Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20597
Title: ผลของการใช้ปุ๋ยต่อคุณภาพดินและน้ำในนาข้าว
Other Titles: Effect of fertilization on soil and water quality in paddy field
Authors: เกริก ปิ่นตระกูล
Advisors: พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: pantawat.s@chula.ac.th
Subjects: คุณภาพน้ำ
ปุ๋ย
น้ำ
ดิน -- คุณภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการใช้ปุ๋ยบำรุงดินในนาข้าว 3 ชนิดได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก) ปุ๋ยชีวภาพ (ชนิดเม็ด) และปุ๋ยเคมี ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพดินและน้ำในนาข้าว รวมทั้งศึกษาการสะสมของโลหะหนักบางชนิดในเมล็ดข้าว และความคุ้มทุนของการลงทุน โดยเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย ผลผลิตข้าว และผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งเป็นการศึกษาที่ได้เลือกพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร จังหวัดชัยนาท จำนวน 4 ไร่ ซึ่งแต่ละไร่มีกรรมวิธีปฏิบัติคือ 1) ใส่ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัม/ไร่ 2) ปุ๋ยชีวภาพ 50 กิโลกรัม/ไร่ 3) ปุ๋ยเคมี 40 กิโลกรัม/ไร่ และ 4) กรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกรในพื้นที่ ทำการเก็บตัวอย่างดินและน้ำ ดังนี้ 1) ช่วงต้นข้าว 0 วันหรือช่วงก่อนหว่านข้าว 2) ช่วงต้นข้าวอายุ 30 วัน 3) ช่วงต้นข้าวอายุ 70 วัน และ 4) ช่วงต้นข้าวอายุ 100 วันหรือก่อนเก็บเกี่ยวข้าว ผลการศึกษาปริมาณโลหะหนักในดิน พบว่า มีปริมาณอาร์เซนิก (As) 2.12-15.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณแมงกานีส (Mn) 212-334 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอก) ในช่วงต้นข้าวอายุ 100 วัน (ก่อนทำการเก็บเกี่ยว) พบว่ามีการตกค้างของ As และ Mn ในดินต่ำกว่าทุกกรรมวิธีปฏิบัติ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินแสดงให้เห็นว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมีในการทำนา ทำให้เกิดการตกค้างปนเปื้อนของ As ในดิน ซึ่งจากการวิจัยนี้พบการตกค้างของ As ในดินในแปลงนาที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพและแปลงนาที่ใช้กรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกรในพื้นที่ เกินเกณฑ์ค่ามาตรฐานดินเพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม ผลการวิเคราะห์ปริมาณ Mn ในน้ำในแปลงนาของ 4 กรรมวิธี พบว่า อยู่ในช่วง 0.10-0.81 มิลลิกรัม/ลิตร โดยน้ำในแปลงที่ใส่ปุ๋ยชีวภาพและแปลงเกษตรกร มีค่า Mn เกินค่ามาตรฐานการระบายน้ำลงทางน้ำชลประทาน แต่ไม่พบปริมาณ As ในน้ำในแปลงนาทุกกรรมวิธีทดลอง ในขณะที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในดินและน้ำ เท่ากับ 4.79-6.62 และ 6.21-8.37 ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า ปริมาณไนเตรท (NO[superscript -][subscript 3]) และฟอสเฟต (PO[superscript 3-][subscript 4]) ในดินทั้ง 4 ช่วงเวลา มีค่าเท่ากับ 3.34-10.3 และ 30.1-55.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้ปุ๋ยคอกในการทำนาเป็นการเพิ่มธาตุอาหารหลักของพืชในดิน ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนปริมาณไนเตรท และฟอสเฟตในน้ำ มีค่าเท่ากับ 0.20-0.95 และ 0.25-0.67 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ โดยพบการปนเปื้อนของไนเตรท และฟอสเฟต ในน้ำก่อนระบายออกจากแปลงนาที่ใส่ปุ๋ยคอกน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และพบปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) ทั้ง 4 ช่วงเวลา เท่ากับ 1.67-2.62 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินพบว่า ดินในแปลงนาที่ใช้ปุ๋ยคอกมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด ส่วนแปลงที่ใช้กรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกรในพื้นที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินน้อยที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำนาโดยใช้ปุ๋ยคอกจะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ต่างจากการทำนาโดยใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้ดินเสื่อมโทรม สำหรับคุณภาพน้ำทั้ง 4 ช่วงเวลาของการเก็บตัวอย่าง พบปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (DO) 4.95-9.82 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) 1.61-25.8 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณของแข็งแขวนลอย (SS) 17.5-993 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ (EC) 99.4-705 ไมโครซีเมนต์/เซนติเมตร ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวสาร และเปลือกข้าว (แกลบ) ไม่พบการตกค้างของ As ในข้าวสาร และเปลือกข้าวจากของทุกกรรมวิธีทดลอง สำหรับ Mn ในข้าวสารและเปลือกข้าว พบว่า มีปริมาณการสะสม Mn เท่ากับ 56.0-58.8 และ 84.6-137 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ จากการศึกษาความคุ้มทุนของการลงทุนในแต่ละกรรมวิธีทดลอง พบว่า กรรมวิธีของการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเคมี และเกษตรกรปฏิบัติมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเท่ากับ 1,412, 1,802, 1,824 และ1,881 บาท/ไร่ ตามลำดับ และได้ผลผลิตข้าวเท่ากับ 604, 510, 496 และ 758 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งสรุปได้ว่า กรรมวิธีการทำนาโดยใช้ปุ๋ยคอกมีค่าการลงทุนต่ำที่สุด ได้ปริมาณผลผลิตข้าวสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรรมวิธีปฏิบัติของเกษตรกร แต่มีผลตอบแทนต่อต้นทุนการผลิตสูงที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมวิธีที่ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
