Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20920
Title: | การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาหัตถศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ระหว่างวิธีสอนโดยใช้ชุดการสอนกับวิธีแบบบรรยาย |
Other Titles: | A comparison of practical arts achievement between instructional packages and lecture method at the certificate of education level |
Authors: | พงษ์ศักดิ์ ปัญจพรผล |
Advisors: | ศุภร สุวรรณาศรัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การสอนด้วยสื่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการสอน หาประสิทธิภาพของชุดการสอนตลอดจนเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาหัตถศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาระหว่างวิธีสอนโดยใช้ชุดการสอนกับวิธีแบบบรรยาย สุ่มตัวอย่างนักเรียนของวิทยาลัยครูนครปฐมมาจำนวน 60 คน แบบแยกประเภท (Stratified Random Sampling) แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยกัน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองใช้การเรียนแบบชุดการสอน และกลุ่มควบคุมใช้การเรียนแบบบรรยาย แล้วทดสอบผลการเรียนของนักเรียนด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีความเที่ยง .9588 จากนั้นเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการเรียนโดยการทดสอบค่าที (t-test) ได้ผลดังนี้ ระหว่างการเรียนโดยใช้ชุดการสอนกับการเรียนจากวิธีแบบบรรยายนั้นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 อย่างไรก็ตามพบว่า ภายหลังเรียนจบไปแล้ว 1 สัปดาห์ นักเรียนที่เรียนจากการใช้ชุดการสอนมีความคงทนในการจำดีกว่านักเรียนที่เรียนจากการบรรยาย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purposes of this experiment are to produce Instructional Packages, determine the effectiveness of the Instructional Packages and compare student's achievement in Practical Arts between Instructional Packages and the Lecture Method at the Certificate of Educa¬tion Level. Sixty Nakorn Pathom Teacher College students are randomly selected by stratified random sampling and devided into two groups. Experimental Group and Control Group of 30 each. Experimental Group uses of Instructional Package and Control Group uses of Lecture Method. Achievement Test at Reliability. .9588 is used to determine the learning progress, then the t-test analysis of significant difference is used to analyse the data and results are as follows: There is no significant difference at .01 level between the two types of group after post-test. However, after a week past, the significant difference at .01 level can be remarked. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20920 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pongsak_Pa_front.pdf | 388.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsak_Pa_ch1.pdf | 563.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsak_Pa_ch2.pdf | 599.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsak_Pa_ch3.pdf | 391.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsak_Pa_ch4.pdf | 257.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsak_Pa_ch5.pdf | 374.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsak_Pa_back.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.