Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20700
Title: ผลกระทบของทางเดินเลียบแม่น้ำต่อชุมชนริมน้ำ กรณีศึกษาย่านกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Impacts of waterfront pedestrian ways on water-based communities : a case study of Kudeejeen neighborhood, Bangkok
Authors: ภาคย์ ฮวดศรี
Advisors: นิรมล กุลศรีสมบัติ
Waterfronts
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Niramol.K@Chula.ac.th
Subjects: พื้นที่คนเดินเท้า
ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
พื้นที่สาธารณะ
ที่ว่าง (สถาปัตยกรรม)
ชุมชนกุฎีจีน (กรุงเทพฯ)
Pedestrain areas
Public spaces
Space ‪(Architecture)‬
Waterfronts -- Thailand -- Bangkok
Kudijeen community (Bangkok)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลกระทบของทางเดินเลียบแม่น้ำต่อชุมชนริมน้ำ ย่านกุฎีจีน กรุงเทพมหานคร โดยค้นหาว่าการสร้างทางเดินเลียบแม่น้ำส่งผลกระทบต่อลักษณะทางกายภาพและวิถีชีวิตชุมชนอย่างไรบ้าง และมีสมมติฐานคือทางเดินเลียบแม่น้ำทำให้ระดับการเข้าถึงของชุมชนจากแม่น้ำเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของชุมชน และส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อรูปแบบการใช้พื้นที่สาธารณะ ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของชุมชน ระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วย (1) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ได้แก่ รูปแบบการเข้าถึงพื้นที่ โครงข่ายการสัญจร การจัดวางพื้นที่สาธารณะและความเชื่อมโยงของหน่วยพื้นที่สาธารณะ เครื่องมือที่ใช้คือ แผนที่บริเวณพื้นที่ศึกษาในช่วงเวลาต่างๆ ที่สำคัญ และนำมาวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิจัสติฟายด์ ก่อนและหลังมีทางเดินเลียบแม่น้ำ (2) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนและหลังการสร้างทางเดินเลียบแม่น้ำ โดยวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกายภาพและสังคมเข้าด้วยกัน เพื่อวัดระดับการเข้าถึงของชุมชนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้พื้นที่สาธารณะที่เปลี่ยนแปลงไป จากผลการศึกษาพบว่า ทางเดินเลียบแม่น้ำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาฟื้นฟูการใช้ประโยชน์ที่ดินริมน้ำให้กลับมามีชีวิตชีวา จากการระบบการเชื่อมต่อโครงข่ายพื้นที่สาธารณะของชุมชน ที่มีการกระจายความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้น ทำให้มีคนหลากหลายผ่านเข้ามายังพื้นที่จำนวนมาก เกิดการประกอบกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชนและภายนอกชุมชน แต่หากการเชื่อมต่อพื้นที่ในบางจุดยังคงเป็น ระบบปลายตัน ทำให้คนภายนอกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็น ระบบปิด และเป็นพื้นที่ส่วนตัวนั้นควบคุมความปลอดภัยได้ยากขึ้น จึงเกิดอาชญากรรมขึ้นในพื้นที่เหล่านี้ โดยทางเดินเลียบแม่น้ำยังทำให้ระดับการเข้าถึงของชุมชนจากแม่น้ำเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของชุมชน และส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อพฤติกรรมในการใช้พื้นที่สาธารณะ ในการสัญจรและการพักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น ผลการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ ควรมีการวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายสัญจรใหม่กับโครงข่ายเดิมให้มีศักยภาพในการเข้าถึง และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ต่อเนื่องกัน เพื่อไม่ให้โครงข่ายเดิมนั้นเสื่อมโทรมลง และควรมีการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ริมน้ำที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตริมน้ำ และการเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อไป
Other Abstract: To study the physical changes of Kudijeen community area before and after the development of strip walkways. The level of access of strip walkways to the community was analyzed in order to be able to identify the impact of levels of network access public spaces increased in the life of people in the community of Kudijeen. The results of the research in the community of Kudijeen can be determined that changes affect the network in multi-level public spaces. The changes seen in the public areas of network have been analyzed by the Justified graph which showed the relationship of public space network of distribution relationships in the era of water base community. Later in the modern road network system connecting public areas of the community spread poor relationship as people can access to areas only a few routes. Therefore, waterfront area has been abandoned and deteriorated, people in the community has less opportunity to come through the public network space and got less interaction. Apparently, strip walkways highly affected access to the increasing interconnection of the public areas of the community. There was the potential to spread the relationship between sub-unit areas that better promote the recovery of land use development along the water to come back alive from a variety of people through access to a growing area. It also caused a variety of activities in the community and external community. However, the connection in some areas continues to be the Dead-end system. Nevertheless, the closed system community where people always take care of each other thoroughly as there is only certain access point has been difficult to control as the outsiders coming into this "closed system" may caused burglary, theft and crime in some areas close to the network to as there were several directions. Therefore, in risk-prone areas, these must be the land use plan to reflect and encourage appropriate activities with the public waterfront systematically.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20700
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.422
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.422
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phak_ho.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.