Other Abstract: Environmental impact of using various types of fertilizers namely; organic fertilizer (manure), commercial biofertilizer (pellets), and chemical fertilizer, on soil and water quality including accumulation of heavy metals in rice grains were investigated. In addition, comparison of production costs and rice yields from different types of fertilizer were carried out. The paddy field with the area of 0.64 hectare in Chainat Province was selected for the study. The paddy area was divided into four parts of 0.16 hectare. Each part was subjected to different types of fertilizer use. Rates of fertilizer application were as follows; 1) manure 6,250 kg/ hectare, 2) commercial biofertilizer 312.5 kg/ hectare, 3) chemical fertilizer 250 kg/ hectare, and 4) the conventional practice of local farmers (chemical fertilizer). Soil and water samples were collected for four periods; 1) before preparation of the field (rice aged 0 days), 2) rice aged 30 days, 3) rice aged 70 days, and 4) before harvesting (rice aged 100 days). The amounts of heavy metals found in soil samples from the 4 periods of sampling were in the range of 2.12-15.3, and 211.8-334.0 for arsenic (As) and manganese (Mn), respectively. It was found that, before harvesting time, the experimental field using manure had lowest level of accumulation of As and Mn compared to other practices. In water samples, Mn was detected in the range of 0.10-0.81 mg/l. As in water were non-detectable in all samples. Soil pH was found to be 4.79-6.62 and water pH was 6.21-8.37. The levels of nitrate (NO[superscript -][subscript 3]) and phosphate (PO[superscript 3-][subscript 4]) found in soil samples were 3.34-10.3 and 30.1-55.4 mg/kg, respectively. For the water samples (NO[superscript -][subscript 3]) and (PO[superscript 3-][subscript 4]) were 0.20-0.95 and 0.25-0.67 mg/l, respectively. The organic matter (OM) in soil was 1.67-2.62 percent. The use of manure has led to highest content of organic matter in the paddy soil, while the lowest content of organic matter was detected from the soil samples collected from the paddy using chemical fertilizer in conventional practice. The results of this study indicate that using compost for rice plantation has significantly increased the nutrients in terms of nitrate, phosphate, and also significantly increased organic matter in the paddy soil. Moreover, the lowest level of contamination of NO[subscript 3]-N and PO[subscript 4]-P through drained water from the paddy field using manure has been found. The water quality parameters were; DO 4.95-9.82 mg/l, BOD 1.61-25.8 mg/l, SS 17.50-993 mg/l, EC 99.4-705 [micro]s/cm. Arsenic was not found to accumulate in rice grain. Arsenic contamination in the rice grain and rice husks samples was not found from all practices. Manganese was found in the range of 56.0-58.8 and 84.6-137 mg/kg in the rice grain and rice husks, respectively, in which the rice husks from the paddy using chemical fertilizer were found to have highest accumulation of Mn, however, those Mn levels are still under acceptable level that not toxic to the plant. The costs associated with each of the four experiments were 8,825, 11,263, 11,400 and 11,757 baht/hectare, respectively. The quantities of rice harvested from each experiment were 3,775, 3,188, 3,100 and 4,738 kg/hectare. The results of cost-benefit analysis have indicated that, using manure was found to be the most cost-effective method of fertilization. Moreover, this type of manure has advantage on improving paddy soil quality in terms of nutrients and organics, and the least negative impact on the environment in terms of water quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20597
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.651
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.651
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krerk.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.