Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20762
Title: สาระสำคัญด้านสภาวะน่าสบายที่ส่งเสริมการใช้อาคารศูนย์กีฬาในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Thermal comfort preference of occupants in sport facility
Authors: ทิพย์คนึง กุลลาวัณย์
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th, Atch111@yahoo.com
Subjects: ศูนย์กีฬา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ศูนย์กีฬา -- การระบายอากาศ
ศูนย์กีฬา -- การปรับอากาศ
Sports facilities -- Thailand -- Bangkok
Sports facilities -- Ventilation
Sports facilities -- Air conditioning
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในด้านสภาวะสบายที่เหมาะสม กับเขดภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย โดยเน้นการศึกษาสภาวะน่าสบายของอาคารศูนย์กีฬาในกรุงเทพมหานคร เป็นหลัก พื้นที่ในการสำรวจแบ่งเป็น 3 กรณีศึกษา ซึ่งมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ได้แก่ กรณีศึกษาที่ 1 ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ (ซึ่งเป็นฟิตเนสแบบปรับอากาศ) กรณีศึกษาที่ 2 ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ (ซึ่งเป็นฟิตเนสแบบไม่ปรับอากาศ) และกรณีศึกษาที่ 3 ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ (ซึ่งมีรูปแบบเป็นโรงยิม) ฉะนั้น ความรู้พื้นฐานที่เอามาใช้เป็นกรอบในการศึกษาจึงมี 3 สาระดังนี้ คือ สภาวะสบาย ภูมิศาสตร์ และทฤษฎีการศึกษาวิจัยภาคสนาม การศึกษาภาคสนามได้ศึกษาด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม ได้ข้อมูลทั้งหมด 300 ชุด จากสามกรณีศึกษา จากการลงพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 2-15 พ.ค. พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 09:00-20:00 น. สภาพอากาศที่ตรวจวัดได้มีค่าเฉลี่ยดังนี้ ในกรณีศึกษาที่ 1 (ฟิตเนสแบบปรับอากาศ) อุณหภูมิอยู่ที่ 27.39℃ ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 64.69% ความเร็วลมที่ 0.26 m/s ในกรณีศึกษาที่ 2 (ฟิตเนสแบบไม่ปรับอากาศ) อุณหภูมิอยู่ที่ 34.94℃ ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 55.87% ความเร็วลมที่ 0.55 m/s และในกรณีศึกษาที่ 3 (โรงยิม) อุณหภูมิอยู่ที่ 35.19℃ ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 56.05% ความเร็วลมที่ 0.42 m/s ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว 1. คนในฟิตเนสแบบปรับอากาศส่วนใหญ่ มีความรู้สึกต่อสภาพอากาศแบบกลางๆ หรือกำลังสบายๆ และยอมรับสภาพอากาศที่เป็นอยู่แต่เกือบ 63% ปรารถนาให้สภาพอากาศเย็นลง 2. คนในฟิตเนสแบบไม่ปรับอากาศส่วนใหญ่ มีความรู้สึกต่อสภาพอากาศแบบร้อนมาก และไม่ยอมรับสภาพอากาศที่เป็นอยู่และปรารถนาให้สภาพอากาศเย็นลง 3. คนในโรงยิมส่วนใหญ่ มีความรู้สึกต่อสภาพอากาศแบบร้อนมากและไม่ยอมรับสภาพอากาศที่เป็นอยู่ และปรารถนาให้สภาพอากาศเย็นลงเช่นกัน ดังนั้นความรู้สึกที่มีต่อสภาพอากาศที่ร้อนจึงแปรผันโดยตรงกับ ความต้องการให้สภาพอากาศเย็นลงอย่างมีนัยสำคัญ ในงานวิจัยนี้ ได้มีการเสนอแผนภูมิสภาวะสบายขึ้นใหม่ที่เหมาะสมกับศุนย์กีฬาในกรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ในกรณีศึกษาที่ 1 (ฟิตเนสแบบปรับอากาศ) มีค่าอุณหภูมิอยู่ที่ 19.86-29.04℃ และค่าความขื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 33.31-55.78 ในกรณีศึกษาที่ 2 (ฟิตเนสแบบไม่ปรับอากาศ) มีค่าอุณหภูมิอยู่ที่ 27.31-32.71℃ และค่าความขื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 38.51-49.4 และ ในกรณีศึกษาที่ 3 (โรงยิม) มีค่าอุณหภูมิอยู่ที่ 26.71-31.88℃ และค่าความขื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 26.31-42.98 สภาวะสบายใหม่นี้มีค่าสูงกว่าขอบเขตสภาวะสบายสากล ดังนั้นได้มีการเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเป็น 2 แนวทางหลักคือ แนวทางการปรับตัว และแนวทางการปรับสภาพแวดล้อม เช่น การเปลื่อนเสื้อผ้า การเปลี่ยนสถานที่ การเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำ การใช้ลม น้ำ และต้นไม้ และการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
Other Abstract: To better understand suitable thermal comfort conditions in sport facilities in warm, tropical climates such as Thailand. Field studies were performed in 3 sport complexes in Bangkok: case study 1 was the “ Wachira Benchathat” sport complex (an air-conditioned fitness center model), case study 2 was the ”Prachaniwet” sport complex fitness center (an unair-conditioned fitness center model) and case study 3 was the ”Prachaniwet” sport complex gymnasium (an unair-conditioned gymnasium model). The theoretical framework of this research is the combination of thermal comfort, geography and field study theory. Field study data gathering was done by using 300 sets of questionnaires collected from May 2 to May 15, 2010 between 09:00 to 20:00. The environmental parameters were measured by portable instruments and later calculated into mean values: - case 1 (an air-conditioned fitness center): air temperature at 27.39℃, relative humidity at 64.69% and air velocity at 0.26 m/ s, case 2 (an unair-conditioned fitness center): air temperature at 34.94℃, relative humidity at 55.87 % and air velocity at 0.55 m/ s, case 3 (an unair-conditioned gymnasium): air temperature at 35.19℃, relative humidity at 56.05 % and air velocity at 0.42 m/ s. The results reveal that, in case 1, people in the sport facility felt “comfortable” and the condition of their environment was “acceptable”; however, 63% of people preferred a “cooler” environment. In case 2 and case 3, people in the sport complexes felt that the temperature was “very hot” and “not acceptable”. They preferred a “cooler” environment as well. Therefore, thermal sensation and thermal preference are significantly dependent. In this research, a new comfort zone chart, which is suitable for Bangkok sport facilities, is introduced. The comfort zone of each case was derived from a linear regression analysis which indicates that, in case 1, the temperature should be between 19.86-29.04℃, with relative humidity 33.31-55.78%. In case 2, the temperature should be between 27.31-32.71℃, with relative humidity 38.51-49.40%. In case 3, the temperature should be between 26.71-31.88℃, with relative humidity 26.31-42.98%. This number is higher than the international standards recommended comfort zone. The researcher suggests 2 main solutions which are self-adaptation and environmental improvement. Sport complex users may choose the appropriate method by passive means, which are changing clothes , changing activities or gestures, introducing air circulation, using water and trees to provide comfort, moving to other places and modifying some elements of architecture.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2128
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thipkanueng_ku.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.