Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20398
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐ-
dc.contributor.authorเสริมศิริ นิลดำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-19T01:43:49Z-
dc.date.available2012-06-19T01:43:49Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20398-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของหลักคุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตทางสังคมและอันดับความสมควรเป็นข่าวขององค์ประกอบดังกล่าว โดยศึกษาในวิกฤตการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณ ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อรวบรวมคุณลักษณะของข้อมูลและเรื่องราวที่สมควรเป็นข่าวในวิกฤตการณ์ที่เป็นกรณีศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีความเกี่ยวข้องหรือบทบาทกับวิกฤตการณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแต่ละกรณีศึกษาจะประกอบด้วยบุคคล 4 กลุ่มได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิกฤตการณ์ (2) ภาครัฐ (3) นักสื่อสารมวลชน และ (4) ประชาชนทั่วไป โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในวิกฤตการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวน 41 คน และในวิกฤตการณ์ไข้หวัดนกมีจำนวน 44 คน จากนั้นใช้วิธีการสำรวจ (Survey Research) ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักคุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยประชากรในการศึกษามีคุณลักษณะเดียวกันกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจในวิกฤตการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจำนวน 502 คนและวิกฤตการณ์ไข้หวัดนกจำนวน 508 คน รวม 1,010 คน หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของข้อมูลที่มีคุณค่าควรเป็นข่าวในวิกฤตการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 8 องค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ (2) ความสันติสุข (3) การตรวจสอบ (4) ผลกระทบ (5) ความรู้สึก (6) ปรากฏการณ์รายวัน (7) ภูมิหลังของวิกฤตการณ์ และ (8) ความขัดแย้ง ส่วนองค์ประกอบด้านคุณลักษณะการนำเสนอที่มีคุณค่าควรเป็นข่าวมีทั้งหมด 5 ด้านได้แก่ (1) ความรวดเร็วในการนำเสนอ มี 3 องค์ประกอบ (2) ระดับการให้รายละเอียดของข้อมูล มี 3 องค์ประกอบ (3) ระดับการมีหลักฐานอ้างอิง มี 1 องค์ประกอบ (4) ความเหมาะสมเป็นแหล่งข้อมูล มี 5 องค์ประกอบ และ (5) แหล่งที่มาของข้อมูลแต่ละประเภท มี 7 องค์ประกอบในวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก องค์ประกอบของข้อมูลที่มีคุณค่าควรเป็นข่าวมี 9 องค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ (1) องค์ความรู้เกี่ยวกับโรค (2) ความเสี่ยง (3) การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ (4) ปรากฏการณ์รายวัน (5) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (6) การเยียวยา (7) ผลกระทบ (8) ภูมิหลังของโรคระบาด (9) ความขัดแย้ง ส่วนองค์ประกอบด้านคุณลักษณะการนำเสนอที่มีคุณค่าควรเป็นข่าวมีทั้งหมด 5 ด้านได้แก่ (1) ความรวดเร็วในการนำเสนอ มี 2 องค์ประกอบ (2) ระดับการให้รายละเอียดของข้อมูล มี 2 องค์ประกอบ (3) ระดับการมีหลักฐานอ้างอิง มี 1 องค์ประกอบ (4) ความเหมาะสมเป็นแหล่งข้อมูล มี 4 องค์ประกอบ และ (5) แหล่งที่มาของข้อมูลแต่ละประเภท มี 6 องค์ประกอบen
dc.description.abstractalternativeThe research aims at studying what people think should be considered as news values or news elements during crises and the newsworthiness of each element using the reporting of the unrest in the south and the bird flu crises as cases. The research uses both qualitative and quantitative methods. First, the researcher interviewed various groups of people to compile what these groups viewed as the characteristics of the information and the stories that were worth reporting. The respondents include experts on crises, government personnel, the press and general public, 41 expressed their opinion on the coverage of the southern conflicts and 44 expressed their opinion on the coverage of on the bird flu crisis. Next, the researcher conducted a survey, asking 1,010 respondents from the above four groups to react with the news elements compiled from the depth-interview, 502 respondents on the southern conflicts and 508 respondents on the bird flue crisis.The data were analyzed using descriptive and inferential statistics including the exploratory factor analyses and One-way ANOVA. For the southern conflict case, the factor analysis yielded eight factors: (1) problem solving by the government (2) peace (3) inspection (4) impacts (5) feelings (6) daily events (7) background of the crisis and (8) conflicts. The analysis also yielded 3 factors related to timeliness, 3 factors related to exhaustiveness, 1 factor related to supportive evidence, 5 factors related to the appropriateness of the sources and seven factors related to the origin of the information. For the bird flu crisis, the 9 news elements that the respondents considered worth reporting are (1) knowledge of the disease (2) risk (3) problem solving by the government (4) daily events (5) local wisdom (6) remedy (7) impacts (8) the background of the disease and (9) conflicts. Regarding the information characteristics the analysis yielded two factors related to timeliness, 2 factor related exhaustiveness, 1 factor related to supporting evidence, four factors related to the appropriateness of the sources and six factors related to the origin of the sources.en
dc.format.extent12140456 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2026-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข่าวen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleคุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตทางสังคมen
dc.title.alternativeNews values during crisesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangkamol.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.2026-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sermsiri_ni.pdf11.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.