Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20632
Title: ผลของสารสกัดไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองต่อตัวชี้วัดการสร้างและสลายกระดูก ในสตรีหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกบาง
Other Titles: Effects of soybean isoflavones extract on bone turnover markers in postmenopausal woman with osteopenia
Authors: นาฎกมล ผลทอง
Advisors: สุมนา ชมพูทวีป
นิมิต เตชไกรชนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sumana.C@Chula.ac.th
Nimit.T@Chula.ac.th
Subjects: กระดูกพรุนในสตรี
ไฟโตเอสโตรเจน
ไอโซฟลาโวน
ถั่วเหลือง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง ต่อตัวชี้วัดการสร้างและสลายกระดูกในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกบาง วิธีการหนึ่งในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนคือ การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน แต่มีการศึกษาพบว่า การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ จึงได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาสารที่สามารถนำมาทดแทน การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และพบว่าไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารประกอบที่ได้จากพืชนั้นมีความคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย โดยพบว่าสารสกัดไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง อาจมีผลในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน การศึกษานี้เป็นแบบการทดลอง มีอาสาสมัคร 80 คน โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับสารสกัดไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง และกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก โดยรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 3 เดือน และติดตามอาการทุก 3 สัปดาห์ และตรวจเลือดสัปดาห์ที่ 0, 6 และ 12 โดยติดตามระดับค่าออสทีโอแคลซินซึ่งเป็นตัวชี้วัดการสร้างมวลกระดูก และเบต้า-คอสแลพซึ่งเป็นตัวชี้วัดการสลายมวลกระดูก วัดด้วยเครื่อง electrochemiluminescence ผลจากการศึกษาพบว่า ระดับของออสทีโอแคลซินกลุ่มที่ได้รับไอโซฟลาโวนลดลงจากค่าตั้งต้นที่ 21.86 ± 6.5 เป็น 17.48 ± 6.7 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ 12 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกลดลงจากค่าตั้งต้นที่ 22.89 ± 8.8 เป็น 19.34 ± 8.2 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ 12 สัปดาห์ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการศึกษาของเบต้า-คอสแลพในกลุ่มที่ได้รับไอโซฟลาโวนลดลงจากค่าตั้งต้นที่ 0.49 ± 0.17 เป็น 0.32 ± 0.15 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ 12 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกลดลงจากค่าตั้งต้นที่ 0.48 ± 0.18 เป็น 0.36 ± 0.19 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน โดยสรุป ถึงแม้สารสกัดไอโซฟลาโวนที่ใช้ในการศึกษานี้ จะมีผลในการลดค่าชี้วัดการสร้างและสลายกระดูก แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก
Other Abstract: To evaluate the efficacy of soybean isoflavones extract on bone turnover markers in postmenopausal women with osteopenia. The incidences of osteoporosis in post-menopausal women are higher than women at the age before menopause. The observational studies suggested that estrogen replacement therapy (ERT) is considered to be an effective method to prevent menopausal symptoms and restore the protective effects on bone. However, many serious side effects in long term ERT used including cancerous events (breast cancer and endometrial cancer etc.). Many researchers have been attempting to study the alternative hormone replacement therapy (HRT) in order to find the safer therapeutic agents. Phytoestrogens, plant-derived estrogen like substances, possess the varying degree of estrogenic activity and estrogen-like molecular structure. This study a randomized clinical trial was carried out in 2007. Eighty postmenopausal women with osteopenia. The first group (n = 40) received isoflavones 100 mg/d (2 capsules-twice/day).The second groups (n = 40) was given placebo (2 capsules-twice/day) for 12 weeks.Analysis for bone resorption and bone formation markers was assayed by electrochemiluminescence method using ß-crosslaps and N-MID osteocalcin. This study found that treatment with flava soy, isoflavones extract, Between group analyses in osteocalcin showed that isoflavones group decreased from baseline values 21.86 ± 6.5 to 17.48 ± 6.7 ng/ml. at 12 weeks and placebo group decreased from baseline values 22.89 ± 8.8 to 19.34 ± 8.2 ng/ml. at 12 weeks but had not statistical significance difference between group and ß-crosslaps, isoflavones group decreased from baseline values 0.49 ± 0.17 to 0.32 ± 0.15 ng/ml. at 12 weeks and placebo group decreased from baseline values 0.48 ± 0.18 to 0.36 ± 0.19 ng/ml. at 12 weeks. This results indicate that isoflavones decreased levels of bone resorption markers and bone formation markers but had not statistical significance difference compared with placebo
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20632
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.406
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.406
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nartkamon_po.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.