิเนียม ซึ่งการใช้สื่อโฆษณาคอนโดมิเนียมระดับบน และระดับปานกลางขึ้นอยู่กับขนาดโครงการ,มูลค่าโครงการ และด้วยกลยุทธ์ของผู้ประกอบการแต่ละช่วงเวลา ด้านการบริหารภายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มี ผลต่ออำนาจการต่อรอง,วิธีการ และกระบวนการนำไปใช้ของสื่อโฆษณา สำหรับการใช้สื่อโฆษณาคอนโดมิเนียมในระดับบนและระดับปานกลางไม่มีความแตกต่างกันมากนัก จะแตกต่างกันที่รูปแบบการนำเสนอของงานสร้างสรรค์(Creative)ในสื่อโฆษณาของแต่ละกลุ่มมากกว่าการใช้สื่อโฆษณา และการนำฐานข้อมูลของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายกำหนดลักษณะเช่นจากฐานรายได้ เพศ อาชีพ เป็นต้นมาใช้ร่วมกับสื่อ และสื่อใหม่ (New Media) ที่ผู้ประกอบการมองว่าจะเข้ามามีบทบาทในอนาคตสำหรับคอนโดมิเนียมของบริษัทอสังหาริมทรัพย์คือ Online โดยเฉพาะ Social Network ที่จะสร้างกระแสได้ดี ซึ่งเป็นสื่อที่มีประสิทธิผลน้อยในปัจจุบัน สำหรับด้านการรับรู้เนื่องจากสื่อ Online เป็นสื่อที่จะเข้าไปศึกษาหาข้อมูลหลังจากการรับรู้ครั้งแรกจากสื่ออื่นมาก่อน เพราะเป็นสื่อที่ให้ข้อมูลได้ดีทั้งภาพและข้อมูลโครงการได้ครบถ้วน รวมถึงกระแสของผู้มีประสบการณ์คอนโดมิเนียมในสังคม Online เป็นสื่อที่ช่วยประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสื่อที่มีผลด้านการรับรู้ยังคงเป็นสื่อ Above The line คือสื่อป้ายโฆษณามากที่สุด ที่เป็นป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ในช่วงการรับรู้ครั้งแรกเหมือนกันทั้งผู้ซื้ออยู่อาศัยคอนโดมิเนียมทั้งระดับบน และระดับปานกลาง จากการศึกษาพบว่า สื่อโฆษณาที่โครงการ บริเวณด้านหน้าโครงการมีผลอยากมากต่อการรับรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายจากการผ่านหน้าโครงการ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ศึกษาถึงสัดส่วนการใช้งบประมาณของสื่อโฆษณาในแต่ละสื่อและการวัดผลจากการใช้สื่อโฆษณา เป็นการศึกษาแนวทางหรือกลยุทธ์ของบริษัทหรือแบรนด์ ดังนั้นจาการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยขอเสนอในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาสัดส่วนการลงทุนและผลของการใช้สื่อโฆษณา, ศึกษาการใช้สื่อป้ายโฆษณาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์,ศึกษาการบริหารฐานข้อมูลเพื่อการนำฐานข้อมูลมาใช้ร่วมกับสื่อโฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ,ศึกษาสื่อ Online ที่นำมาใช้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the use and perceptions of advertising media for high-end and mid-range condominiums managed by Pruksa Real Estate Public Company Limited and Asian Property Development Public Company Limited. These two companies employ advertising media most often to publicize their condominiums. It was found that the different price ranges of high-end condominiums and mid-range condominiums did not affect the use of advertising media. However, different media could reach certain groups of customers more directly and more quickly. The other finding was that the age and income of the residents of high-end and mid-range condominiums did not affect their perception of the media. The two companies employed mixed media so that their customers could receive the messages through various channels since their target groups varied in terms of lifestyle. The companies wanted to reinforce their messages and be sure that their customers received them through every possible channel. The choice of media depended on the target group, the size of the project and the company’s management, which affected their bargaining power. The use of media was not different for between the two types of condominium but differences lay in their creative presentations, which incorporated target customers’ background information such as income, gender and occupation. The companies felt that the new media which would play a more important role in advertising their condominiums in the future was online networks, especially social networks, because customers could find out more about the projects they were interested in online, which provided both images and complete information. However, above-the-line type of media such as billboards impressed the customers most. The customers’ first learned about the condominiums through billboard advertising for both types. The advertisement in front of the project site affected the perception of the customers who traveled past the site most. This study did not include the budget for each type of media or do an assessment to determine the effectiveness of the companies’ strategies; as a result, future research should focus on the proportion of the investment and the results obtained from the use of media, the use of billboards in the real estate sector, database management to incorporate advertising media more effectively, and how to maximize the use of online networks in the real estate sector.en
dc.format.extent4607841 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้สื่อโฆษณาคอนโดมิเนียมระดับบน และระดับปานกลาง: กรณีศึกษา บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท และบมจ.เอเชียน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนต์en
dc.title.alternativeThe study of advertising media selection for high-end and mid-range condominiums: a case study of Pruksa real estate public company limited and Asian property development public company limiteden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorManop.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
acharee_me.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.