Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20429
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของแหล่งไนโตรเจนกับเวลาการย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก
Other Titles: Relation between nitrogen sources and compost maturation time
Authors: เปรมสุดา จิ๋วนอก
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.S@Chula.ac.th
Subjects: ไนโตรเจน
ปุ๋ยหมัก
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแหล่งไนโตรเจนที่แตกต่างกันกับการย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก โดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายสมบูรณ์และคุณภาพของปุ๋ยหมัก ในการทดลองใช้ใบจามจุรีและผักตบชวาเป็นวัตถุดิบหลักผสมกันในอัตราส่วน 2:1 โดยน้ำหนัก และนำไปผสมกับของเสียอินทรีย์ 3 ชนิดที่มีปริมาณไนโตรเจนแตกต่างกัน คือ เศษปลานิลสด มูลสุกร และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานไก่สดแช่แข็งเติมลงไปเพื่อเป็นแหล่งไนโตรเจนและปุ๋ยยูเรียเป็นชุดควบคุม กำหนดให้อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเริ่มต้นมีค่า 30:1 ซึ่งปุ๋ยหมักย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์เมื่ออัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20:1 จากผลการศึกษา พบว่า แหล่งไนโตรเจนที่แตกต่างกันมีผลต่อการย่อยสลายสมบูรณ์ของ ปุ๋ยหมักเมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมักทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยเปรียบเทียบตามระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์ของปุ๋ยหมักยูเรีย เศษปลานิลสด มูลสุกร และกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง มีค่า 49, 56, 70 และ 60 วัน ตามลำดับ โดยมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของปุ๋ยหมักเท่ากับ 13.28, 10.38, 14.55 และ 15.51 ตามลำดับ ซึ่งในวัตถุดิบหมักแต่ละชนิดมีปริมาณไนโตรเจนที่แตกต่างกัน เท่ากับ 46, 2.53, 2.81 และ 2.03% ตามลำดับ จะเห็นว่า ปริมาณไนโตรเจนในวัตถุดิบหมักที่เป็นของเสียอินทรีย์ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายเสร็จสมบูรณ์แล้วจะมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ปุ๋ยหมักกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง เศษปลานิลสด มูลสุกร และปุ๋ยยูเรีย มีค่าประมาณ 1.86, 1.83, 1.65 และ 1.65% ตามลำดับ ปริมาณฟอสฟอรัสเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ปุ๋ยหมักกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียโรงงานไก่สดแช่แข็ง มูลสุกร เศษปลานิลสด และปุ๋ยยูเรีย มีค่าประมาณ 0.16, 0.15, 0.13 และ 0.09% ตามลำดับ เช่นเดียวกับปริมาณโพแทสเซียมมีค่าประมาณ 0.16, 0.14, 0.13 และ 0.08% ตามลำดับ จากผลการศึกษา พบว่า ความแตกต่างของแหล่งไนโตรเจนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของปุ๋ยหมักเพราะจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการย่อยสลายที่สมบูรณ์ได้เร็วขึ้น และให้ปริมาณสารอาหารหลักของพืชที่แตกต่างกัน จากการทดลองนี้เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก พบว่า แหล่งไนโตรเจนในของเสียอินทรีย์ที่ดีที่สุด คือ เศษปลานิลสด รองลงมา ได้แก่ กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียไก่สดแช่แข็ง และมูลสุกร ตามลำดับ
Other Abstract: The objectives of this research are to study the relation between the different of nitrogen sources and the compost maturation by comparing with composting time and to analyze the quality of composted products. The leaves of rain tree (Samenea saman Jacq.Merr.) and water hyacinth (Eichhornia crassipes) were used as the basic composted material with the ratio of 2:1 w/w. Three types of organic waste; eg. fresh fish residual, swine manure and sludge from waste water treatment of chicken frozen factory were added as the different nitrogen sources. Urea fertilizer was used as a control treatment. All treatments was the initial of C/N ration at 30:1 and compared with the maturation time of composting at C/N ratio be equal or below 20:1 The results of experiment found that the different of nitrogen sources were effect on physical and chemical properties of compost by comparing with the maturation time of composting at C/N ratio was below 20:1 for treatment of urea fertilizer, fresh fish residual, swine manure and sludge 49, 56, 70 and 60 day, at C/N ratio 13.28, 10.38, 14.55 and 15.51, respectively and the total nitrogen of materials were 46, 2.53, 2.81 and 2.03%, respectively. The results showed that the different of nitrogen sources did not relate with the maturation time. In addition, the total nitrogen content of the sludge compost was higher than the treatment of fresh fish residual, swine manure and urea fertilizer 1.86, 1.83, 1.65 and 1.65%, respectively. The total P2O5 content of the sludge compost was higher than the treatment of swine manure, fresh fish residual and urea fertilizer 0.16, 015, 0.13 and 0.09%, respectively and the same of total K2O content were 0.16, 0.14, 0.13 and 0.08%, respectively. Conclusion, the differential nitrogen sources are influence on physical and chemical properties of compost because it stimulated a fermentation of compost and gave the macro-nutrition of the plant in the different amount. This study found the best of nitrogen source of organic waste was the fresh fish residual and second were sludge and swine manure, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20429
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2025
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2025
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preamsuda_Ji.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.