Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorกชชุกร หว่างนุ่ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-08T04:38:03Z-
dc.date.available2012-07-08T04:38:03Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20595-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา การสนับสนุนทางสังคม ภาวะสุขภาพ และชนิดของยาเคมีบำบัด กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ประเภทผู้ป่วยนอก ที่โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นโรคมะเร็งชนิดก้อนทูม หรือเป็นมะเร็งโรคเลือด ของคลินิกอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง จำนวน 120 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .81, .89 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความสัมพันธ์อีต้า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ([x-bar]= 3.62, SD = .53) 2. อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Eta = .283, p < .05 , Beta = - .291) 3. ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Eta = .262, p < .05)4. การสนับสนุนทางสังคม และภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .67 และ .46, p <.05) 5. เพศ และ ชนิดของยาเคมีบำบัด ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 6. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การสนับสนุนทางสังคม และ อายุ สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้ร้อยละ 53.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z [subscript ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด] = .68 Z[subscript 1 การสนับสนุนทางสังคม] - .21 Z[subscript 2 อายุ]en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to examine the relationships between factors related to sex, age, education level, health status, social support, and type of chemotherapies with self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy. Subject consisted of 120 cancer patients from Rajavithi Hospital, Phramongkutklao Hospital, National Cancer Institute, and Chulalongkorn Hospital, selected by simple random sampling technique. Data were collected using four instruments: demographic data, social support, health status, and self-care agency questionnaires. The instruments were tested for content validity by a panel of experts. The reliability of instruments were .81, .89 and .89 respectively. Data were analyzed using SPSS for Windows including frequency, mean, standard deviation, Eta, Pearson correlation, and Stepwise multiple regression at the significant level of .05. Major findings were as follows: 1. Self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy was at high level [x-bar] = 3.62, SD = 0.53). 2. Age was negatively significant correlated with self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy (Eta = .28, p < .05, Beta = - .29). 3. Education level was positively significant correlated with self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy (Eta = .26, p < .05). 4. Social support and health status were positively significant correlated with self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy (r = .67, .46, p < .05). 5. Sex and type of chemotherapies were not correlated with self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy. 6. Social support and age variables significantly predicted self-care agency at the level of .05. The predictive power was 53.60 percent of variance. The equation derived from standardize score as listed: Z [subscript self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapy] = .68 Z[subscript 1 social support] - .29 Z[subscript 2 age]en
dc.format.extent1730034 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.615-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectมะเร็ง -- ผู้ป่วยen
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดen
dc.title.alternativeFactors related to self-care agency of older people with cancer receiving chemotherapyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้สูงอายุes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisors_sasat@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.615-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kouchchukorn_wa.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.