Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2038
Title: ผลการลดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะของยาโลซาร์แทนและยาอีนาลาพริลในผู้ป่วยโรคไตที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลราชวิถี
Other Titles: Antiproteinuric effect of losartan and enalapril in non-diabetic nephropathy patients at Rapavithi Hospital
Authors: สัญญลักษณ์ ตอประเสริฐ, 2514-
Advisors: สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
บุญธรรม จิระจันทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ไต -- โรค -- การรักษา
โปรตีน
ยาอีนาลาพริล
ยาโลซาร์แทน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการลดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะของยาโลซาร์แทนและยาอีนาลาพริล ในผู้ป่วยโรคไตที่ไม่เป็นโรคเบาหวานจำนวน 18 รายที่มารับการรักษาในคลินิกโรคไต โรงพยาบาลราชวิถี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกมีรูปแบบการวิจัยเป็นแบบ crossover double-blind randomized controlled trial ผู้ป่วยถูกคัดเลือกแบบสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยผู้ป่วยกลุ่มที่1 ได้รับยาอีนาลาพริล 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ตามด้วยยาหลอก 4 สัปดาห์และข้ามกลุ่มการรักษาเป็นยาโลซาร์แทน 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ได้รับยาโลซาร์แทน 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ตามด้วยยาหลอก 4 สัปดาห์และข้ามกลุ่มการรักษาเป็นยาอีนาลาพริล 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง อีก 4 สัปดาห์ ก่อนและหลังให้ยาแต่ละชนิดให้ผู้ป่วยเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนและครีเอตินีน เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวัดระดับครีเอตินีน ในเลือด ระดับยูเรียไนโตรเจนในเลือด ระดับโพแทสเซียม แอลบูมิน เอนไซม์ตับ ปริมาตรเม็ดเลือดแดง และวัด ความดันเลือดผู้ป่วยในท่านั่ง รวมทั้งบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในระหว่างได้รับยาแต่ละชนิด ผลการศึกษาพบว่าหลังจากผู้ป่วยได้รับยาโลซาร์แทน 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง และยาอีนาลาพริล 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะลดลงจาก 4.10 +- 2.86 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง เป็น 2.70 +- 2.11 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 34.16 (p<0.001) และจาก 3.62 +- 2.86 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง เป็น 2.50 +- 2.58 กรัมต่อ 24ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 30.94 (p<0.001) ตามลำดับ ค่าความดันเลือดขณะที่หัวใจบีบตัว และความดันของหลอดเลือดแดงเฉลี่ยลดลงจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 140.00 +- 10.29 และ 104.07 +- 8.52 มิลลิเมตรปรอท เป็น 132.78 +- 12.74 และ 98.34 +- 9.02 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับ (p<0.05) หลังจาก ผู้ป่วยได้รับยาโลซาร์แทน ในขณะที่ลดลงไม่แตกต่างจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 136.67 +- 8.40 และ 103.70 +- 7.22 มิลลิเมตรปรอท เป็น 133.89 +- 14.61 และ 100.00 +- 9.63 มิลลิเมตรปรอทตามลำดับ (p>0.05) หลังจากผู้ป่วยได้รับยาอีนาลาพริล ส่วนความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวลดลงไม่แตกต่างจากค่าเริ่มต้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติหลังจากผู้ป่วยได้รับยาทั้ง 2 ชนิด ระดับโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 4.45 +- 0.53 เป็น 4.92 +- 0.93 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร (p<0.05) ค่าการขจัดครีเอตินีนลดลงจาก 29.23 +- 21.38 เป็น 25.5 +- 17.32 มิลลิลิตรต่อนาที (p<0.05) หลังจากผู้ป่วยได้รับยาอีนาลาพริล ในขณะที่ค่าการขจัดครีเอตินีน และระดับโพแทสเซียมไม่แตกต่างจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) หลังจากผู้ป่วยได้รับยาโลซาร์แทน นอกจากนี้พบว่า หลังจากผู้ป่วยได้รับยาอีนาลาพริลและยาโลซาร์แทน ค่าครีเอตินีนในเลือด ค่ายูเรีย ไนโตรเจนในเลือด แอลบูมิน เอนไซม์ตับและปริมาตรเม็ดเลือดแดงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับยาโลซาร์แทนและยาอีนาลาพริลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเที่ยบกับยาหลอก (p>0.05) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยในการศึกษานี้ได้แก่อาการปวดศรีษะ มึนงง ปวดหลัง โดยสรุป ยาโลซาร์แทน 50 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง สามารถลดปริมาณโปรตีนในปัสสาวะในผู้ป่วยโรคไตที่ไม่เป็นโรคเบาหวานได้ไม่แตกต่างจากยาอีนาลาพริล 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
Other Abstract: The objective of this study was to examine the antiproteinuric effect of angiotensin II receptor blockers, losartan, versus angiotensin converting enzyme inhibitors, enalapril, in non-diabetic nephropathy patients at nephrology clinic, Rajavithi hospital. The study design was double blind randomized crossover controlled trial. Eighteen patients were randomly assigned into 2 groups. Nine patients who were randomized to sequence 1 received 10 mg enalapril once daily for 4 weeks then switched to losartan 50 mg once daily for 4 weeks after washed out period. Nine patients in sequence 2 received losartan 50 mg once daily for 4 weeks then switched to enalapril 10 mg for 4 weeks. During four-week wash out period, patients received placebo and essential medicines. Renal parameters (urinary protein excretion and creatinine clearance measured by urine 24 hours collection), blood urea nitrogen, serum creatinine, potassium, albumin, liver enzyme, haematocrit, blood pressure and adverse effect were measured at baselineand at the end of each four week active treatment period. Urinary protein excretion of the patients who received losartan significantly decreased from 4.10 +- 2.86 gm/24 hr at baseline to 2.70 +- 2.11 gm/24 hr (p<0.001,34.16%) and decreased from 3.62 +- 2.86 gm/24 hr at baseline to 2.50 +- 2.58 gm/24 hr (p<0.001,30.94%) in patients who recieved enalapril. Systolic blood pressure and mean arterial blood pressure significantly decreased from 140.00 +- 10.29 and 104.07 +- 8.52 mmHg at baseline to 132.78+-12.74 and 98.34 +- 9.02 mmHg (p<0.05) in patients who received losartan but did not significantly decrease from 136.67 +- 8.40 and 103.70 +- 7.22 mmHg at baseline to 133.89 +-14.61 and 100.00 +- 9.63 mmHg (p>0.05) in patients who received enalapril respectively. Diastolic blood pressure did not significantly decrease in both groups. Potassium level significantly increased from 4.45+- 0.53 mEq/L at baseline to 4.92 +- 0.93 mEq/L (p<0.05) in patients who received enalapril but slightly increased in patients who received losartan. Creatinine clearance significantly decreased from 29.23 +- 21.38 ml/min at baseline to 25.50 +- 17.32 ml/min (p<0.05) in patients who received enalapril but non-significantly decreased in patients who received losartan. No difference was found between losartan and enalapril on other parameters including occurrence of adverse drug reactions. Common adverse drug reactions of both drugs in this study were headache, dizziness and back pain. In conclusion, the result from this study demonstrated that there was no significant difference between losartan 50 mg once daily and enalapril 10 mg once daily in reduction of urinary protein excretion in non-diabetic nephropathy patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2038
ISBN: 9741712359
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sanyaluk.pdf943.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.