Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2033
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุชาดา รัชชุกูล-
dc.contributor.authorสุภาวดี เครือโชติกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.date.accessioned2006-08-21T07:11:35Z-
dc.date.available2006-08-21T07:11:35Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9748306755-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2033-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดทางสูติกรรมในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการสร้างมาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด และขั้นตอนการสำรวจความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการนำมาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดไปใช้ การสร้างมาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด ดำเนินการโดยวิธีสนทนากลุ่ม (Focus group) จากผู้ชำนาญการจำนวน 24 คน และตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Contents validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ได้มาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดทางสูติกรรม ดังนี้ 1. มาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดระยะตั้งครรภ์ ประกอบด้วย 10 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 ปลอดภัยจากการตกเลือดและป้องกันการเกิดภาวะช็อค มาตรฐานที่ 2 สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ครบกำหนด มาตรฐานที่ 3 สามารถเผชิญภาวะเครียดได้เหมาะสม มาตรฐานที่ 4 ไม่เกิดภาวะติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ มาตรฐานที่ 5 ไม่เกิดภาวะซีด มาตรฐานที่ 6 สามารถดูแลตนเองได้เมื่อกลับไปอยู่บ้าน มาตรฐานที่ 7 ยอมรับการสูญเสียทารกในครรภ์ มาตรฐานที่ 8 ไม่มีอาการคัดตึงเต้านมภายหลังแท้ง มาตรฐานที่ 9 สามารถดูแลตนเองได้ภายหลังแท้งเมื่อกลับไปอยู่บ้าน มาตรฐานที่ 10 การพยาบาล ก่อน-ขณะ-หลัง ได้รับการขูดมดลูก 2. มาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดระยะหลังคลอด ประกอบด้วย 10 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 ปลอดภัยจากการตกเลือดและป้องกันการเกิดภาวะช็อค มาตรฐานที่ 2 มีความสมดุลของน้ำและอิเลคโตรลัยท์ในร่างกาย มาตรฐานที่ 3 มดลูกอยู่ในสภาพหดรัดตัวดี มาตรฐานที่ 4 บาดแผลที่ฝีเย็บและที่ช่องคลอดติดสนิทและสะอาด มาตรฐานที่ 5 ลดความวิตกกังวลจากการตกเลือด มาตรฐานที่ 6 ปลอดภัยจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกและและภายในช่องคลอด มาตรฐานที่ 7 ปลอดภัยจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและปัสสาวะคั่ง มาตรฐานที่ 8 บรรเทาอาการปวดมดลูกและปวดแผลที่ฝีเย็บ มาตรฐานที่ 9 สามารถดูแลตนเองได้เมื่อกลับไปอยู่บ้าน มาตรฐานที่ 10 มีสัมพันธภาพที่ดีกับสามีและบุตรและแสดงบทบาทมารดาได้เหมาะสม การสำรวจความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการนำมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดทางสูติกรรมไปใช้ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน ได้ผลดังนี้ 1. มาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดระยะตั้งครรภ์ จำนวน 10 มาตรฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 107 รายการ และมาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาล จำนวน 55 รายการ พบว่ากิจกรรมการพยาบาลที่พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงระดับมาก จำนวน 99 รายการ ระดับปานกลาง จำนวน 7 รายการ และระดับน้อย จำนวน 1 รายการ ส่วนมาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาล พบว่า พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยในระดับมากทุกรายการ 2. มาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะตกเลือดระยะหลังคลอด จำนวน 10 มาตรฐาน ประกอบด้วย มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 134 รายการ และมาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาล จำนวน 83 รายการ พบว่ากิจกรรมการพยาบาลที่พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงระดับมาก จำนวน 130 รายการ ระดับปานกลาง จำนวน 2 รายการ และระดับน้อย จำนวน 2 รายการ ส่วนมาตรฐานผลลัพธ์การพยาบาล พบว่า พยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยในระดับมากทุกรายการen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive research was to develop nursing practice standards for obstetric hemorrhage in Bangkok Metropolitan Administrative Hospitals. The qualitative focus group interviews of 24 obstetric nurse specialists were conducted to establish the draft of nursing practice standards. The feasibility and applicability of the nursing practice standards were validated by 21 experts. Two main nursing practice standards were revealed as follow. 1. Nursing practice standards for women with antepartum hemorrhage consisted of 10 standards. Standard 1: Freeing from hemorrhage and hypovolumic shock. Standard 2: Continuing the pregnancy to term. Standard 3: Coping with stress appropriately. Standard 4: Freeing from reproductive tract infection. Standard 5: Absent from anemia. Standard 6: bility for self-care at home. Standard 7: Accepting the fetal loss. Standard 8: Absent from breast engorgement following a miscarriage. Standard 9: Ability for self-care following a miscarriage at home. Standard 10: Nursing practice for pre-during-post uterine curettage. 2. Nursing practice standards for women with postpartum hemorrhage consisted of 10 standards: Standard 1: Freeing from hemorrhage and hypovolumic shock. Standard 2: Maintaining water and electrolytes balance. Standard 3: Maintaining uterine contraction. Standard 4: Clean and well-approximated vaginal and perineum wound. Standard 5: Alleviationn of anxiety from postpartum hemorrhage. Standard 6: Freeing from the infection of uterine and perineal wound. Standard 7: Freeing from urinary tract infection and absent of urine retention. Standard 8: Alleviating postpartum uterine and perineal pain. Standard 9: Ability for self-care following childbirth at home. Standard 10: Maintaining a good relationship with partnet and child and good perfromance in maternal role. The developed nursing practice standards were sent to 80 registered nurses in Bangkok Metropolitan Hospitals to evaluate for the feasibility. The responses indicated as follow: 1. Ten standards of nursing practice for women with antepartum hemorrhage, which included 107 process standards and 55 coucome standards, were evaluated. It was agreed thet 99 of 107 process standards were regularly practice in actual situations. Seven and one process standards were practiced moderately and less commonly, respectively. However, all of the outcome standards were commonly practiced. 2. Ten standards of nursing practice for women with postpartum hemorrhage including 134 process standards and 83 outcome standards were assessed. One hundred and thirty process standards were practices frequently while two and one process standards were practices in moderated and less occasions, respectively. All of the outcome standards were generally practiced.en
dc.description.sponsorshipเงินอุดหนุนจากสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร-
dc.format.extent628353 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสตรีมีครรภ์en
dc.subjectภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์en
dc.subjectการพยาบาลen
dc.subjectภาวะเลือดออกen
dc.titleการสร้างมาตรฐานการพยาบาลสตรีที่มีภาวะเลือดออกทางสูติกรรมในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัยen
dc.title.alternativeDeveloping of nursing standard for women with obstetrical hemorrhage in the Bangkok Metropolitan Administration's Hospitalsen
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorSuchada.Ra@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SuchadaRat.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.