Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20766
Title: การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยอายุรกรรมที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: A Study of nursing care needs in discharged medical patients at medical centers, Ministry of Public Health
Authors: วิรงรอง ชมภูมิ่ง
Advisors: สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: suvinee@hotmail.com
Subjects: การพยาบาลอายุรศาสตร์
ผู้ป่วย -- การพยาบาล
Patients -- Nursing
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการพยาบาล และเปรียบเทียบความต้องการการพยาบาลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอายุรกรรมที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 401 คน ที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบสอบถามความต้องการการพยาบาล ซึ่งแบ่งความต้องการการพยาบาลเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูล ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ/จิตวิญญาณ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามในแต่ละส่วน จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .83, .84 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยอายุรกรรมมีความต้องการการพยาบาลโดยรวมในระดับปานกลาง (X = 2.17) โดยมีความต้องการการพยาบาลด้านข้อมูลมากที่สุด (X = 2.29) รองลงมาคือ ด้านจิตใจ/จิตวิญญาณ (X = 2.17) และมีความต้องการด้านร่างกายน้อยที่สุด (X = 1.99) 2. ผู้ป่วยอายุรกรรมที่มี อายุ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว จำนวนครั้งของการพักรักษาในโรงพยาบาล และชนิดของการเจ็บป่วยที่แตกต่างกัน มีความต้องการการพยาบาลไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) ได้บางส่วนมีความต้องการการพยาบาลโดยรวม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจและจิตวิญญาณ สูงกว่าผู้ป่วยที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study the nursing care needs of the discharged medical’s patients in medical centers, Ministry of Public Health. Participants were 401 discharged medical’s patients, which were discharged in hospital, and were selected by multi-stage random sampling. Research instrument were Nursing Care Needs which were tested for content validity and reliability. The reliabilities were .83, .84 and .86 respectively. Data were analyzed including frequency, mean, standard deviation, t-test and One way ANOVA. Finding were as follows; 1. The nursing care needs of the medical’s patients was at the medium level (X = 2.17), nursing‘s information needs, psychological/spiritual needs and physical needs was at the medium level (X = 2.29, X = 2.17 and X = 1.99 respectively). 2. Sex, age, education, family income, illness experience and illness’s type were not significant with the nursing care needs. The different of medical patients condition such as activity daily living (ADL) significant value at .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20766
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1937
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1937
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wirongrong_ch.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.