Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20229
Title: | อุบัติการณ์ รูปแบบ และปัจจัยพยากรณ์การลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบในช่วงเวลา 5 ปี ในกลุ่มตัวอย่างคนไทยสูงอายุกลุ่มหนึ่ง |
Other Titles: | Incidence, pattern and risk predictor of periodontal disease progression over 5 years in an older Thai adult group |
Authors: | ดิศวรรณ อื้อเชี่ยวชาญกิจ |
Advisors: | นวลฉวี หงษ์ประสงค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noulchavee H.@chula.ac.th |
Subjects: | โรคปริทันต์อักเสบ ผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาอุบัติการณ์ รูปแบบ และปัจจัยพยากรณ์การลุกลามของโรค ปริทันต์อักเสบในช่วงเวลา 5 ปี ของคนไทยสูงอายุกลุ่มหนึ่ง จำนวน 1,532 คน ที่ได้รับการตรวจทางการแพทย์ และการตรวจสภาวะปริทันต์ ซึ่งประกอบด้วยการตรวจดัชนีคราบจุลินทรีย์เก็บข้อมูลจาก 2 ตำแหน่งของฟัน การตรวจระดับเหงือกร่น และร่องลึกปริทันต์เก็บข้อมูลจาก 6 ตำแหน่งของฟันใน 2 จตุภาคของช่องปากที่สุ่มตรวจในปี พ.ศ. 2545 และของฟันทุกซี่ในช่องปากที่ตรวจในปี พ.ศ. 2550 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการลุกลามของโรคด้วยการเปรียบเทียบค่าระดับยึดของอวัยวะปริทันต์ทางคลินิกในแต่ละตำแหน่งที่ทำการตรวจระหว่าง 2 ช่วงเวลาที่ทำการศึกษา โดยกำหนดให้การเกิดการลุกลามของโรคคือ กลุ่มตัวอย่าง หรือตำแหน่งที่มีการเพิ่มขึ้นของระดับยึดของอวัยวะปริทันต์ทางคลินิกอย่างน้อย 3 มิลลิเมตร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,015 คน (ร้อยละ 66.8) เกิดอุบัติการณ์การลุกลามของโรคอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง ขณะที่ค่าเฉลี่ยขอบเขตการลุกลามของโรคมีค่าเท่ากับร้อยละ 6.5 รูปแบบการสูญเสียฟันและการเกิดการลุกลามของโรคมีความสมมาตรกันในขากรรไกรทั้งบนและล่าง ตำแหน่งในซี่ฟันที่มีอุบัติการณ์การลุกลามของโรคมีความแตกต่างกันตามตำแหน่งฟัน องค์ประกอบของการลุกลามของโรคส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มระดับเหงือกร่นมากกว่าการเพิ่มระดับร่องลึกปริทันต์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโลจิสติก รีเกรสชัน แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเพศชาย ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี การสูบบุหรี่ และการเป็นโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังทั่วไปแบบรุนแรง ณ จุดเริ่มต้น มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติการณ์และขอบเขตการลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยโรคเบาหวานพบว่ามีอิทธิพลต่อขอบเขตการลุกลามของโรคในระดับมากเท่านั้น (p<0.05) ทั้งนี้ปัจจัยอายุ รายได้ครัวเรือน ระดับดัชนีมวลกาย กลุ่มอาการเมตาบอลิก ประวัติการรักษาทางปริทันต์ในช่วง 5 ปี และดัชนีคราบจุลินทรีย์ พบว่าไม่มีอิทธิพลต่อการลุกลามของโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างสูงอายุจำนวนมากมีการลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบ แต่บริเวณด้านฟันที่มีการลุกลามของโรคมีน้อย อุบัติการณ์การลุกลามของโรคมีความสมมาตรในระดับฟัน แต่มีความแตกต่างในระดับตำแหน่งในซี่ฟันตามตำแหน่งฟันที่ต่างกัน ในส่วนปัจจัยพยากรณ์พบว่า เพศ การศึกษา การสูบบุหรี่ และสภาวะปริทันต์ ณ จุดเริ่มต้น มีความสัมพันธ์ในการเป็นปัจจัยพยากรณ์การลุกลามของโรคปริทันต์อักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this study is to describe the incidence, pattern and risk predictors of periodontal disease progression over 5 years in an older Thai adult group. The study group consisted of 1,532 subjects who received complete medical and periodontal examination. Plaque score was examined at two sites per tooth. Gingival recession (RE) and probing depth (PD) were examined at six sites per tooth using a diagonal half mouth design in year 2002 and full mouth design in year 2007. Periodontal disease progression was analyzed by comparing clinical attachment level (CAL) at each examined site between two points of time. The subject or site that experienced at least 3 mm. increasing of CAL was defined as having disease progression. The results indicated that 1,015 (66.8%) individuals had disease progression at least one site, whereas mean extent of disease progression was 6.5%. Pattern of tooth loss and disease progression seemed to be bilateral symmetry in both upper and lower arches. The sites having disease progression incidence were different among teeth position. The major component of disease progression was rather the increasing in RE than the increasing in PD. Logistic regression analysis showed that male, education lower than bachelor’s degree, smoking and being generalized severe chronic periodontitis at baseline were significantly related to the incidence and the high extent of disease progression (p<0.05). Diabetes only had effect on high extent of disease progression (p<0.05). Other investigated factors such as age, income, body mass index, metabolic syndrome, periodontal treatment history during 5 years and plaque index had no significant effects on disease progression (p>0.05). In conclusion, a large proportion of older adults experienced periodontal disease progression; however, only few sites have disease progression. The incidence of disease progression is quite symmetry in tooth level but different in site level among teeth position. Gender, education, smoking and initial periodontal status were significant risk predictors of periodontal disease progression |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปริทันตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20229 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.604 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.604 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ditsawan_ue.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.